พีรพันธุ์ พาลุสุข
ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข (10 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 30 เมษายน พ.ศ. 2557) นักกฎหมาย นักวิชาการ และ นักการเมืองชาวไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แล้วได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อตอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ประวัติดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในครอบครัวคริสตัง เป็นบุตรคนโตจากทั้งหมดแปดคนของนายบิน และนางห่ม พาลุสุข เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ที่โรงเรียนบ้านซ่งแย้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 โรงเรียนซ่งแย้พิทยา ด้วยมีผลการเรียนที่น่าพึงใจจึงรับทุนของโบสถ์ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนธรรมพิทยาคาร จังหวัดสกลนคร[3] สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Diploma International Institute of Public Administraiton Paris ด้านการทูต (ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส) และปริญญาเอกสาขากฎหมาย มหาวิทยาลัยปารีส พีรพันธุ์สมรสกับรองศาสตราจารย์ดารนี พาลุสุข มีบุตรหนึ่งคน[4] ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 06.00 น. ที่โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ กรุงเทพมหานคร หลังเข้ารับการผ่าตัดด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ขณะดำรงตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[5] โดยมีการสวดพระอภิธรรม ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 2-15 พฤษภาคม 2557 และอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน[4] การทำงานหลังสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2525 งานการเมืองดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งใหญ่ปี พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 4 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) ต่อมาปี พ.ศ. 2528 อดีต ส.ส. ถึงแก่กรรม นายพีรพันธุ์จึงลงเลือกตั้งซ่อมในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 2 สมัย คือ พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และปี พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาชน ซึ่งเขาเป็นรองเลขาธิการพรรค[6] แต่สอบตกในการเลือกตั้งสองครั้งถัดมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และ เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ซึ่งเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่ จนปี พ.ศ. 2538 จึงได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคชาติไทย[7] ช่วงรัฐบาลพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 - 2548 นายพีรพันธุ์ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยและที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งปี พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย นายพีรพันธุ์มีบทบาทเป็นทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย และดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม[8] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[9] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|