วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (อังกฤษ: Institute of Metropolitan Development) เป็นส่วนงานหนึ่งเทียบเท่าคณะและวิทยาลัย สังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประวัติและพัฒนาการวิทยาลัยพัฒนามหานคร (Institute of Metropolitan Development) เป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (Navamindradhiraj University) ถือกำเนิดเริ่มต้นจาก สถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร โดยในระยะนั้นต้องการให้เป็นสถาบันเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนศึกษาวิจัยเพื่อการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากลไกและพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการเมือง รวมถึงการขับเคลื่อนวิทยาการที่เกี่ยวกับเมืองโดยมีเป้าหมายสู่ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ต่อไป ในช่วงเวลานั้น ผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีแนวคิดที่จะจัดตั้ง มหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร ขึ้น โดยมุ่งเน้นการนำเอาประสบการณ์จากการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานจริงที่พบเห็นในแต่ละพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และเป็นรูปธรรม เนื่องจากในปัจจุบัน กรุงเทพมหานครยังคงขาดสถาบันที่ผลิตบุคลากรในสายสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการเมือง (Urban management) ดังนั้น เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในลักษณะของการนำประสบการณ์จากการดำเนินการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม (Learning by doing) จึงได้กำหนดให้มีสถาบันพัฒนาเมืองขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการบริหารและการพัฒนากรุงเทพมหานคร ภายใต้กรอบของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนเมือง โดยเป็นส่วนราชการภายในสำนักผังเมือง มีผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเมือง เป็นผู้บริหารสถาบันฯ และกำกับดูแลการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สถาบันพัฒนาเมือง(สพม.)" หรือ "Urban Green Development Institute (URB-GREEN)"[1] โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงผู้อำนวยการคนแรกของสถาบัน ในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเมือง ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีชื่อเสียง นักวิชาการ หลากหลายสาขาเข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันฯ เช่น ศาสตราจารย์กิตติคุณจรัส สุวรรณเวลา ศาสตราจารย์ไพรัช ธันชยพงษ์ ศาสตราจารย์สมบูรณ์ สุขสำราญ รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย นายวัลลภ สุวรรณดี รองศาสตราจารย์มานพ พงศทัต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันชุดแรก มีนักวิชาการจากหลากหลายสาขา เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบัน เช่น ศาสตราจารย์ ดร. จรัส สุวรรณมาลา รองศาสตราจารย์ ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองศาสตราจารย์ต่อตระกูล ยมนาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. การดี เลี่ยวไพโรจน์ เป็นต้น การดำเนินงานของสถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร ในช่วงนั้น ได้เน้นการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเมือง โดยเน้นดำเนินการหรือร่วมดำเนินการในการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอย่างครบวงจร และแลกเปลี่ยนองค์ความด้านการพัฒนาเมืองในระดับนานาชาติ โดยผลงานสำคัญ คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้นักพัฒนาเมืองซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ เข้าอบรมเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการบริหารงานพัฒนาเมืองอย่างครบวงจรภายใต้หลักสูตรการอบรมผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่นที่ 1 และมหานคร รุ่นที่ 2; ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 เปิดอบรมในรุ่นที่ 7) ในเวลาต่อมาได้โอนย้าย "สถาบันพัฒนาเมือง" มาเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยพัฒนามหานคร โดยได้จัดตั้งขึ้นเป็น "วิทยาลัยพัฒนามหานคร" เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556[2] โดยมีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับการพัฒนามหานคร และเมือง ทำวิจัยและสร้างเครือข่ายภาคีการวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อเสริมสร้าง องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาเมืองและมหานคร จัดทำคลังความรู้มหานครและเมือง รวมทั้งให้บริการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานอื่นโดยแรกเริ่มจากมีเป้าหมายในการเตรียมทรัพยากรสำหรับสร้างเมืองอย่างมีคุณภาพ โดยทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การฝึกอบรม การจัดทำคลังความรู้ ตลอดจนการสร้างเครือข่าย ประสานความร่วมมือ ในการพัฒนาวิชาการ งานวิจัย ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองทั้งในประเทศและนานาชาติ และได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาเมือง เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมเมืองประยุกต์เพื่อการพัฒนาเมือง การบริหารจัดการเมือง การอบรมในสาขาเฉพาะทาง และการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ (KM) ในการบริหารจัดการเมืองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตคนเมือง โดยในปัจจุบันได้ผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนามหานครและเมือง สร้างงานวิจัยและสร้างเครือข่ายภาคีการวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อสร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาเมืองและมหานคร จัดระบบการรวบรวมภูมิปัญญาและประสบการณ์ของปราชญ์ท้องถิ่นจัดทำเป็นคลังความรู้มหานครและเมือง ให้บริการการศึกษา การวิจัย และบริการสารสนเทศ การให้คำปรึกษา แนะนำ รวมทั้งการให้บริการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานอื่น การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนากิจการสังคมให้ดียิ่งขึ้น หลักสูตร
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมาแล้ว 7 คน ดังรายนามต่อไปนี้
อ้างอิง |