วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นกรรมการในหน่วยงานต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน เขาเป็นผู้พิการทางสายตา ที่มีบทบาทในการเป็นแกนนำรณรงค์เพื่อประโยชน์ของผู้พิการในหลายด้าน และได้รับรางวัลและการยกย่องจากหลายๆ หน่วยงาน ประวัติวิริยะเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2495 เดิมทีในช่วงวัยเด็ก เขาไม่ได้มีความพิการแต่อย่างใด แต่ด้วยความคึกคะนองในวัยเด็ก เป็นคนที่ชอบค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2510 ทำให้ดวงตาของเขาทั้งสองข้างบอดสนิท[1] ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ เขาเสียใจเป็นอย่างมากคิดว่าเมื่อเป็นผู้พิการก็คงไม่สามารถที่จะทำหรือปฏิบัติงานอะไรได้เหมือนที่เคยตาดีอยู่ แต่เขาก็ได้รับการแนะนำในทางที่ถูกต้องจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะ Miss. Jenivieve Caulfield (สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ) ซิสเตอร์โรสมัวร์ แม่อธิการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จึงทำให้เกิดมีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อมาในฐานะผู้พิการ สมรสกับ มณี นามศิริพงศ์พันธุ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน ประวัติการศึกษา
การทำงานวิริยะรับราชการตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นผู้พิการไทยคนแรกที่ได้เข้ารับราชการ[2] เคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาในช่วงที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ เขาเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ วิริยะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จากจำนวน 23 คน[3] และเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านคนพิการ และเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านคนพิการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] โดยดำรงตำแหน่งทั้งสอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2549 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2549 หลังจากการรัฐประหาร วิริยะได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอีกจำนวนหลายคน[5] ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6] รวมถึงเป็นรองประธานกรรมมาธิการกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายู ผู้พิการและความมั่นคงแห่งชาติ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นประธานอนุกรรมาธิการด้านผู้พิการ รางวัล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
Information related to วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ |