สุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ (อังกฤษ: aesthetics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วยธรรมชาติของความงามและรสนิยม รวมทั้งปรัชญาศิลปะ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาและสาขาหนึ่งของสุนทรียศาสตร์) สุนทรียศาสตร์วิเคราะห์คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลหนึ่ง หรือบางครั้งอาจกล่าวได้ว่าปรัชญาสาขานี้เป็นการตัดสินความรู้สึกและรสนิยม[1] สุนทรียศาสตร์ครอบคลุมทั้งแหล่งที่มาธรรมชาติและประดิษฐ์ของประสบการณ์และการตัดสินเชิงสุนทรียะ โดยพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นในจิตใจของเราเมื่อเรามีส่วนร่วมกับวัตถุหรือสภาพแวดล้อมสุนทรียะ เช่น การดูงานทัศนศิลป์ การฟังเพลง การอ่านกวีนิพนธ์ หรือการสำรวจธรรมชาติ เป็นต้น ปรัชญาศิลปะศึกษาว่าศิลปินจินตนาการ สร้างสรรค์ และแสดงผลงานศิลปะได้อย่างไร และผู้คนใช้ เพลิดเพลิน และวิจารณ์ศิลปะของศิลปินเหล่านั้นอย่างไร ปรัชญาศิลปะยังศึกษาความรู้สึกทั่วไปของบุคคลหนึ่งที่มีต่อศิลปะ ทำไมพวกเขาจึงชอบผลงานกลุ่มหนึ่ง และไม่ชอบผลงานอื่น และศิลปะสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์หรือแม้กระทั่งความเชื่อของเราได้อย่างไร[2] ทั้งสุนทรียศาสตร์ทั่วไปและปรัชญาศิลปะถามคำถามโดยเฉพาะจำพวก อะไรคือศิลปะ? อะไรคืองานศิลปะ? และอะไรทำให้ศิลปะดี? นักวิชาการในสาขาได้นิยามสุนทรียศาสตร์ว่าเป็น "การสะท้อนเชิงวิจารณ์ต่อศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ"[3][4] ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ คำว่า "aesthetics" ยังสามารถหมายถึงหลักการจำนวนหนึ่งภายใต้ความเคลื่อนไหวและทฤษฎีทางศิลปะที่เฉพาะเจาะจง เช่น บุคคลหนึ่งอาจกล่าวถึง "Cubist aesthetics"[5] รากศัพท์คำว่า "สุนทรียศาสตร์" มาจากการสมาสระหว่างคำว่า สุนทรียะ (เกี่ยวกับความนิยม ความงาม) กับศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้) ประวัติบรรดานักคิดทั้งหลายได้ครุ่นคิดถึงประเด็นเรื่องความงามและศิลปะมานานนับพัน ๆ ปีแล้ว แต่ประเด็นดังกล่าวเพิ่งถูกแยกเป็นหลักปรัชญาอิสระ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้โดยกลุ่มนักปรัชญาชาวเยอรมัน ก่อนหน้านี้นักคิดนักเขียนจะมองประเด็นดังกล่าวรวมกับประเด็นหลักอื่น ๆ เช่น จริยศาสตร์ ในหลักปรัชญาตะวันตก และเรื่องศาสนาในหลักปรัชญาตะวันออก สุนทรียศาสตร์กับปรัชญาศิลปะการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะ ความเป็นสากล และจริยศาสตร์การวิพากษ์แบบใหม่และการใช้เหตุผลผิดพลาดแบบเจตนารูปแบบอนุพันธ์ทางสุนทรียศาสตร์ข้อวิจารณ์อ้างอิง
|