การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
| | | ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก |
---|
ลงทะเบียน | 52,238,594 [3] |
---|
ผู้ใช้สิทธิ | 75.71% ( 1.02 จุด) |
---|
|
First party
|
Second party
|
Third party
|
|
|
|
|
ผู้นำ
|
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
|
แพทองธาร ชินวัตร
|
อนุทิน ชาญวีรกูล
|
พรรค
|
ก้าวไกล
|
เพื่อไทย
|
ภูมิใจไทย
|
ผู้นำตั้งแต่
|
14 มีนาคม 2563
|
20 มีนาคม 2565[a]
|
14 ตุลาคม 2555
|
เขตของผู้นำ
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
ไม่ลงเลือกตั้ง
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
81 ที่นั่ง, 17.80%[b]
|
136 ที่นั่ง, 22.16%
|
51 ที่นั่ง, 10.50%
|
ที่นั่งก่อนหน้า
|
45[4]
|
117[4]
|
63[4]
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
151
|
141
|
71
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
70
|
5
|
20
|
คะแนนเสียง
|
14,438,851
|
10,962,522
|
1,138,202
|
%
|
36.54
|
27.74
|
2.88
|
|
|
Fourth party
|
Fifth party
|
Sixth party
|
|
|
|
|
ผู้นำ
|
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
|
ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]
|
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
|
พรรค
|
พลังประชารัฐ
|
รวมไทยสร้างชาติ
|
ประชาธิปัตย์
|
ผู้นำตั้งแต่
|
27 มิถุนายน 2563
|
9 มกราคม 2566[c]
|
15 พฤษภาคม 2562
|
เขตของผู้นำ
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
ไม่ลงเลือกตั้ง[6]
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
116 ที่นั่ง, 23.74%
|
–
|
53 ที่นั่ง, 11.13%
|
ที่นั่งก่อนหน้า
|
79[4]
|
2
|
50[4]
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
40
|
36
|
25
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
76
|
พรรคใหม่
|
28
|
คะแนนเสียง
|
537,625
|
4,766,408
|
925,349
|
%
|
1.36
|
12.06
|
2.34
|
|
|
Seventh party
|
Eighth party
|
Ninth party
|
|
|
|
|
ผู้นำ
|
วราวุธ ศิลปอาชา
|
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
|
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
|
พรรค
|
ชาติไทยพัฒนา
|
ประชาชาติ
|
ไทยสร้างไทย
|
ผู้นำตั้งแต่
|
3 ตุลาคม 2565
|
2 มีนาคม 2561
|
9 กันยายน 2565
|
เขตของผู้นำ
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
บัญชีรายชื่อ (#1)
|
เลือกตั้งล่าสุด
|
10 ที่นั่ง, 2.20%
|
7 ที่นั่ง, 1.35%
|
พรรคใหม่
|
ที่นั่งก่อนหน้า
|
10[4]
|
7[4]
|
-
|
ที่นั่งที่ชนะ
|
10
|
9
|
6
|
ที่นั่งเปลี่ยน
|
0
|
2
|
พรรคใหม่
|
คะแนนเสียง
|
192,497
|
602,645
|
340,178
|
%
|
0.51
|
1.61
|
0.91
|
|
แผนที่แสดงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ |
แผนที่แสดงพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อสูงสุดในแต่ละเขตเลือกตั้ง |
องค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎรหลังจากการเลือกตั้ง |
|
ปฏิทินการเลือกตั้ง[7][8][9] |
---|
20 มี.ค. | พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้ |
---|
27 มี.ค. – 13 เม.ย. | วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า |
---|
3 – 7 เม.ย. | วันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
---|
7 พ.ค. | วันใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า |
---|
14 พ.ค. | วันเลือกตั้งทั่วไป |
---|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[10] หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566[11] ภายหลังการเลือกตั้งปรากฎว่าประเทศไทยไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรีได้ โดยประธานรัฐสภากล่าวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอาจจะมีอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[12] ซึ่งครบ 100 วันหลังเลือกตั้ง ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่ประเทศไทยรอนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลานานเป็นอันดับที่สองนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งในประเทศ[13]
คณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงผลอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ผลปรากฏว่า พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งรองลงมา[14][15] การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์มากถึงร้อยละ 75.71 ทำลายสถิติของการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 75.03[16] การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งที่หาเสียงโดยพูดเรื่องเงินมากที่สุดครั้งหนึ่ง หลายพรรคเสนอจำนวนเงินเป็นตัวเลข การหาเสียงในป้ายหาเสียงมีแต่จำนวนเงิน อาทิ บำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาทต่อเดือน[17] และโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในพื้นที่ที่กำหนด[18]
เบื้องหลัง
หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง กองทัพได้ก่อการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เพื่อขับไล่รัฐบาลรักษาการพลเรือน คณะนายทหารที่รู้จักกันในชื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขึ้นสู่อำนาจภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้นและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญ พวกเขาห้ามวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและห้ามติดตามผลประชามติ นักเคลื่อนไหวต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกจับกุม ควบคุมตัว และดำเนินคดีในศาลทหาร[19] ขณะที่ผู้ออกมาแสดงเจตนาคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญก็ถูกรัฐบาลทหารจับกุมและดำเนินคดีเช่นกัน[20]
ในปี พ.ศ. 2562 หลังจากเกิดความล่าช้าหลายครั้ง ในที่สุดรัฐบาลทหารก็จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่าพลเอกประยุทธ์มีข้อได้เปรียบ เนื่องจากวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมดโดยรัฐบาลทหารและการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในช่วงนาทีสุดท้าย[21][22]
พลเอกประยุทธ์เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562[23] ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 8 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดวาระนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากมีการตีความมากมายเกี่ยวกับการเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[24][25][26] เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาให้วาระการดำรงตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์เริ่มในปี พ.ศ. 2560 ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หมายความว่าเขาอาจดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงปี พ.ศ. 2568 หากเขาได้รับเลือกจากรัฐสภาอีกครั้ง
ปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดการแตกแยกในพรรคพลังประชารัฐระหว่างพลเอกประยุทธ์กับรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่สนิทคือ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หลังจากที่พลเอกประวิตรแสดงจุดยืนต่อพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พลเอกประยุทธ์ได้ประกาศความสนใจที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และสมัครเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของพรรคดังกล่าวในเดือนถัดมา มีการคาดหมายว่าเขาจะเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนเดียวของพรรครวมไทยสร้างชาติ ด้านพรรคภูมิใจไทย มีผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านบางส่วน รวมถึงนักการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง ได้ลาออกจากพรรคเดิมที่ตัวเองสังกัดไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย เพื่อเพิ่มโอกาสชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้
ระบบเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนจะได้รับเลือกโดยใช้ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงด้วยบัตรใบเดียว เพื่อเลือก ส.ส. 350 ที่นั่งจากเขตเลือกตั้ง และอีก 150 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามคะแนนของพรรคการเมืองทั้งประเทศ[27] หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร 500 ที่นั่ง จะลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีในการประชุมร่วมกับวุฒิสภาอีก 250 ที่นั่ง วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. จะอยู่ในวาระจนถึงปี 2567 จึงคาดว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน[28]
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ได้มีการลงคะแนนเสียง 472 ต่อ 33 เสียง (งดออกเสียง 187 เสียง) เพื่อกลับมาใช้การลงคะแนนระบบคู่ขนานที่เคยใช้เมื่อช่วงก่อนปี 2560 ในระบบนี้ จะมี ส.ส. 400 ที่นั่งที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และลดจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลงเหลือ 100 ที่นั่ง จากเดิม 150 ที่นั่ง[29] ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องลงคะแนนโดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตและพรรคการเมืองที่ตนต้องการ[29] ต่างจากระบบก่อนหน้าที่ผู้มีสิทธิ์แต่ละคนลงคะแนนเสียงเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือก ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ[30] อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากระบบนี้จะทำให้พรรคดังกล่าวได้ที่นั่งในสภายากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน
ในช่วง พ.ศ. 2565 มีการถกเถียงว่าจะใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อแบบใดระหว่าง "สูตรหาร 100" กับ "สูตรหาร 500" ซึ่งถ้าใช้สูตรหาร 500 จะทำให้เกิดที่นั่งส่วนเกิน (Overhanging seat) แบบเดียวกับในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 และทำให้คะแนนเสียงพึงมีของ ส.ส. 1 ที่นั่งต่ำลง ซึ่งเอื้อต่อการตีความให้พรรคเล็กได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2565 มีการใช้กลยุทธ์ไม่มาประชุมจนสภาขาดองค์ประชุม ทำให้การพิจารณาแก้ไขเป็นสูตรหาร 500 ต้องตกไป และกลับไปใช้สูตรหาร 100 โดยปริยาย[31]
จากการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้พรรคขนาดเล็กเสียเปรียบในสนามเลือกตั้ง จึงนำไปสู่การเจรจาควบรวมพรรค และจัดตั้งพันธมิตรทางการเมืองของพรรคขนาดเล็กต่าง ๆ ได้แก่ การควบรวมพรรคชาติพัฒนาและพรรคกล้าเป็นพรรคชาติพัฒนากล้า,[32] การจับมือระหว่างพรรคไทยสร้างไทยและพรรคสร้างอนาคตไทย[33][34] รวมไปถึงเกิดการย้ายพรรคของนักการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าการใช้เงินซื้อตัวผู้สมัคร ส.ส. และระบบ "บ้านใหญ่" หรือตระกูลที่มีอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่นจะกลับมามีบทบาท[35]
