Share to:

 

สงครามพระเจ้าจอร์จ

สงครามพระเจ้าจอร์จ
ส่วนหนึ่งของ สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

กองทหารนิวอิงแลนด์ยกพลขึ้นบกใกล้กับป้อมลุยส์บูร์ก บนเกาะเคปเบรตัน ค.ศ. 1745
วันที่ค.ศ. 1744–1748
สถานที่
ผล สนธิสัญญาอาเคิน
ดินแดนกลับสู่สภาวะก่อนสงคราม
คู่สงคราม

 ฝรั่งเศส

 บริเตนใหญ่

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฌ็อง-หลุยส์ เลอ ลูว์แตร์
ปิแยร์ ไมลาร์ด
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส หลุยส์ เดอแชมบ็อง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ปิแยร์ มอร์ปัง
วิลเลียม เพ็พเพอร์เรล
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ปีเตอร์ วอร์เรน

สงครามพระเจ้าจอร์จ (อังกฤษ: King George's War) เป็นชื่อที่ตั้งให้กับปฏิบัติการทางทหารระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย การปะทะส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมณฑลนิวยอร์ก, มณฑลแมสซาชูเซตส์เบย์, มณฑลนิวแฮมป์เชียร์ และมณฑลโนวาสโกเชีย ซึ่งล้วนแต่เป็นมณฑลของอาณานิคมอังกฤษในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

สงครามเริ่มขึ้นเมื่ออังกฤษประกาศสงครามและส่งกองเรือและทหารเข้าล้อมป้อมลุยส์บูร์กบนเกาะเคปเบรตันของอาณานิคมฝรั่งเศสในวันที่ 3 พฤษภาคม 1744 และเข้าล้อมเมืองแอนนาโปลิสรอแยล ศูนย์กลางของมณฑลโนวาสโกเชีย ฝรั่งเศสมีปัญหาเรื่องการขาดอาวุธหนัก หลังจากอังกฤษล้อมโจมตีป้อมลุยส์บูร์กได้หกสัปดาห์ อังกฤษก็สามารถยึดป้อมได้ กลับกัน สหพันธ์วาเบนากีซึ่งเป็นพันธมิตรฝรั่งเศสได้ไปโจมตีชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพรมแดนระหว่างอาคาเดีย (ฝรั่งเศส) และมณฑลเมน (อังกฤษ) แม้ฝรั่งเศสได้วางแผนชิงป้อมลุยส์บูร์กกลับมาอีกครั้งในปี 1746 แต่ด้วยผู้บัญชาการเสียชีวิตและภัยพายุ แผนการนี้จึงไม่ได้ดำเนินการ

ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1745 กองทหารฝรั่งเศสพร้อมด้วยพันธมิตรอินเดียแดงได้เข้าโจมตีและทำลายหมู่บ้านทางตะวันออกของนิวยอร์ก ซึ่งได้สังหารและจับกุมผู้คนนับร้อย ในขณะที่ชาวอังกฤษในออลบานี ทางเหนือของนิวยอร์กก็ถูกละทิ้งตามยถากรรม

สงครามได้สร้างความเสียหายเกินกว่าที่อังกฤษจะรับได้ ประชากรในอาณานิคมอังกฤษที่เสียชีวิตคิดเป็นกว่า 8% อังกฤษจึงยอมเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศส โดยทั้งสอมยินยอมกลับสู่สถานะก่อนสงคราม อังกฤษยอมจ่ายเงิน 180,000 ปอนด์แก่ฝรั่งเศส ส่วนฝรั่งเศสก็ได้ป้อมลุยส์บูร์กคืนมาในสามปีถัดมา อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาสันติภาพนี้แค่ช่วยหยุดยั้งความเสียหายไว้ชั่วคราวเท่านั้น ข้อพิพาทด้านดินแดนและความตึงเครียดในอเมริกาเหนือกับฝรั่งเศสยังคงมีอยู่

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya