เขตราชเทวี
ราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ที่ตั้งและอาณาเขตเขตราชเทวีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ที่มาของชื่อเขตชื่อเขตตั้งตามทางแยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อสะพานพระราชเทวีซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี ส่วนชื่อสะพาน "พระราชเทวี" ตั้งตามพระนามของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี) ประวัติศาสตร์พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาใน พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท เมื่อ พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทยกฐานะขึ้นเป็นเขตพญาไท ตำบล 4 ตำบลดังกล่าวจึงมีฐานะเป็นแขวง ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่แขวง 4 แขวงดังกล่าวซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย ในอดีตย่านราชเทวี มีวังหลายวัง อาทิ บ้านราชเทวี บ้านพระยาเรือนอุดม วังลักษมีวิลาศ เหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งปิดล้อมพื้นที่โดยรอบแยกราชประสงค์ ถนนราชปรารภก็กลายเป็นสมรภูมิ ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 19 พฤษภาคม 2553 มีประชาชนถูกยิงเสียชีวิตรวม 23 คนตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ราชปรารภ ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนที่มีพยานหลักฐานและคำสั่งศาลยืนยันว่าเป็นฝีมือของทหารที่ประจำการในบริเวณนั้น[2] และในวันที่ 19 พฤษภาคมซึ่งมีการสลายการชุมนุมก็มีการเผาทำลายอาคารบริเวณย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเสียหาย 19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิด ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เต็นท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[3] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[4] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[5] การแบ่งเขตการปกครองเขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
ประชากร
การคมนาคมถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจนถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตยังมีทางรถไฟสายเหนือและทางรถไฟสายตะวันออกตัดผ่าน รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานด้วย ในส่วนรถไฟ ในพื้นที่เขตมีสถานีรถไฟมักกะสันซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ใกล้กับโรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในส่วนรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และมีสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน สถานีพญาไท และสถานีราชปรารภ โดยในอนาคตจะมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพิ่มเติมอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีรางน้ำ ราชปรารภ ประตูน้ำ และราชเทวี ส่วนการสัญจรทางน้ำ ในพื้นที่เขตมีคลองแสนแสบเป็นคลองเขตแดนทางทิศใต้ของเขต ในอดีตท่าเรือที่บริเวณประตูน้ำเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางน้ำที่มาทางเรือตามคลองแสนแสบที่เคยคึกคักมาก ในปัจจุบันการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอันเป็นจุดชุมทางสำคัญที่มีรถประจำทางผ่านหลายสายและยังเป็นจุดผ่านของรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตราชเทวี นอกจากนั้นในบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังมีท่ารถตู้จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ด้วย สถานที่สำคัญเขตราชเทวีเป็นที่ตั้งของย่านที่ทำการรัฐบาล ย่านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และย่านสถานศึกษาที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลางคมนาคม มีประชากรอาศัยในเขตนี้ค่อนข้างหนาแน่นและยังมีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพิเศษเฉพาะด้วย สถานที่สำคัญที่กล่าวถึงในคำขวัญของเขตคือ
สถาบันทางการศึกษา
สถานที่ราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
สถานพยาบาล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|