เดือนมกราคม 2566 มีการผ่านกฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ[36] คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2566 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566[37] สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน[38] มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2566 ซึ่งรัฐบาลจะยุบสภาทันทีเลยก็ได้ หรืออยู่ครบวาระซึ่งจะครบเทอมในวันที่ 24 มีนาคม 2566[39] ไม่ว่าจะวิธีการใด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องจัดให้มีระยะเวลาสำหรับเตรียมการเลือกตั้งประมาณ 45 วัน (พิจารณารูปแบบแบ่งเขต 25 วัน, คัดสรรผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 วัน)[40]
การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง
หลังจากที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยปรับสัดส่วนจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเป็น 400 เขต เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าที่มี 350 เขต[29] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการส่งหนังสือด่วนถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในแต่ละพื้นที่เตรียมแบ่งเขตเลือกตั้งไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 รูปแบบ[41]
ในกุมภาพันธ์ 2566 กกต. ออกประกาศ เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด กำหนดให้คำนวณจำนวนราษฎรเฉลี่ย 165,226 คนต่อ ส.ส. 1 คน โดยใช้ข้อมูลจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นฐานในการคำนวณ พร้อมทั้งระบุจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งเป็นรายจังหวัดดังนี้[42]
พื้นที่ |
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
|
กรุงเทพมหานคร |
33
|
นครราชสีมา |
16
|
ขอนแก่นและอุบลราชธานี |
11
|
ชลบุรี, เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ |
10
|
นครศรีธรรมราช, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี |
9
|
เชียงราย, นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ |
8
|
ชัยภูมิ, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี |
7
|
กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม |
6
|
กาญจนบุรี, นราธิวาส, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี และสุพรรณบุรี |
5
|
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, ตาก, นครพนม, ปัตตานี, ลพบุรี, ลำปาง, เลย, สมุทรสาคร, สระบุรี และสุโขทัย |
4
|
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุตรดิตถ์ |
3
|
ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี |
2
|
ตราด, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม |
1
|
อย่างไรก็ตาม จำนวน ส.ส. เขตที่พึงมีในแต่ละจังหวัด ที่ กกต. เคยประกาศไว้เมื่อกุมภาพันธ์ 2566 มีการนับรวมบุคคลต่างด้าวมาใช้เป็นฐานในการคำนวณ[43] ต่อมา 3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่ให้นำผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยมาร่วมเป็นฐานในการคำนวณ[44] กกต. จึงได้มีการพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาล และในวันเดียวกัน ก็ออกประกาศเปลี่ยนแปลงจำนวนเขตเลือกตั้งพึงมีของแต่ละจังหวัด โดย นครศรีธรรมราช, อุดรธานี, ลพบุรี และปัตตานี มี ส.ส. เพิ่มขึ้นจังหวัดละ 1 คน ขณะที่ เชียงใหม่, เชียงราย, ตาก และสมุทรสาคร มี ส.ส. ลดลงจังหวัดละ 1 คน และค่าเฉลี่ยประชากรต่อ ส.ส. เขต 1 คนลดลงเหลือ 162,766 คน[45]
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พึงมีในแต่ละพื้นที่ หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 3 มีนาคม 2566 มีดังนี้[45][46]
พื้นที่ |
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
|
กรุงเทพมหานคร |
33
|
นครราชสีมา |
16
|
ขอนแก่นและอุบลราชธานี |
11
|
ชลบุรี, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์ และ อุดรธานี |
10
|
ศรีสะเกษและสงขลา |
9
|
นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ |
8
|
ชัยภูมิ, เชียงราย, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี |
7
|
กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม |
6
|
กาญจนบุรี, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี และสุพรรณบุรี |
5
|
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, ลำปาง, เลย, สระบุรี และสุโขทัย |
4
|
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุตรดิตถ์ |
3
|
ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี |
2
|
ตราด, ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม |
1
|
หมายเหตุ: คือ จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เขต ลดลง 1 คน, คือ จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เขต เพิ่มขึ้น 1 คน
|
จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตที่พึงมีของแต่ละจังหวัด จำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อน ▇ เพิ่ม 3 ที่นั่ง, ▇ เพิ่ม 2 ที่นั่ง ▇ เพิ่ม 1 ที่นั่ง, ▇ ไม่เปลี่ยนแปลง
การย้ายสังกัดพรรคการเมือง
ย้ายไปพรรคก้าวไกล
- พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- นิยม ช่างพินิจ อดีต ส.ส. พิษณุโลก
- นพ ชีวานันท์ อดีต ส.ส. พระนครศรีอยุธยา
- สุชาติ ภิญโญ อดีต ส.ส. นครราชสีมา
- รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ อดีต ส.ส. เชียงราย
- นคร มาฉิม อดีต ส.ส. พิษณุโลก
- จักรพรรดิ ไชยสาส์น อดีต ส.ส. อุดรธานี
- ธีระ ไตรสรณกุล อดีต ส.ส. ศรีสะเกษ
- ปวีณ แซ่จึง อดีต ส.ส. ศรีสะเกษ
- ผ่องศรี แซ่จึง อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
- วุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส. นครนายก
- สามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย
- ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- วินัย ภัทรประสิทธิ์ อดีต ส.ส.พิจิตร
- วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ อดีต ส.ส.นนทบุรี
- พรชัย ศรีสุริยันโยธิน อดีต ส.ส.บุรีรัมย์
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- องอาจ วงษ์ประยูร อดีต ส.ส. สระบุรี
- บัลลังก์ อรรณนพพร อดีต ส.ส. ขอนแก่น
- ประกิจ พลเดช อดีต ส.ส.บุรีรัมย์
ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
- ศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- การุณ โหสกุล อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- ชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีต ส.ส. นครพนม
- ณัฐวุฒิ กองจันทร์ดี อดีต ส.ส.หนองบัวลำภู
- เจริญ จรรย์โกมล อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย
- มังกร ยนต์ตระกูล อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- พิชัย เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.ลพบุรี
- ไพโรจน์ ตันบรรจง อดีต ส.ส.พะเยา
- ธนิก มาสีพิทักษ์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น
- สมชอบ นิติพจน์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
- กุสุมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม
- จิรวุฒิ สิงห์โตทอง อดีตผู้สมัคร ส.ส. ชลบุรี
ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา
- สุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ อดีต ส.ส.เชียงราย
ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์
- ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก อดีต ส.ส.นครราชสีมา
ย้ายไปพรรคเพื่อชาติ
- ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี
- กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
- เชิงชาย ชาลีรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชัยภูมิ
- พรรณสิริ กุลนาถสิริ อดีต ส.ส. สุโขทัย
- ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง อดีต ส.ส. สุโขทัย
- จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล อดีต ส.ส. สุโขทัย
- กฤชนนท์ อัยยปัญญา อดีตผู้สมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- ภูดิศ อินทร์สุวรรณ์ อดีต ส.ส. พิจิตร
- แสนคม อนามพงษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. จันทบุรี
- ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร อดีต ส.ส.ราชบุรี
- สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- วารุจ ศิริวัฒน์ อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์
- พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
- เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ อดีต ผู้สมัครส.ส. อุบลราชธานี
- สุพล ฟองงาม อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
- โยธากาญจน์ ฟองงาม อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุบลราชธานี
- สุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
- ตวงทิพย์ จินตะเวช อดีตผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี
- ภิญโญ นิโรจน์ อดีต ส.ส. นครสวรรค์
- วีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส. นครสวรรค์
- พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- ภาดาท์ วรกานนท์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- กษิดิ์เดช ชุติมันต์ อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- จักรพันธ์ พรนิมิตร อดีต ส.ส. กรุงเทพมหานคร
- พิกิฏ ศรีชนะ อดีต ส.ส. ยโสธร
- ธวัชชัย อนามพงษ์ อดีต ส.ส. จันทบุรี
- เจริญ เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี
- ฉลอง เรี่ยวแรง อดีต ส.ส.นนทบุรี
- ประทวน สุทธิอำนวยเดช อดีต ส.ส.ลพบุรี
- พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
- สมเกียรติ วอนเพียร อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
- ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
- อัฏฐพล โพธิพิพิธ อดีต ส.ส. กาญจนบุรี
- กฤษณ์ แก้วอยู่ อดีต ส.ส.เพชรบุรี
- สุชาติ อุสาหะ อดีต ส.ส.เพชรบุรี
- ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ อดีต ส.ส.นครปฐม
- มณเฑียร สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.ชัยนาท
- เวียง วรเชษฐ์ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด
- เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- อลงกต มณีกาศ อดีต ส.ส.นครพนม
- ชูกัน กุลวงษา อดีต ส.ส.นครพนม
- วันชัย บุษบา อดีต ส.ส.เลย
- ปารีณา ไกรคุปต์ อดีต ส.ส.ราชบุรี (ส่งพี่ชายลงสมัครแทน)
- ยศศักดิ์ ชีววิญญู อดีต ส.ส.ราชบุรี
- บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ผกามาศ เจริญพันธ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สุรินทร์
