Share to:

 

สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย

ยุทธการที่ฟองเทนอย โดยPierre L'Enfant สีน้ำมันบนผ้าใบ
วันที่16 ธันวาคม ค.ศ. 1740 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1748
(7 ปี 10 เดือน 2 วัน)
สถานที่
ผล สนธิสัญญาแอกซ์-ลา-ชาแปล
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ค.ศ. 1740:
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส 140,000 นาย
ราชอาณาจักรปรัสเซีย 80,000 นาย[1]
ค.ศ. 1747:
ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค 204,000 นาย[2]
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ 120,000 นาย[3]
อาณาจักรดยุคแห่งซาวอย 55,000 นาย[4]
ความสูญเสีย

ฝรั่งเศส
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 158,400 นาย[5]
การสูญเสียทางน้ำ: เรือรบแนวเส้นประจัญบาน 20 ลำ, ฟริเกต 16 ลำ, เรือเล็ก 20 ลำ, เรือพาณิชย์ 2,185 ลำ และปืนใหญ่นาวี 1,738 อัน[2]

ปรัสเซีย:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 23,100 นาย[5]

สเปน:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 3,000 นาย[5]
การสูญเสียทางน้ำ: เรือรบแนวเส้นประจัญบาน 17 ลำ, ฟริเกต 7 ลำ, เรือพาณิชย์ 1249 ลำ และปืนใหญ่นาวี 1,276 อัน[2]

พระมหากษัตริย์ฮาพส์บวร์ค:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 148,000 นาย[5]

บริเตนใหญ่:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 26,400 นาย[5]
การสูญเสียทางน้ำ: เรือรบแนวเส้นประจัญบาน 14 ลำ, ฟริเกต 7 ลำ, เรือเล็ก 28 ลำ, เรือพาณิชย์ 3,238 ลำ และปืนใหญ่นาวี 1,012 อัน[2]

สาธารณรัฐดัตช์:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 14,630 นาย[5]

ซาวอย-ซาร์ดีเนีย:
ถูกฆ่าและบาดเจ็บ 7,840 นาย[5]
ทหารเสียชีวิต 450,000 นายและบาดเจ็บ/หายตัวไป 300,000 นาย (ทั้งสองฝั่ง)[6]

สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (อังกฤษ: War of the Austrian Succession; เยอรมัน: Österreichischer Erbfolgekrieg) เป็นสงครามมหาอำนาจสุดท้ายของราชวงศ์บูร์บง-ฮาพส์บวร์ค โดยเกิดขึ้นจาก ค.ศ. 1740 ถึง 1748 และถือเป็นจุดที่ราชอาณาจักรปรัสเซียเริ่มกลายเป็นมหาอำนาจ[7]

สงครามเริ่มจากการที่เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เสด็จสวรรคตในค.ศ. 1740 พระนางมาเรีย เทเรซา ผู้เป็นพระราชบุตรเพียงองค์เดียวจึงได้สืบบัลลังก์ของฮังการี, โครเอเชีย, โบฮีเมีย, ออสเตรีย และปาร์มา ต่อจากพระราชบิดา ซึ่งขัดกับกฎหมายแซลิกที่ห้ามสตรีครองแว่นแคว้น นอกจากนี้ ด้วยความที่พระนางซึ่งเป็นสตรีไม่สามารถสืบตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ จึงผลักดันให้พระสวามีคือฟรันซ์ สเตฟัน ดยุกแห่งลอแรน ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แทน

การที่สตรีได้ครองแผ่นดินซึ่งขัดกับกฎหมาย ทำให้บรรดามหาอำนาจออกมาเรียกร้องสิทธิในบัลลังก์จักรวรรดิให้แก่เจ้านครที่เป็นบุรุษและเหมาะสมกว่า ประเทศปรัสเซียและประเทศฝรั่งเศสมีความต้องการบั่นทอนอำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรียเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในขณะที่ประเทศคู่อริของทั้งปรัสเซียและฝรั่งเศสอย่างบริเตนใหญ่และสาธารณรัฐดัตช์ก็คอยสนับสนุนฮาพส์บวร์ค สเปนซึ่งกำลังทำสงครามกับบริเตนใหญ่มาตั้งแต่ปี 1739 จึงถือโอกาสนี้เข้าข้างฝ่ายปรัสเซียและฝรั่งเศสเพื่อหมายจะขจัดอิทธิพลของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเหนือคาบสมุทรสเปนในคราวเดียว เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

การรบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคพื้นดิน ในขณะที่ชาติอื่นๆยังคงใช้ทหารรับจ้างมาทำการรบ ประเทศปรัสเซียผ่านการปฏิรูปกองทัพเป็นระบบทหารประจำการแล้ว จึงมีแสนยานุภาพที่เหนือกว่า ประเทศปรัสเซียสามารถมีชัยเหนือราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสงครามไซลีเชียครั้งที่หนึ่งในปี 1742 ซึ่งทำให้ปรัสเซียได้เข้าครอบครองดินแดนไซลีเชีย ปรัสเซียได้รับชัยชนะอีกครั้งในสงครามไซลีเชียครั้งที่สองในปี 1744 ในขณะที่ฝรั่งเศสก็ทำการโจมตีอาณานิคมต่างๆของบริเตนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นสงครามที่เรียกว่าสงครามพระเจ้าจอร์จ

สงครามครั้งนี้จบลงด้วยสนธิสัญญาแอกซ์-ลา-ชาแปลในปี 1748 พระนางมาเรีย เทราซา สูญเสียดินแดนไซลีเชียให้แก่ปรัสเซีย และเสียแคว้นปาร์มาและปีอาเชนซาให้แก่สเปน แลกกับการยอมรับพระนางเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรียและกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ส่วนฝรั่งเศสไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากนัก ความสงบสุขอยู่ได้ไม่นานนัก ความอยากได้ดินแดนไซลีเชียคืนมาของออสเตรียทำให้เกิดการเปลี่ยนดุลอำนาจครั้งใหญ่ในยุโรปเมื่อปี 1756 ซึ่งนำไปสู่สงครามครั้งใหญ่กว่าอย่างสงครามเจ็ดปี

กำลังทหารใน ค.ศ. 1740

คู่สงคราม เดินเท้า ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ วิศวกร อื่น ๆ ทหารอาสา ข้อมูล
ออสเตรีย 76,000 32,000 2,600 150 0 .. [8]
บาวาเรีย 36,000 4,000 200 0 0 .. [9]
ฝรั่งเศส 111,000 19,000 3,000 .. 0 30,000 [10]
บริเตนใหญ่ 19,000 7,000 2,000 .. 6,000[a] 130,000 [11]
ฮันโนเฟอร์ 18,000 5,000 360 23 0 0 [12]
เฮ็สเซิน-คัสเซิล 18,000 4,000 900 .. .. 0 [13]
โคโลญ 1,000 0 0 0 0 0 [14]
ฟัลทซ์ 9,000 1,000 200 15 0 0 [15]
ปรัสเซีย 76,000 22,000 1,200 43 0 0 [16]
ซาวอย-ซาร์ดิเนีย 41,000 5,000 .. .. 0 0 [17]
ซัคเซิน 20,000 8,800 600 0 0 0 [18]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Dwyer, Philip G. The Rise of Prussia 1700-1830. United Kingdom: Taylor & Francis, 2014. Page 14.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Clodfelter 2002, p. 78.
  3. Dwyer, p. 14.
  4. Gregory Hanlon. "The Twilight Of A Military Tradition: Italian Aristocrats And European Conflicts, 1560-1800." Routledge: 1997. Page 120: "Gradual buildup brought the army close to 55,000 effective soldiers (including the provincial militia regiments) in 1747. This level of two percent of the total population, while lower than that of Prussia or Sweden, was far ahead of France, Austria, and most other European states, and certainly had no rival in Italy."
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Statistics of Wars, Oppressions and Atrocities of the Eighteenth Century
  6. Clodfelter 2002, p. 81.
  7. Anderson 1995, pp. 3–4.
  8. K. und K. Kriegsarchiv (1896); Oesterreichischer Erbfolge-Krieg, vol. 1:1, Verlag L. W. Seidel & Sohn, Wien, pp. 372, 432–434, 444–445
  9. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 589–590
  10. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 639, 642
  11. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 620–621, 626–627
  12. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 610–611
  13. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, p. 605
  14. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, p. 602
  15. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, p. 601
  16. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, p. 573
  17. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 661–662
  18. K. und K. Kriegsarchiv (1896), vol. 1:1, pp. 585–586

ข้อมูล


Kembali kehalaman sebelumnya