วิมานพญาแถน
วิมานพญาแถน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำทวนฝั่งขวา ถนนมงคลบูรพา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โดยจังหวัดยโสธรได้นำเอาแนวคิดทั้งด้านการตลาดและนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขัน จึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน ซึ่งการก่อสร้างวิมานพญาแถนได้เชื่อมโยงกับงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดยโสธร คือ ประเพณีบุญบั้งไฟซึ่งเป็นประเพณีขอฝนให้ตกตามฤดูกาลเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ได้มีน้ำเพื่อทำการเกษตรกรรมอย่างพอเพียง ประวัติจังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดที่มีประเพณีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวยโสธร ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกนั้นประกอบด้วย โลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล โดยโลกมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของโลกเทวดาซึ่งชาวอีสานเรียกเทวดาว่า พญาแถน ซึ่งพญาแถนมีอิทธิพลต่อ ฝน ฟ้า ลม หากมนุษย์ทำให้พญาแถนโปรดปรานหรือพอใจ ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงเกิดพิธีการบูชาพญาแถนโดยการใช้บั้งไฟ เพื่อแสดงการเคารพและเป็นการขอฝนจากพญาแถน อันเป็นที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธรอันโด่งดัง จากตำนานเรื่องเล่าอันถือว่ามีความสำคัญต่อจังหวัดยโสธรดังกล่าวข้างต้น จังหวัดยโสธรจึงจัดสร้าง “วิมานพญาแถน” ขึ้นบริเวณลำทวนเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัด ซึ่งภายในวิมานพญาแถนนั้นประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนถึงตำนานบุญบั้งไฟของยโสธร จึงจัดสร้าง วิมานพญาแถน ขึ้นบริเวณลำทวนเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของจังหวัดอโดยเริ่มก่อสร้างวิมานพญาแถน มาตั้งแต่สมัย นายวันชัย อุดมสิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรและอดีตรองอธิบดีกรมการปกครอง ได้เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อนายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ขณะนั้น ได้จัดสรรงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดคือ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ มาดำเนินการก่อสร้าง เป็นช่วงๆ ปี คาดว่าจะใช้งบทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านบาท เป้าหมายเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในกลุ่มจังหวัด[1] สัญลักษณ์ของวิมานพญาแถนพิพิธภัณฑ์พญาคันคากอาคารพญาคันคากที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวนั้น สร้างขึ้นเป็นรูปร่างพญาคันคาก มีความสูง 19 เมตร พื้นที่รวม 835 ตารางเมตร งบประมาณการก่อสร้าง 18.97 ล้านบาท ภายในอาคารประกอบด้วยพื้นที่จัดนิทรรศการจำนวน 5 ชั้น ได้แก่
พิพิธภัณฑ์พญานาคสร้างทอดยาวริมฝั่งลำน้ำทวน ด้านทิศเหนือของพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก อาคารกว้าง 12.50 เมตร ยาว 99 เมตร สูง 15-16 เมตร งบประมาณการก่อสร้าง 45 ล้านบาท มีแหล่งเรียนรู้ภายในอาคาร 5 โซน ดังนี้
อ้างอิง
|