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- กุลวลี นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี
- ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา
- ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยอนันต์ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- พันตำรวจตรี ฐนภัทร กิตติวงศา อดีต ส.ส.จันทบุรี
- ธนกร วังบุญคงชนะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- นิโรธ สุนทรเลขา อดีต ส.ส.นครสวรรค์
- ประสิทธิ์ มะหะหมัด อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- พยม พรหมเพชร อดีต ส.ส.สงขลา
- พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ไพลิน เทียนสุวรรณ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ
- ภาคิน สมมิตรธนกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- มานัส อ่อนอ้าย อดีต ส.ส.เพชรบุรี
- รณเทพ อนุวัฒน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
- วัชระ ยาวอฮาซัน อดีต ส.ส.นราธิวาส
- ศาสตรา ศรีปาน อดีต ส.ส.สงขลา
- สมบัติ อำนาคะ อดีต ส.ส.สระบุรี
- สมพงษ์ โสภณ อดีต ส.ส.ระยอง
- สัญญา นิลสุพรรณ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
- สาธิต อุ๋ยตระกูล อดีต ส.ส.เพชรบุรี
- สุชาติ ชมกลิ่น อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- สายัณห์ ยุติธรรม อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
- สุรชาติ ศรีบุศกร อดีต ส.ส.พิจิตร
- อนุชา นาคาศัย อดีต รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี อดีต ส.ส.สงขลา
- วัฒนา สิทธิวัง อดีต ส.ส.ลำปาง (ถูกใบเหลืองจากการเลือกตั้งซ่อม)
- สันติ ตันสุหัช อดีต ส.ส.เชียงใหม่
- ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
- เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย
- ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ (เสียชีวิต)
- จำลอง ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์
- วทันยา บุนนาค อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- บุญเลิศ ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- ทวีศักดิ์ ประทุมลี อดีตผู้สมัคร ส.ส.มุกดาหาร
- ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส.จันทบุรี
- สุวัฒน์ ม่วงศิริ อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย
- ชัชวาล แพทยาไทย อดีตผู้สมัคร ส.ส.ร้อยเอ็ด
- อดุลย์ นิลเปรม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
- นิพนธ์ ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์
- บัวสอน ประชามอญ อดีต ส.ส.เชียงราย
- รำพูล ตันติวณิชชานนท์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. อุบลราชธานี
ย้ายไปพรรคชาติพัฒนากล้า
- พรศักดิ์ เปี่ยมคล้า อดีต ส.ส.นครปฐม
ย้ายไปพรรครวมแผ่นดิน
- รณฤทธิชัย คานเขต อดีต ส.ส.ยโสธร
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- แนน บุณย์ธิดา สมชัย อดีต ส.ส. อุบลราชธานี
- เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- สุชาดา แทนทรัพย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ปารเมศ โพธารากุล อดีต ส.ส.กาญจนบุรี
- พงศ์เวช เวชชาชีวะ อดีต ส.ส.จันทบุรี (ส่งภรรยาลงสมัครแทน)
- พีระเดช ศิริวันสาณฑ์ อดีต ส.ส.นครสวรรค์
- ไพร พัฒโน อดีต ส.ส. สงขลา
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ อดีต ส.ส.ราชบุรี
- ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- อันวาร์ สาและ อดีต ส.ส.ปัตตานี
- อภิชัย เตชะอุบล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง
- เกียรติศักดิ์ ส่องแสง อดีต ส.ส.ปทุมธานี
- รำรี มามะ อดีต ส.ส.นราธิวาส
- จำลอง ภูนวนทา ส.ส.กาฬสินธุ์
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- พิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ (ปานทิพย์ ศุภกิจเจริญ) อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก
- วิชัย ล้ำสุทธิ อดีต ส.ส.ระยอง
- รัฐพงษ์ ระหงษ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- พายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัคร สส.ชลบุรี
ย้ายไปพรรคก้าวไกล
- พริษฐ์ วัชรสินธุ อดีต ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร
- นัฏฐิกา โล่ห์วีระ อดีต ผู้สมัครส.ส.ชัยภูมิ
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีต รองนายกรัฐมนตรี
- ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เจือ ราชสีห์ อดีต ส.ส.สงขลา
- ชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร
- พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
- พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- พ.ท.สินธพ แก้วพิจิตร อดีต ส.ส.นครปฐม
- อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ อดีต ส.ส.ราชบุรี
- จุติ ไกรฤกษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- เจือ ราชสีห์ อดีต ส.ส.สงขลา
- สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง
- ปรีชา มุสิกุล อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
- สุขวิชชาญ มุสิกุล อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
- วิรัตน์ วิริยะพงษ์ อดีต ส.ส.สุโขทัย
- สุชีน เอ่งฉ้วน อดีตผู้สมัครส.ส.กระบี่
- วิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
- พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- พงษ์มนู ทองหนัก อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก
- เกรียงยศ สุดลาภา อดีต ส.ส.กทม.
- ชุมพล กาญจนะ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี
- สามารถ มะลูลีม อดีต ส.ส. กทม.
- สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช
- สมัย เจริญช่าง อดีต ส.ส.กทม.
ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา
- กนก วงษ์ตระหง่าน อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคชาติพัฒนากล้า
- กรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง
- อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานคร
ย้ายไปพรรคเสรีรวมไทย
- สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตผู้สมัคร ส.ส.สมุทรสาคร
ย้ายไปพรรคไทยภักดี
- พุฒิพงศ์ สงวนวงษ์ชัย อดีต ส.ส.
- อิสระพงษ์ สงวนวงษ์ชัย อดีต ผู้สมัคร ส.ส.
- ถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรี
ย้ายไปพรรคประชาชาติ
- สุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีต ส.ส.นราธิวาส
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ภาสกร เงินเจริญกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ศุภดิช อากาศฤกษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- นิยม วิวรรธนดิษฐกุล อดีต ส.ส.แพร่ และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีต รัฐมนตรี
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ทศพร ทองศิริ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร
- วินท์ สุธีรชัย อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เชษฐา ไชยสัตย์ อดีตผู้สมัครนายกอบจ.อุบลราชธานี
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร
- กฤษณ์กมล แพงศรี อดีต ผู้สมัคร ส.ส.ปราจีนบุรี
ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา
- สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ อดีตส.ส.กรุงเทพมหานคร
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- เกษมสันต์ มีทิพย์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ขวัญเลิศ พานิชมาท อดีตส.ส.ชลบุรี
- คารม พลพรกลาง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ
- เอกภพ เพียรพิเศษ อดีตส.ส.เชียงราย
- พีรเดช คำสมุทร อดีตส.ส.เชียงราย
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- สุพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- อนุสรี ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์
- จักษ์ พันธ์ชูเพชร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- เจะอามิง โตะตาหยง อดีต ส.ส.นราธิวาส
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- อภิชา เลิศพชรกมล อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- วีระศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- มานิตย์ ภาวสุทธิ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
- ไกร ดาบธรรม อดีต ส.ส.เชียงใหม่
- วิรัช พิมพะนิตย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธุ์
- วิชัย ด่านรุ่งโรจน์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิจิตร และสว.พิจิตร
- สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ส.ส.นครราชสีมา และอดีตรองนายก อบจ.
- นรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล อดีต ผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- บรรจบ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
- สุนทรี ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- สุชาติ ศรีสังข์ อดีต ส.ส. มหาสารคาม
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ
- ณัฐพล เกียรติวินัยสกุล อดีต ส.ส.ลพบุรี
ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย
- ฟารีดา สุไลมาน อดีต ส.ส.สุรินทร์
- วันเพ็ญ เศรษฐรักษา อดีต ผู้สมัคร ส.ส.กาฬสินธุ์
ย้ายไปพรรคเพื่อไทรวมพลัง
- จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล อดีต ส.ส.นครราชสีมา
กลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- เกษม ศุภรานนท์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
- จีรเดช ศรีวิราช อดีต ส.ส.พะเยา
- ทัศนาพร เกษเมธีการุณ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีต ส.ส.พะเยา
- ปัญญา จีนาคำ อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน
- ไผ่ ลิกค์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
- พรชัย อินทร์สุข อดีต ส.ส.พิจิตร
- ภาคภูมิ บูลย์ประมุข อดีต ส.ส.ตาก
- พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ยุทธนา โพธสุธน อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- สะถิระ เผือกประพันธุ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
- สมศักดิ์ คุณเงิน อดีต ส.ส.ขอนแก่น
- บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีต ส.ส.ตาก
- ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
- ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ อดีต ส.ส.สุรินทร์
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- กวินนาถ ตาคีย์ อดีต ส.ส.ชลบุรี
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- จารึก ศรีอ่อน อดีต ส.ส.จันทบุรี
- โกวิท พวงงาม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ชัชวาลล์ คงอุดม อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ.
