วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU-MDC)
- มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา 140 หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา อาคาร 18 ชั้น3
- ศูนย์ประสานงานวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา กรุงเทพมหานคร 128 อาคารพญาไท พลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ประวัติการก่อตั้งวิทยาลัย
วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการอนุมัติจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยทักษิณในการประชุมครั้งที่ 8/2549 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ภายใต้ชื่อว่าวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (Management for Development College, Thaksin University) มีชื่อย่อว่า TSU-MDC
เป็นส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณ มีฐานะเทียบเท่าคณะ อยู่ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัย โดยเป็น
หน่วยงานหารายได้ที่พึ่งพางบประมาณจากรายได้ของตนเองทั้งหมดในการก่อตั้งวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ในตอนแรกดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และวิชาการเฉพาะกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานในองค์กรภายใต้ความร่วมมือ
อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน),
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและกระทรวงกลาโหม และต่อมาได้ขยายการศึกษาในกลุ่มเพื่อพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกำลังพลเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไปวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตบนพื้นฐานการบูรณาการศาสตร์ในด้านการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรมและด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาที่มีคุณภาพ มีอัตลักษณ์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
หลักสูตรที่เปิดสอน
- ระดับปริญญาตรี วิทยาเขตสงขลา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม
- สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่
วิชาเอกการจัดการการประกอบการทางสังคม
วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์
วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์
- ระดับปริญญาโท วิทยาเขตสงขลา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- ระดับปริญญาตรี วิทยาเขตพัทลุง
- สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกการเมืองและการปกครองดิจิทัล
- หลักสูตรฝึกอบรม ศูนย์บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง
- โครงการหลักสูตรกฎหมายสำหรับการปฏิบัติงานตำรวจ
- โครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับข้าราชการตำรวจ
- โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรเทคนิคการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน
- โครงการฝึกอบรม เรื่อง การทำงานเชิงวิเคราะห์และเชิงสังเคราะห์จากงานประจำของ ข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน สังกัดสถาบันอุดมศึกษา
- โครงการบริการวิชาการ การอบรมพัฒนาศักยภาพการใช้เครื่องมือพิเศษในการสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขยายผลเครือข่ายกลุ่มบุคคลด้วยโปรแกรม I2 Analyst's Notebook (Cyber Crime Technology Special Tool & Drags Criminal Network Analysis With I2 Analyst's Notebook)
พันธมิตรวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา
- กระทรวงกลาโหม
- บริษัท การบินไทย จำกัด
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- เทศบาลเมืองบ้านฉาง จังหวัดระยอง
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
- สมาคมนักธุรกิจไทยในไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในสหรัฐอเมริกา
- Chiang Mai Housing Bureau จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
- The State Institute of Islamic Studies (IAIN) สถาบันการศึกษาอิสลามแห่งรัฐ เมืองบันดาอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย
- Florida International University, เมืองไมแอมี รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
- Yangtze Normal University (YZNU)- มหาวิทยาลัยฉางเจียงนอร์มัล, กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
- Yunnan Normal University - มหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มัล, เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
- มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
เกี่ยวกับ | | |
---|
การศึกษา | สุขภาพ | |
---|
เทคโนโลยี | |
---|
สังคมศาสตร์ | |
---|
บัณฑิตศึกษา | |
---|
|
---|
อื่นๆ | โครงการจัดตั้ง | |
---|
สถาบัน | |
---|
โรงเรียน | |
---|
กิจกรรม | |
---|
|
---|
|