สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
สดใส รุ่งโพธิ์ทอง มีชื่อจริงในอดีตว่า พงษ์ศักดิ์ โรจน์ธนวิชัย ชื่อตามบัตรประชาชน ปัจจุบัน สดใส โรจนวิชัย เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพ่อเป็นคนทำขวัญนาค แม่มีอาชีพชาวนา ในวัยเด็กชอบร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่ง ประวัติสดใสได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การทำงานงานเพลงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้นำเอาเพลงของคาราวานไปใส่เนื้อร้องใหม่เป็นเพลงลูกทุ่ง เช่นเพลง เราคนจน มาจากเพลง คนกับควาย เพลงโอ้ชาวนา มาจากเพลง เปิบข้าว เป็นต้น สดใสบันทึกเสียงตัวเองลงแผ่นเสียงครั้งแรกกับเพลง ข้าด้อยเพียงดิน ซึ่งเป็นเพลงที่เขียนเอง แต่เพลงที่ทำให้ได้ชื่อเสียงและได้รับความนิยมคือ รักจางที่บางปะกง ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งสดใสเขียนเนื้อเพลงเอง เป็นที่ได้รับความนิยมมากเพราะมีเนื้อร้องที่ไหลลื่นและคลองจองกัน พร้อมกับมีดนตรีที่เป็นจังหวะฉิ่งฉับ ฟังแล้วให้รู้สึกคึกคัก หลังจากนั้นมา สดใส ก็ได้มีผลงานบันทึกเสียงกับบริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยอยู่ในอัลบั้ม สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง ต่อมาสดใสก็มีผลงานบันทึกเสียงกับค่ายโรสวิดีโอ (ปัจจุบันคือ โรสมีเดียฯ) โดยนำผลงานเพลงของตัวเอง และเพลงของ ศรเพชร ศรสุพรรณ รวมถึงนักร้องท่านอื่น ๆ มาขับร้องด้วย สดใส รุ่งโพธิ์ทอง กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 กับเพลง รักน้องพร ซึ่งมีเนื้อหาและลีลาการร้องที่ออดอ้อน ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้ถูกนำมาร้องใหม่และแปลงเนื้อร้องโดยนักร้องลูกทุ่งหลายคน งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 สดใสได้ลงสมัครเป็น ส.ว. ที่จ.ปทุมธานี และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงถึง 52,180 คะแนน เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมของวุฒิสภา แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 สดใสได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่ จ.ปทุมธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการทาบทามของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค โดยลงในเขต 2 จ.ปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา และ อ.หนองเสือ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น สดใส โรจนวิชัย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1] ในการเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 สดใสได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งในพื้นที่เดิม โดยย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[2] ต่อมาสดใสได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งก่อนหน้านั้นมีกระแสข่าวว่าสดใสเตรียมสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาสดใสได้ลาออกจากสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาและย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคเพื่อแผ่นดิน จากนั้นในการประชุมใหญ่สามัญของพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สดใสก็ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินในลำดับที่ 4 จากนั้นก็ลาออกไปสังกัดพรรครวมแผ่นดิน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สดใสลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เขต 4 สังกัดพรรครวมแผ่นดิน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
อัลบั้ม
อัลบั้มรวมเพลง
อัลบั้มพิเศษ
งานเพลงของสดใส รุ่งโพธิ์ทอง
เพลงพิเศษ
ผลงานการแสดง
รายการ
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่น ๆ
คอนเสิร์ต
อ้างอิง
|