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- นพดล แก้วสุพัฒน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- นันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
กลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- วิเชียร ชวลิต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา
- สันติ กีระนันทน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายพรรคประชาธิปัตย์
- ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร อดีต ส.ส.สระบุรี
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- อารี ไกรนรา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์
- พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- วิทยา บุตรดีวงค์ อดีต ส.ส.มุกดาหาร
ย้ายไปพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ อดีต ส.ส.อุตรดิตถ์
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- นิคม บุญวิเศษ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ย้ายไปพรรคเพื่อไทย
- อนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร
- อมรเทพ สมหมาย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- ปัญญา ชวนบุญ อดีตผู้สมัคร ส.ส.สมุทรสาคร
- ศักดิ์ชัย จินตะเวช อดีต ส.ส.อุบลราชธานี
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- ณริยา บุญเศรฐ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พิจิตร
ย้ายไปพรรคไทยสร้างไทย
- วิสันต์ เดชเสน อดีต ส.ส.ยโสธร
ย้ายไปพรรคพลังประชารัฐ
- รัฐกร เจนกิจณรงค์ อดีต ส.ส.นครปฐม
ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์
- สาคร พรหมภักดี อดีต ส.ส.สกลนคร
ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย
- นัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส
ระบบบัญชีรายชื่อ
การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้การลงคะแนนระบบคู่ขนาน โดยใช้บัตรเลือกตั้งจำนวนสองใบ ซึ่งหมายเลขประจำพรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อจะเป็นหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ ขณะที่หมายเลขของผู้สมัครในระบบแบ่งเขตจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต แม้จะอยู่พรรคการเมืองเดียวกันก็ตาม
การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 67 พรรค โดยหมายเลขประจำพรรคการเมืองมาจากการจับสลากจำนวน 49 หมายเลข และถัดจากนั้นเรียงลำดับตามช่วงเวลาสมัครก่อน-หลัง ซึ่งหมายเลขของแต่ละพรรคการเมืองมีดังต่อไปนี้[47][48]
ก่อนการเลือกตั้ง
ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการขึ้นป้ายหาเสียงล่วงหน้า เช่น พรรคเพื่อไทย[49], พรรคประชาธิปัตย์[50], พรรครวมไทยสร้างชาติ[51] และพรรคก้าวไกล[52] เป็นต้น เวลาเดียวกันมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวนหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นอดีต ส.ส. สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[53] ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
ต่อมาปลายเดือนธันวาคม 2565 ผู้นำฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่มีการลงมติโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา[54] ในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 นาย ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ้นจากตำแหน่งและต่อมาในวันที่ 12 มกราคม 2566 ปดิพัทธ์ สันติภาดา เปิดเผยว่าหลานของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีส่วนเกี่ยวข้องกับ "คดีทุนจีนสีเทา"[55] ในเดือนเดียวกันมีการวิเคราะห์ว่าพลเอกประยุทธ์จะประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน หลังปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์[56] บ้างก็คาดเดาว่าเขาอาจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลี่ยงการอภิปรายทั่วไปของฝ่ายค้าน[57] ด้าน นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย คาดการณ์ว่าอาจมีการยุบสภาในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม[58] ส่วน ดร.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ว่าที่พลเอกประยุทธ์ยังไม่ยุบสภานั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่เกี่ยวกับความพร้อมของพรรครวมไทยสร้างชาติมากกว่า[59] ในช่วงกลางเดือนดังกล่าว หลังการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติของฝ่ายค้านในรัฐสภา พลเอกประยุทธ์ระบุว่ามีแนวโน้มจะยุบสภาในเดือนถัดจากนั้น[60]
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย วิเคราะห์ว่าหากเครือข่ายประยุทธ์ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[61] และต่อมา กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่าหากนายกรัฐมนตรีเป็นคนดี ก็ไม่ควรจำกัดวาระไว้ที่ 8 ปี[62] ด้าน ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของกิตติศักดิ์ และต้องผ่านกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามปกติ[63]
ในเดือนมกราคม 2566 มีการเปิดตัว "เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งปี 2566" ซึ่งประกอบด้วยองค์การนอกภาครัฐกว่า 100 แห่ง และออกแถลงการณ์เชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพราะมีความกังวลในเรื่องความเป็นธรรมและความโปร่งใสของการเลือกตั้ง[64]
ในเดือนเดียวกัน ยังมีการอดอาหารประท้วงของเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและเรียกร้องพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116[65] พรรคการเมืองฝ่ายค้านมีมติร่วมกันตามข้อเรียกร้อง 2 ข้อโดยไม่กล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายอาญา 2 มาตราดังกล่าว[66] ต่อมามีผู้ชุมนุมเดินทางไปที่พรรคเพื่อไทยเพื่อเรียกร้องให้พรรครับข้อเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย[67]
เดือนกุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แบ่งเขตเลือกตั้ง โดยมีการนำบุคคลต่างด้าวและผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งมาคำนวณ ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจส่อให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ[68] ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้ให้ความคิดเห็นว่า คำว่า “จำนวนราษฎรตามประกาศมหาดไทย”[69] ที่ กกต. อ้างว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้ หมายรวมถึงคนไทยและคนต่างด้าวมาคิดคำนวณสูตรแบ่งเขตเลือกตั้ง และอาจหวั่นซ้ำรอยเลือกตั้งปี 2549[70] รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และโฆษกพรรค ระบุถึงประเด็นนี้ว่า กกต. ไม่ควรนับรวมคนต่างด้าวในการคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง ควรดูจากประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นหลัก[71] ต่อมา กกต. แถลงประเด็นนี้ว่า สถานะของราษฎรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย อาจอยู่สถานะ “รอการพิสูจน์” เพื่อลำดับขั้นตอนสู่การมีสัญชาติ[72] และตอบประเด็นนี้ว่า “ราษฎร” คือบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียน หรือต่างชาติที่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย แต่ไม่นับกลุ่มต่างด้าว[73] ส่วน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่าวิธีการคำนวณดังกล่าวเป็นการใช้เพื่อกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร[74] และการแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น[75]วันที่ 26 กุมภาพันธ์ มีคนร้ายขับรถชน นายติรานนท์ เวียงธรรม ผู้สมัครพรรคก้าวไกล ซึ่งเสียชีวิตในอีกสามวันหลังเกิดเหตุ
3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดพึงมี คำว่า "ราษฎร" ไม่ได้หมายรวมถึงผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย[76] ตามคำตัดสินดังกล่าวส่งผลให้ 8 จังหวัด มีจำนวน ส.ส.เขต เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ กกต. เคยประกาศไว้เมื่อกุมภาพันธ์ 2566[e][77][46]
ในวันที่ 20 มีนาคม เพียง 3 วันก่อนการครบวาระสภา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี [78] โดยให้เหตุผลว่าอายุสภาผู้แทนราษฎรใกล้สิ้นสุดลง และเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน[79] อย่างไรก็ตามมีข้อวิจารณ์ว่าการยุบสภาก่อนสภาหมดวาระเพียงไม่กี่วันไม่ใช่การเร่งคืนอำนาจให้ประชาชน แต่เป็นการอาศัยเงื่อนไขตามกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง และยื้อเวลาให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ช้าลง[80] และในวันรุ่งขึ้น (21 มีนาคม) คณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม[81] วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีอธิบายว่า หากยุบสภาได้ในวันที่ 20 มีนาคมก็ควรจะยุบ เพราะสภาจะหมดวาระในวันที่ 23 มีนาคม รวมถึงคณะรัฐมนตรีมีสถานะเป็นรักษาการนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม แต่ในทางกฎหมาย จะไม่เรียก “ครม.รักษาการ” เพราะสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความไว้เมื่อหลายปีก่อนแล้วว่า “ถ้าเรียกอาจจะเกิดปัญหา” จึงไม่ใช่คำนี้ในภาษาราชการ[82]
ในเดือนเมษายน 2566 โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคการเมืองได้นำประเด็นเรื่องสถาบันมาอภิปราย โดย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้อภิปรายตอนหนึ่งว่าจะจัดการขั้นเด็ดขาดกับพวกชังชาติ[83] ในขณะที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ในเวทีเลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อ[84] แสดงจุดยืนแก้ไขกฎหมายความผิดต่อพระมหากษัตริย์ไทย การโจมตีเด็กและเยาวชนเริ่มมีมากขึ้นก่อนการเลือกตั้ง เช่น วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 คมสันชัย สุขพิพัฒน์มงคล นักพากษ์การ์ตูน ได้กล่าวโจมตีบุคคลที่ไม่ยืนในโรงหนังในขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้ปราศัยที่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับความผิดพลาดในวงการทหารตำรวจ อาทิ กรณี ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม คนเคยสนิท[85] ธานี อ่อนละเอียด ทำร้ายร่างกายทหารรับใช้[86] เรือหลวงสุโขทัย เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 และกล่าวโจมตี ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ภายหลังปล่อยคลิปของพรรครวมไทยสร้างชาติที่มีเนื้อหาเชิงตำหนิเยาวชนอกตัญญู[87]
และก่อนการเลือกตั้ง ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับผู้สมัครดังต่อไปนี้
- 4 กุมภาพันธ์ ตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล สส.สุรินทร์ เขต 4 พรรคเพื่อไทย และเป็นว่าที่ผู้สมัครในการเลือกตั้งครั้งใหม่ เสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคหัวใจวาย ขณะเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาเพื่อไปยังกรุงเทพมหานคร[88] โดยมีการเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น พรเทพ พูนศรีธนากูล แทน
- 26 กุมภาพันธ์ ติรานนท์ เวียงธรรม ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แพร่ เขต 1 พรรคก้าวไกล ประสบอุบัติเหตุหลังกลับจากการลงพื้นที่หาเสียง และเสียชีวิตในช่วงเช้าของวันที่ 2 มีนาคม โดยระบุว่าเป็นอุบัติเหตุถูกรถชน แต่ไม่สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้[89] โดยมีการเปลี่ยนตัวผู้สมัครเป็น วิทูรย์ สุรจิตต์ แทน
- 22 เมษายน ธีระทัศน์ เตียวเจริญ ผู้สมัคร ส.ส.สุรินทร์ เขต 6 พรรครวมไทยสร้างชาติ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง[90] ทำให้ไม่มีผู้สมัครของพรรครวมไทยสร้างชาติในเขตเลือกตั้งนั้น
บทบาทของทหาร
ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า 2 วัน (7 พฤษภาคม) กองทัพบกเผยแพร่วิดีโอกรมดุริยางค์ทหารบกขับร้องเพลง "หนักแผ่นดิน" ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และต้องลบวิดีโอดังกล่าวหลังเผยแพร่ได้เพียง 2 ชั่วโมง[91][92] ในวันที่ 8 พฤษภาคม กองทัพภาคที่ 2 เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความว่า "ทหารมีไว้ทำไม" ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน[93][94]
ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ยืนยันว่า จะไม่ก่อรัฐประหารหลังการเลือกตั้ง และสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พร้อมเชิญชวนทหารไปเลือกตั้ง[95] วันเดียวกันมีทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 4 ถูกลงโทษขัง 30 วัน เนื่องจากโพสต์หาเสียงเลือกตั้งในกลุ่มไลน์ โดยกองทัพระบุว่า เป็นการประพฤติไม่เป็นกลางทางการเมือง[96][97]
ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี
มีพรรคการเมืองจำนวน 42 พรรค เสนอชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนรวม 61 คน โดยมีพรรคการเมืองเสนอ 3 ชื่อ จำนวน 5 พรรค เสนอ 2 ชื่อ จำนวน 7 พรรค ที่เหลือเสนอพรรคละ 1 ชื่อ
เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น มีพรรคการเมืองจำนวน 6 พรรคที่มีสิทธิ์ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา รวมทั้งหมด 9 คน ดังรายชื่อดังต่อไปนี้
ผลสำรวจ
พรรคที่ต้องการ
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
คะแนนความนิยมพรรค (%)
|
คะแนนนำ (%)
|
พปชร.
|
พท.
|
ก.ก.
|
ปชป.
|
ภท.
|
สร.
|
ทสท.
|
รทสช.
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
28 เมษายน–3 พฤษภาคม 2566
|
เนชั่นโพล
|
115,399
|
3.18
|
39.83
|
29.18
|
3.97
|
4.84
|
0.82
|
0.99
|
7.45
|
7.09
|
2.65
|
10.65
|
24–28 เมษายน 2566
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
1.28
|
37.92
|
35.36
|
3.32
|
2.36
|
1.60
|
1.68
|
12.84
|
1.24
|
2.40
|
2.66
|
22–28 เมษายน 2566
|
โพลเดลินิวส์ x มติชน
|
78,583
|
2.46
|
33.65
|
50.29
|
1.05
|
0.70
|
1.01
|
1.01
|
6.05
|
0.96
|
2.82
|
16.64
|
10–20 เมษายน 2566
|
สวนดุสิตโพล
|
162,454
|
7.49
|
41.37
|
19.32
|
7.30
|
9.55
|
1.74
|
2.41
|
8.48
|
–
|
2.34
|
22.35
|
8–14 เมษายน 2566
|
โพลเดลินิวส์ x มติชน
|
84,076
|
1.55
|
38.89
|
32.37
|
1.83
|
3.30
|
1.63
|
1.73
|
12.84
|
2.21
|
3.65
|
6.52
|
7–12 เมษายน 2566
|
เนชั่นโพล
|
39,687
|
1.58
|
35.75
|
16.02
|
3.50
|
3.80
|
0.69
|
0.71
|
4.50
|
32.27
|
1.18
|
3.48
|
3–7 เมษายน 2566
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
1.80
|
47.00
|
21.85
|
4.50
|
3.00
|
2.65
|
2.10
|
11.40
|
2.35
|
3.35
|
25.15
|
1–17 มีนาคม 2566
|
สวนดุสิตโพล
|
10,614
|
5.17
|
46.16
|
15.43
|
7.71
|
11.12
|
0.41
|
1.43
|
8.73
|
—
|
1.90
|
30.73
|
2–8 มีนาคม 2566
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
2.30
|
49.85
|
17.15
|
4.95
|
2.55
|
2.85
|
2.60
|
12.15
|
2.35
|
3.25
|
32.70
|
17–22 ธันวาคม 2565
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
4.00
|
42.95
|
16.60
|
5.35
|
5.25
|
3.40
|
3.25
|
6.95
|
8.30
|
3.95
|
26.35
|
15–21 กันยายน 2565
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
5.56
|
34.44
|
13.56
|
7.56
|
2.32
|
2.56
|
3.04
|
—
|
24.00
|
6.96
|
20.88
|
20–23 มิถุนายน 2565
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
7.00
|
36.36
|
17.88
|
6.32
|
2.56
|
3.04
|
2.96
|
—
|
18.68
|
5.20
|
18.48
|
10–15 มีนาคม 2565
|
นิด้าโพล
|
2,020
|
7.03
|
25.89
|
16.24
|
7.97
|
1.88
|
2.28
|
2.18
|
—
|
28.86
|
7.67
|
2.97
|
15–21 ธันวาคม 2564
|
นิด้าโพล
|
2,504
|
8.99
|
23.52
|
13.18
|
7.15
|
1.32
|
2.43
|
1.60
|
—
|
37.14
|
4.67
|
13.62
|
25–28 ตุลาคม 2564
|
สวนดุสิตโพล
|
1,186
|
24.61
|
32.94
|
25.21
|
6.18
|
4.28
|
—
|
—
|
—
|
—
|
6.78
|
7.73
|
20–23 กันยายน 2564
|
นิด้าโพล
|
2,018
|
9.51
|
22.50
|
15.11
|
7.78
|
1.14
|
2.68
|
1.93
|
—
|
35.68
|
2.28
|
13.18
|
11–16 มิถุนายน 2564
|
นิด้าโพล
|
2,515
|
10.70
|
19.48
|
14.51
|
9.54
|
2.43
|
2.90
|
2.47
|
—
|
32.68
|
2.82
|
13.20
|
23–26 มีนาคม 2564
|
นิด้าโพล
|
2,522
|
16.65
|
22.13
|
13.48
|
7.10
|
3.25
|
3.81
|
—
|
—
|
29.82
|
3.76
|
7.69
|
20–23 ธันวาคม 2563
|
นิด้าโพล
|
2,533
|
17.80
|
23.61
|
14.92
|
7.46
|
1.82
|
3.00
|
—
|
—
|
26.49
|
4.90
|
2.88
|
18–23 กันยายน 2563
|
นิด้าโพล
|
2,527
|
12.39
|
19.39
|
12.70
|
7.44
|
1.58
|
1.70
|
—
|
—
|
41.59
|
3.21
|
22.20
|
22–24 มิถุนายน 2563
|
นิด้าโพล
|
2,517
|
15.73
|
20.70
|
13.47
|
7.75
|
1.43
|
2.50
|
—
|
—
|
32.38
|
6.04
|
11.68
|
18–20 ธันวาคม 2562
|
นิด้าโพล
|
2,511
|
16.69
|
19.95
|
30.27
|
10.83
|
2.43
|
2.03
|
—
|
—
|
13.46
|
4.34
|
11.00
|
24 มีนาคม 2562
|
การเลือกตั้ง 2562
|
—
|
23.74
|
22.16
|
17.80
|
11.13
|
10.50
|
2.32
|
—
|
—
|
1.58
|
10.77
|
1.58
|
นายกรัฐมนตรีที่ต้องการ
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
คะแนนนิยม (%)
|
คะแนนนำ (%)
|
ประยุทธ์
|
สุดารัตน์
|
แพทองธาร
|
เศรษฐา
|
พิธา
|
จุรินทร์
|
เสรีพิศุทธ์
|
กรณ์
|
อนุทิน
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
28 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2566
|
เนชั่นโพล
|
115,399
|
8.85
|
1.23
|
27.55
|
13.28
|
29.37
|
2.49
|
1.11
|
0.38
|
4.05
|
5.35
|
4.22
|
1.82
|
24–28 เมษายน 2566
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
14.84
|
2.48
|
29.20
|
6.76
|
35.44
|
1.80
|
1.68
|
1.32
|
1.36
|
3.00
|
2.12
|
6.24
|
22–28 เมษายน 2566
|
โพลเดลินิวส์ x มติชน
|
78,583
|
6.52
|
1.04
|
19.59
|
15.54
|
49.17
|
—
|
0.84
|
1.74
|
0.64
|
1.18
|
3.74
|
29.58
|
8–14 เมษายน 2566
|
โพลเดลินิวส์ x มติชน
|
84,076
|
13.72
|
1.90
|
23.23
|
16.69
|
29.42
|
1.08
|
2.25
|
2.94
|
1.40
|
2.97
|
3.15
|
6.19
|
7–12 เมษายน 2566
|
เนชั่นโพล เก็บถาวร 2023-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
|
39,687
|
8.13
|
1.67
|
33.81
|
7.45
|
16.87
|
2.59
|
1.42
|
1.09
|
2.70
|
22.58
|
1.69
|
11.23
|
3–7 เมษายน 2566
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
13.60
|
4.15
|
35.70
|
6.05
|
20.25
|
2.20
|
3.45
|
1.95
|
2.55
|
6.10
|
4.00
|
15.45
|
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
ประยุทธ์
|
สุดารัตน์
|
แพทองธาร
|
ชลน่าน
|
พิธา
|
จุรินทร์
|
เสรีพิศุทธ์
|
กรณ์
|
อนุทิน
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
คะแนนนำ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2–8 มีนาคม 2566
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
15.65
|
5.10
|
38.20
|
1.60
|
15.75
|
2.35
|
4.45
|
1.40
|
1.55
|
9.45
|
4.50
|
22.45
|
17–22 ธันวาคม 2565
|
นิด้าโพล
|
2,000
|
14.05
|
6.45
|
34.00
|
2.60
|
13.25
|
2.30
|
6.00
|
2.65
|
5.00
|
8.25
|
5.45
|
19.95
|
15–21 กันยายน 2565
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
10.12
|
9.12
|
21.60
|
2.20
|
10.56
|
1.68
|
6.28
|
2.12
|
2.40
|
24.16
|
9.76
|
2.56
|
20–23 มิถุนายน 2565
|
นิด้าโพล
|
2,500
|
11.68
|
6.80
|
25.28
|
2.92
|
13.24
|
1.56
|
6.60
|
3.76
|
1.52
|
18.68
|
7.96
|
12.04
|
10–15 มีนาคม 2565
|
นิด้าโพล
|
2,020
|
12.67
|
8.22
|
12.53
|
3.96
|
13.42
|
2.58
|
7.03
|
2.77
|
1.63
|
27.62
|
7.57
|
14.20
|
15–21 ธันวาคม 2564
|
นิด้าโพล
|
2,504
|
16.93
|
5.51
|
10.55
|
2.24
|
10.74
|
1.84
|
4.83
|
2.63
|
—
|
36.54
|
8.19
|
19.61
|
25–28 ตุลาคม 2564
|
สวนดุสิตโพล
|
1,186
|
21.27
|
19.35
|
—
|
—
|
28.67
|
—
|
—
|
—
|
—
|
—
|
30.71
|
7.40
|
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
ประยุทธ์
|
สุดารัตน์
|
สมพงษ์
|
พิธา
|
จุรินทร์
|
เสรีพิศุทธ์
|
กรณ์
|
อนุทิน
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
คะแนนนำ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
20–23 กันยายน 2564
|
นิด้าโพล
|
2,018
|
17.54
|
11.15
|
2.33
|
11.05
|
1.54
|
9.07
|
2.58
|
1.24
|
32.61
|
10.89
|
15.07
|
11–16 มิถุนายน 2564
|
นิด้าโพล
|
2,515
|
19.32
|
13.64
|
0.87
|
5.45
|
1.47
|
8.71
|
3.62
|
2.35
|
37.65
|
6.92
|
18.33
|
23–26 มีนาคม 2564
|
นิด้าโพล
|
2,522
|
28.79
|
12.09
|
1.90
|
6.26
|
0.99
|
8.72
|
2.70
|
2.02
|
30.10
|
6.43
|
1.31
|
20–23 ธันวาคม 2563
|
นิด้าโพล
|
2,533
|
30.32
|
13.46
|
1.03
|
7.74
|
0.63
|
7.50
|
1.65
|
1.34
|
32.10
|
4.23
|
1.78
|
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
ประยุทธ์
|
สุดารัตน์
|
สมพงษ์
|
พิธา
|
อภิสิทธิ์
|
จุรินทร์
|
เสรีพิศุทธ์
|
กรณ์
|
อนุทิน
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
คะแนนนำ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
18–23 กันยายน 2563
|
นิด้าโพล
|
2,527
|
18.64
|
10.57
|
1.07
|
5.70
|
—
|
—
|
3.92
|
1.54
|
0.67
|
54.13
|
3.76
|
35.49
|
22–24 มิถุนายน 2563
|
นิด้าโพล
|
2,517
|
25.47
|
8.07
|
0.99
|
3.93
|
0.95
|
0.83
|
4.57
|
1.67
|
0.44
|
44.06
|
9.02
|
18.59
|
ระยะเวลาการสำรวจ
|
องค์กรที่สำรวจ
|
กลุ่มตัวอย่าง
|
ประยุทธ์
|
สุดารัตน์
|
สมพงษ์
|
ธนาธร
|
อภิสิทธิ์
|
จุรินทร์
|
เสรีพิศุทธ์
|
กรณ์
|
อนุทิน
|
ยังไม่ตัดสินใจ
|
อื่น ๆ
|
คะแนนนำ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
18–20 ธันวาคม 2562
|
นิด้าโพล
|
2,511
|
23.74
|
11.95
|
0.40
|
31.42
|
0.67
|
2.47
|
3.90
|
0.04
|
1.08
|
17.32
|
7.01
|
7.68
|
เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
|
12 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2562
|
กรุงเทพโพลล์
|
10,062
|
28.70
|
20.60
|
—
|
—
|
19.20
|
14.80
|
—
|
4.80
|
—
|
1.00
|
3.20
|
7.70
|
8.10
|
เอกซิตโพล
การเลือกตั้ง
การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินสูงถึง 5.9 พันล้านบาท[99] แต่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความผิดปกติและข้อผิดพลาดในการทำงานของ กกต.[99] ส่งผลให้แฮชแท็ก "#กกตมีไว้ทำไม" และ "#กกตต้องติดคุก" ขึ้นอันดับที่หนึ่งในทวิตเตอร์ พร้อมมีการล่ารายชื่อถอดถอน กกต.[100]
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เฝ้าระวัง โดยเกิดขึ้นแต่ในกรุงเทพมหานครที่มีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดเฝ้าหีบบัตรเลือกตั้งทุกจุดไว้ตลอดเวลา และจัดตั้งศูนย์ควบคุมระบบดังกล่าวขึ้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร พร้อมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้ตามเวลาจริงผ่านทางลิงก์ของกรุงเทพมหานคร[101][102][103]
การเลือกตั้งล่วงหน้า
ในการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ระบบคิวอาร์โค้ดล่มตั้งแต่เปิดหีบ[104] เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลในบัตรหรือซองเลือกตั้งผิด ทำให้ประชาชนวิตกว่า จะกลายเป็นบัตรเสียหรือเป็นคะแนนที่ไม่ตรงตามเจตนา[105] เช่น ในจังหวัดนนทบุรี มีบัตรถึง 100 ใบที่เจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลผิด[106] และไปรษณีย์ไทยแถลงว่า มีบัตรกว่า 1 หมื่นซองที่ไม่สามารถอ่านลายมือของเจ้าหน้าที่ออก จึงต้องส่งคืน กกต. ไปวินิจฉัย[107][108][109] นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ยอมติดประกาศแนะนำพรรคการเมืองให้ครบทุกพรรค โดยมีรายงานว่า พรรคก้าวไกลหายไปมากที่สุด[106] และ กกต. ปฏิเสธที่จะรายงานผลการเลือกตั้งตามเวลาจริง[110] ทำให้สื่อมวลชนกว่า 50 องค์กรต้องร่วมมือกันรายงานผลให้แก่ประชาชนเอง[111]
การเลือกตั้งใหม่
กกต. สั่งให้เลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่ 10 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครปฐม เนื่องจากพายุฝนทำให้การเลือกตั้งในวันเลือกตั้งทั่วไปติดขัด การเลือกตั้งใหม่มีในวันที่ 21 พฤษภาคม 2566[112] โดยพรรคก้าวไกลชนะในหน่วยเลือกตั้งดังกล่าว แต่ไม่มีผลต่อจำนวน ส.ส. ในเขตเลือกตั้งนั้น[113]
การเลือกตั้งทั่วไป
ผลการเลือกตั้ง
ภาพรวม
ก • ค
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
|
|
(ซ้าย) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง, (ขวา) พรรคที่ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อสูงสุดจำแนกตามเขตเลือกตั้ง
ก้าวไกล เพื่อไทย ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ประชาชาติ ไทยสร้างไทย เพื่อไทรวมพลัง ชาติพัฒนากล้า
|
|
พรรค
|
แบ่งเขต
|
บัญชีรายชื่อ
|
ที่นั่งรวม
|
คะแนนเสียง
|
%
|
ที่นั่ง
|
คะแนนเสียง
|
%
|
ที่นั่ง
|
|
ก้าวไกล
|
9,665,433
|
25.98
|
112
|
14,438,851
|
38.48
|
39
|
|
|
เพื่อไทย
|
9,340,082
|
25.11
|
112
|
10,962,522
|
29.22
|
29
|
|
|
ภูมิใจไทย
|
5,133,441
|
13.80
|
68
|
1,138,202
|
3.03
|
3
|
|
|
พลังประชารัฐ
|
4,186,441
|
11.25
|
39
|
537,625
|
1.43
|
1
|
|
|
รวมไทยสร้างชาติ
|
3,607,575
|
9.70
|
23
|
4,766,408
|
12.70
|
13
|
|
|
ประชาธิปัตย์
|
2,278,857
|
6.12
|
22
|
925,349
|
2.47
|
3
|
|
|
ชาติไทยพัฒนา
|
585,205
|
1.57
|
9
|
192,497
|
0.51
|
1
|
|
|
ประชาชาติ
|
334,051
|
0.89
|
7
|
602,645
|
1.61
|
2
|
|
|
ไทยสร้างไทย
|
872,893
|
2.34
|
5
|
340,178
|
0.91
|
1
|
|
|
ชาติพัฒนากล้า
|
297,946
|
0.80
|
1
|
212,676
|
0.57
|
1
|
|
|
เพื่อไทรวมพลัง
|
94,345
|
0.26
|
2
|
66,830
|
0.17
|
0
|
|
|
เสรีรวมไทย
|
277,007
|
0.74
|
0
|
351,376
|
0.94
|
1
|
|
|
ประชาธิปไตยใหม่
|
13,583
|
0.03
|
0
|
273,428
|
0.73
|
1
|
|
|
ใหม่
|
1,365
|
0.00
|
0
|
249,731
|
0.67
|
1
|
|
|
ท้องที่ไทย
|
1,202
|
0.00
|
0
|
201,411
|
0.54
|
1
|
|
|
เป็นธรรม
|
9,653
|
0.00
|
0
|
184,817
|
0.49
|
1
|
|
|
พลังสังคมใหม่
|
20,353
|
0.05
|
0
|
177,8379
|
0.47
|
1
|
|
|
ครูไทยเพื่อประชาชน
|
4,464
|
0.01
|
0
|
175,182
|
0.47
|
1
|
|
อื่น ๆ
|
466,175
|
14.61
|
0
|
4,191,255
|
10.15
|
0
|
|
|
คะแนนสมบูรณ์
|
37,190,071
|
94.12
|
400
|
37,522,746
|
94.96
|
100
|
500
|
|
คะแนนเสีย
|
1,457,899
|
3.69
|
|
1,509,836
|
3.82
|
|
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
|
866,885
|
2.19
|
482,303
|
1.22
|
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
|
39,514,973
|
75.71
|
39,514,964
|
75.71
|
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
|
52,238,594
|
100.00
|
52,238,594
|
100.00
|
|
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง[114]
|
ผลการเลือกตั้งรายจังหวัด
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลครบ 400 เขตเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ยกเว้นหน่วยเลือกตั้งที่ 10 เขต 1 จังหวัดนครปฐม ที่ประสบวาตภัยทำให้ไม่สามารถลงคะแนนได้ ซึ่ง กกต. กำหนดให้การลงคะแนนในหน่วยดังกล่าวใหม่อีกสามวันหลังจากนั้น หลังจากนั้นจึงประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ มีผู้มาใช้สิทธิ์คิดเป็น 75.71% สูงที่สุดนับตั้งแต่ กกต. จัดการเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. จำนวน 18 พรรค ในจำนวนนี้มี 10 พรรค ได้ ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ, มี 1 พรรค ได้ ส.ส. เฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง นอกนั้นได้ ส.ส. เฉพาะแบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น[115]
พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภามากที่สุด 151 ที่นั่ง[116] มากกว่าคู่แข่งหลักคือพรรคเพื่อไทยถึง 10 ที่นั่ง นักวิเคราะห์ตีความว่านี่เป็นแผ่นดินไหวทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในความคิดเห็นของประชาชน ในขณะที่ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลและนักวิเคราะห์การเมือง เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดในการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็น "สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง" และ "รุ่งอรุณแห่งยุคใหม่"[117] พรรคก้าวไกลทำสำเร็จเหนือความคาดหมาย เอาชนะพรรคเพื่อไทยที่ตั้งเป้าจะชนะขาดลอย ทำลายสถิติของพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (ตั้งแต่ พรรคไทยรักไทย และ พรรคพลังประชาชน)[118] ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้านเก่า 2 พรรคหลัก คือ พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ได้ตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ 'สนับสนุนประชาธิปไตย' พร้อมกับอีก 6 พรรค คือ พรรคประชาชาติ, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง[119] โดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[120] อย่างไรก็ตามในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้ขอถอนตัวออกจากการร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล รวมทั้งจะเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และจะไม่มีพรรคก้าวไกลเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยให้เหตุผลว่า พรรคก้าวไกลไม่ยอมถอยเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้พรรคบางพรรคและสมาชิกวุฒิสภาไม่โหวตสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาล[121] โดยท้ายที่สุด ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยสามารถรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลได้ 315 เสียง จากพรรคร่วมทั้งสิ้น 12 พรรค (พรรคเพื่อไทย 141 เสียงกับอีก 11 พรรค[f]) ส่วนการแบ่งตำแหน่งรัฐมนตรีจะใช้เกณฑ์ 9 ที่นั่งต่อ 1 ตำแหน่งรัฐมนตรี[122]
สติธร ธนานิธิโชติ วิเคราะห์ว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้คือความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษนิยม ส่วน รองศาตราจารย์ ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อดีตรองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าคะแนนเสียงนี้ส่งเสียงเตือนไปยังสมาชิกวุฒิสภามิให้ลงมติฝืนมติมหาชน บีบีซีไทยวิเคราะห์ว่าความพ่ายแพ้นี้เกิดจากการตัดคะแนนกันเองระหว่างพรรคพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ, ระบบเลือกตั้งที่ไม่เอื้อต่อพรรคเกิดใหม่, ความเบื่อหน่ายต่อการบริหารประเทศของประยุทธ์ รวมถึงการหาเสียงของพรรคฝ่ายค้านเดิมที่ต้องการตัดวงจรของทหารออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาด[123] นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ว่า การที่พรรคเพื่อไทยพลาดเป้า "แลนด์สไลด์" นั้น เกิดจากการวางแผนที่ผิดพลาด, จุดยืนทางการเมืองที่ไม่ชัดเจน, การไม่ลงดีเบตเองของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี รวมถึงการประกาศพร้อมกลับประเทศไทยของทักษิณ ชินวัตร ทำให้พรรคเพื่อไทยเสียคะแนนในพื้นที่ กทม. และหัวเมือง[124]
วาสนา นาน่วม วิเคราะห์ว่าคะแนนของพรรคก้าวไกลบางส่วนที่มาจากพลทหารและนักเรียนนายร้อย อาจสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการปฏิรูปกองทัพของบุคคลกลุ่มดังกล่าว[125]
การเลือกตั้งซ่อม
- 10 กันยายน พ.ศ. 2566 – ระยอง เขต 3 นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ จากพรรคก้าวไกล ชนะการเลือกตั้งซ่อม สส.ระยอง เขต 3
หลังการเลือกตั้ง
คำร้องคัดค้านการเป็น สส.
15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส.ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[126] มีทั้งสิ้น 8 พรรค โดยมีดังนี้
สีแสดง
|
|
สิ้นสภาพการเป็น สส.
|
|
ศาลฎีการับคำร้อง และถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่
|
|
อยู่ระหว่างยื่นคำร้อง
|
|
ถูกยกคำร้อง
|
แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
ยื่นศาลตัดสิทธิ์ผู้สมัคร และ สส.
หลังการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีการให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครดังต่อไปนี้
รูปแบบ |
ความหมาย
|
|
ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้ง สส. ใหม่
|
|
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-สมัครรับเลือกตั้ง 10 ปี
|
|
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-สมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต
|
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ↑ ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย หัวหน้าพรรคคือ นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว
- ↑ จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคก้าวไกล เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคอนาคตใหม่เคยได้รับ
- ↑ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค หัวหน้าพรรคคือ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
- ↑ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ประยุทธ์เป็นผู้ที่พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เขามิได้เป็นสมาชิกพรรคดังกล่าว ต่อมาใน พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ดูเพิ่มเติมในส่วนเขตเลือกตั้ง
- ↑ พรรคภูมิใจไทย 71 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรคประชาชาติ 9 เสียง พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 เสียง พรรคชาติพัฒนากล้า 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง พรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง พรรคท้องที่ไทย 1 เสียง และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง
- ↑ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะยื่นฟ้องคดีต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งจะไม่มีคำขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้รัชนีหยุดปฏิบัติหน้าที่
อ้างอิง
- ↑ "Thailand sets May 7, 2023 as the tentative date of next general election".
- ↑ "Election Commission sets May 7 as date for next general election". Bangkok Post.
- ↑ "Election Results".
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "เปิดตัวเลขจำนวน ส.ส.ในสภาฯ คงเหลือ 429 คน พรรคเพื่อไทยสูงสุด 117 คน". www.thairath.co.th. 2023-02-07.
- ↑ "'ประยุทธ์' ประกาศเป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรครวมไทยสร้างชาติแล้ว". workpointTODAY.
- ↑ "ประยุทธ์ แจงไม่ลงปาร์ตี้ลิสต์ ไม่เกี่ยวเป็นนายกฯ ได้แค่ 2 ปี". Thairath Online. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2023.
- ↑ "เลือกตั้ง 66 กกต.กางปฏิทินเลือกตั้ง เคาะหย่อนบัตร 14 พ.ค.นี้". workpointTODAY.
- ↑ "ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. 16 กุมภาพันธ์ 2023. pp. 76–79. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2023.
{{cite web}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "กกต. เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่างประกาศ กกต. ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 5 ฉบับ". สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. 22 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2023.
{{cite web}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "กางไทม์ไลน์ กกต. เลือกตั้งปี 2566 นับถอยหลังสภาหมดวาระ". THE STANDARD. 2022-09-22.
- ↑ Thongsak (2022-09-21). "กกต.เคาะ 7 พ.ค.2566 เลือกตั้งใหญ่หากสภาอยู่ครบวาระ!".
- ↑ วันนอร์ นัดประชุมรัฐสภา 22 สิงหาคม โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
- ↑ ไร้รัฐบาล 66 วัน ยังตั้งไม่ได้! เลือกตั้ง '66 ทะลุขึ้นอันดับสองของการ "รอรัฐบาลใหม่"
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Election Commission says MFP won Sunday's election". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 May 2023.
- ↑ "Thailand's Election Commission declares victory for Move Forward Party". Thai PBS World. 15 May 2023. สืบค้นเมื่อ 16 May 2023.
- ↑ Lohatepanont, Ken Mathis (15 May 2023). "Three takeaways from Thailand's 2023 Election - Thai Enquirer Current Affairs". Thai Enquirer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 15 May 2023.
- ↑ จับตาพรรคการเมือง บลัฟนโยบาย "ตัวเลข" แจก-จ่าย
- ↑ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท สายล่อฟ้า เพื่อไทยตั้งรับเกมยุบพรรค
- ↑ "Thailand: Junta Bans Referendum Monitoring". Human Rights Watch. New York: Human Rights Watch. 2016-06-21. สืบค้นเมื่อ 2016-07-05.
- ↑ "ทนายดังมอบตัวสู้คดีทำผิด พ.ร.บ. ออกเสียงประชามติ". Matichon Online. Bangkok: มติชน. 2016-07-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 2016-07-17.
- ↑ "Thai Senate to be appointed at junta's behest". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2018-11-30). "Parties Fume Over New 'Gerrymandered' Electoral Map". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut counts on his allies". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "PM defies efforts to oust him from office". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-05-08.
- ↑ Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2021-12-30). "Prawit Says He's Willing to Serve With Prayut Till '2027'". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2021-12-29). "ฝ่าย ก.ม. ชี้วาระ 8 ปี 'ประยุทธ์' ลากยาวได้ถึงปี 2570". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18.
- ↑ Thailand's New Electoral System Thai Data Points
- ↑ Thongnoi, Jitsiree; Jaipragas, Bhavan (22 March 2019). "Thai election a battle royale for junta's Prayuth and the Shinawatras". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 "อธิบายความต่างการเลือกตั้งบัตร 2 ใบ ที่สภาเพิ่งเห็นชอบผ่าน 3 วาระรวด". pptvhd36.com.
- ↑ "Thai Parliament passes election changes favouring ruling party". The Business Times (ภาษาอังกฤษ). 10 September 2021. สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
- ↑ "สูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์ : สภาล่มตามคาด ปิดม่านสูตรหาร 500 กลับไปใช้สูตรหาร 100". BBC News ไทย. 15 August 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2022.
- ↑ "เปิดโมเดลรวมพรรคชพน.-กล้าเสริมจุดแข็งเศรษฐกิจ-สร้างกระแสปาร์ตี้ลิสต์". bangkokbiznews. 2022-09-02.
- ↑ "2 ส.กากี่นั้ง "สมคิด-สุดารัตน์" ลงตัวแบรนด์ใหม่ "สร้างไทย"". mgronline.com. 2023-01-07.
- ↑ "ไม่ได้ควบรวม 2 พรรค "สมคิด-สุดารัตน์" แถลงแค่จับมือเป็นพันธมิตรกัน". www.thairath.co.th. 2022-12-29.
- ↑ ""บัญญัติ" วิเคราะห์การเมืองไทย ฟันธงเลือกตั้งปี 66 ใช้เงินสู้เต็มรูปแบบ". โพสต์ทูเดย์. 3 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ "ราชกิจจา ประกาศแล้ว! กฎหมายเลือกตั้ง 2 ฉบับ". pptvhd36.com.
- ↑ "ด่วน! มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กฎหมายลูกเกี่ยวกับเลือกตั้ง 2 ฉบับแล้ว". thansettakij. 2023-01-28.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ กฎหมายเลือกตั้ง – พรรคการเมือง ให้มีผลบังคับหลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา". workpointTODAY.
- ↑ "นับถอยหลัง45วัน วัดใจนายกฯประยุทธ์ จะยุบสภาหรืออยู่ครบเทอม". posttoday. 2023-01-29.
- ↑ "กกต.ไฟเขียวรัฐบาล"ยุบสภา"ได้ คาดตั้งแต่ 15 มี.ค.ไร้ปัญหา". thansettakij. 2023-01-28.
- ↑ "เปิดจำนวน ส.ส. 400 เขตเลือกตั้งใหม่ กทม.ยังมากสุด 33 คน". workpointTODAY.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔ (PDF), vol. 110/8 ก, ราชกิจจานุเบกษา, 31 มกราคม 2023, pp. 31–35, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-04, สืบค้นเมื่อ 2023-03-03
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-08). "กกต.ยันไม่ยื่นศาลรธน. ตีความปมแบ่งเขตนับรวมต่างด้าว". thansettakij.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ศาลรธน. ชี้ขาดสูตรคำนวณส.ส.เขต ไม่นับรวมต่างด้าว". pptvhd36.com.
- ↑ 45.0 45.1 "เช็กที่นี่! กกต.คำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง 66 ใหม่ 8 จังหวัด ส.ส.เพิ่ม - ลด". bangkokbiznews. 2023-03-03.
- ↑ 46.0 46.1 "กกต.ประกาศจำนวน ส.ส.ใหม่ หลังตัดต่างด้าว กทม.มากสุด 33 โคราช รองมา 16 ภาคอีสานแยะสุด 133". mgronline.com. 2023-03-03.
- ↑ "เช็กเลย! รวมไว้แล้ว ปาร์ตี้ลิสต์พรรคไหนเบอร์อะไร". mgronline.com. 2023-04-04.
- ↑ "กกต.เปิดยอดสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์วันแรก 54 พรรค 1,670 คน เสนอแคนดิเดตนายกฯ 35 รายชื่อ". mgronline.com. 2023-04-04.
- ↑ "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
- ↑ "ปชป. สั่งทุกเขตเลือกตั้ง ติดป้าย "สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ" ทั่วประเทศ". www.thairath.co.th. 2022-12-30.
- ↑ "ไม่ต้องเหนียม"เลือกตั้ง66" รวมไทยสร้างชาติปล่อยภาพ"นายกฯประยุทธ์"รัวๆ". Nation Multimedia Group Public Company Limited. 2023-01-04.
- ↑ matichon (2022-12-10). "ครูใหญ่ ปักป้าย ประกาศตัวลง ส.ส.ขอนแก่น ให้พรรคก้าวไกล". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ทุบสถิติ ส.ส.ลาออก ทิ้งเก้าอี้แล้ว 36 คน สภาฯ เหลือส.ส.แค่ 442 คน". workpointTODAY.
- ↑ "ฝ่ายค้านเปิดยุทธการ "ถอดหน้ากากคนดี" ยื่นซักฟอก 'ประยุทธ์-ครม.' แบบไม่ลงมติ". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ "รัฐพร้อมรับมือ "ซักฟอก" 15 ก.พ.เป็นต้นไป เตรียม 40 ประเด็นโต้ฝ่ายค้าน". ฐานเศรษฐกิจ. 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ "ข่าวลึกปมลับ : บิ๊กตู่ลุยเต็มสูบ เปิดคิวยุบสภา". mgronline.com. 2023-01-10.
- ↑ "ฝ่ายค้าน ดักคออย่าชิง 'ยุบสภาฯ' หนีก่อน สภาฯ คาดเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล ต้นเดือน ก.พ.นี้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ (2023-01-19). "ตี ป.ปลาหน้าไซ แก้ รธน.นายกฯ อยู่เกิน 8 ปี ยุบสภาหนี 'ซักฟอก'". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ "'ทักษิณ' เชื่อ 'ประยุทธ์' ไม่กล้ายุบสภา! เพราะ 'รทสช.' ยังไม่พร้อม!". www.thebangkokinsight.com. 2023-02-08.
- ↑ ""บิ๊กตู่" พูดชัดยุบสภาต้นเดือนมีนาคม วันกาบัตร 7 พฤษภาคม 2566 (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-02-22.
- ↑ isranews (2023-01-12). "'ณัฐวุฒิ' ประกาศพบเวทีใหญ่พท. 15 ม.ค. ที่อุดร จวก 'รทสช.' เป็นเหล้าเก่าในขวดแตก". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ "สว.แบไต๋ เสนอ'แก้รัฐธรรมนูญ'ปลดล็อกนายกฯ8ปี". คมชัดลึกออนไลน์. 13 January 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-01-13). "'ดิเรกฤทธิ์' แตะเบรกปลดล็อกวาระ 8 ปี 'ประยุทธ์' แค่ความเห็นบางคน ไม่ใช่ ส.ว. ทั้งหมด". VoiceTV.
- ↑ "แถลงการณ์ 'เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566' ขอ ปชช.จับตา-รบ.คุ้มครองเสรีภาพ". The MATTER. 11 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "ตะวัน แบม : การอดอาหารประท้วงระลอก 3 ของนักกิจกรรมคดีหมิ่นสถาบันฯ". BBC News ไทย. 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "พรรคร่วมฝ่ายค้าน ออกแถลงการณ์กรณี แบม-ตะวัน อดอาหารแลกอิสรภาพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 January 2023. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "'ราษฎร' ร้อง 'เพื่อไทย' รับ 3 ข้อ #แบมตะวัน แกนนำพรรครับฟัง ชี้แก้ ม.116 ทำได้ ยันต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 1 February 2023.
- ↑ "'แบ่งเขตเลือกตั้ง' เสี่ยงทำให้ 'การเลือกตั้งเป็นโมฆะ'". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-02-09.
- ↑ "'ก้าวไกล' หวั่นความไม่ชัดเจน ปมแบ่งเขตอาจนำไปสู่เลือกตั้งโมฆะ หากผลออกมาไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ". prachatai.com.
- ↑ ""ชัยธวัช" หวั่นปมคำนวณราษฎร สร้างอภินิหารทางกฎหมาย ทำเลือกตั้ง 66 โมฆะ". bangkokbiznews. 2023-02-09.
- ↑ ""โรม" อัด กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง 66 พิสดาร หวั่นเปิดช่องร้องศาลตีความ". bangkokbiznews. 2023-02-10.
- ↑ "กกต.ยกคำพูด "อนุพงษ์" ปมคนไม่มีสัญชาติไทยคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง 66". bangkokbiznews. 2023-02-10.
- ↑ "กกต.แจงราษฎรแบ่งเขตไม่นับแรงงานต่างด้าว ซัดคนปูดโง่หรือหวังผลการเมือง". bangkokbiznews. 2023-02-09.
- ↑ 64 (2023-02-07). "อนุพงษ์ ชี้คำนวณราษฎร แบ่งเขตเลือกตั้ง นับต่างด้าว-เด็กต่ำกว่า 18 ด้วย แม้ไร้สิทธิ์เลือก". ข่าวสด.
{{cite web}} : CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
- ↑ ""บิ๊กป๊อก" แจง ครม.นับต่างด้าว-เด็กต่ำ 18 ปี คำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ไม่มีสิทธิลงคะแนน". mgronline.com. 2023-02-07.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ศาลรธน. ชี้ขาดสูตรคำนวณส.ส.เขต ไม่นับรวมต่างด้าว". pptvhd36.com.
- ↑ "ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดคำว่า "ราษฎร" ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย". BBC News ไทย. 2023-03-03.
- ↑ ด่วน พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภา
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-03-20). "โปรดเกล้าฯ ยุบสภาฯ! มีผลแล้ว ย้ำคืนอำนาจประชาชน". VoiceTV.
- ↑ "เลือกตั้ง 66: ยุบสภาโค้งสุดท้าย ไม่ใช่การคืนอำนาจ แต่เป็นการ "ยื้อเวลา" ให้เลือกตั้งช้าลง". ilaw.ot.th - เลือกตั้ง 66: ยุบสภาโค้งสุดท้าย ไม่ใช่การคืนอำนาจ แต่เป็นการ "ยื้อเวลา" ให้เลือกตั้งช้าลง.
- ↑ "ด่วน! กกต.เคาะเลือกตั้ง 14 พ.ค. 66 เตรียมชง ครม.รับทราบ". ฐานเศรษฐกิจ. 2023-03-21. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
{{cite news}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้ายุบสภาแล้ว". BBC News ไทย. 2023-03-20.
- ↑ 'รวมไทยสร้างชาติ' ปราศรัย กทม. 'พีระพันธุ์' ลั่นจัดการพวกชังชาติ
- ↑ "เลือกตั้ง 66: จุดยืนมาตรา 112 ของพรรคการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-12. สืบค้นเมื่อ 2023-04-12.
- ↑ 'ส.ว.ธานี' เคลื่อนไหวแล้ว ร่อนเอกสารแจงปมคดีฉาว 'ส.ต.ท.หญิง' ขู่สื่อระวังโดนฟ้อง
- ↑ สรุปเหตุการณ์ “ตำรวจหญิงเมีย ส.ว.” ทำร้ายอดีตทหารรับใช้
- ↑ เลือกตั้ง 2566 : ถอดรหัสคลิป รทสช. การต่อสู้เฮือกสุดท้ายของ "อนุรักษนิยมฮาร์ดคอร์"
- ↑ ""ตี๋ใหญ่" ส.ส.เพื่อไทยหัวใจวายเสียชีวิตกะทันหัน". Thai PBS.
- ↑ "'ทนายเคน' ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ก้าวไกล ถูกรถชนเสียชีวิต กับปริศนาการตายที่ยังต้องค้นหาคำตอบ". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ ""ธีระทัศน์ เตียวเจริญ" ผู้สมัคร ส.ส.สุรินทร์ "รทสช." อดีตส.ส. 3 สมัย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง". mgronline.com. 2023-04-22.
- ↑ "ชาวเน็ตทัวร์ลงกองทัพบก ปล่อยคลิปเพลงหนักแผ่นดินช่วงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-05-05.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ทบ.ปล่อยเพลง"หนักแผ่นดิน" ช่วงหาเสียงโค้งสุดท้าย ชาวเน็ตแห่คอมเมนต์". พีพีทีวีออนไลน์. 2023-05-05.
- ↑ "สื่อถึงใคร? " ทภ2".ปล่อยคลิป "ทหารมีไว้ทำไม" ก่อนเลือกตั้ง". กรุงเทพธุรกิจ. 2023-05-08.
- ↑ "ทัพภาค 2 ปล่อยเพลงแร็พ 'ทหารมีไว้ทำไม' พ้อคนบางกลุ่มไม่เห็นค่า ยกพระราชดำรัส ร.9 ให้กำลังใจตัวเอง". ประชาไท. 2023-05-08.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ผบ.ทบ.ลบคำว่า "ปฏิวัติ" ออกจากพจนานุกรมกองทัพ ชวนกำลังพลออกไปใช้สิทธิ". พีพีทีวี. 2023-05-11.
- ↑ "กองทัพภาคที่ 4 สั่งลงทัณฑ์ทางวินัยกำลังพลประพฤติตนไม่เหมาะสมทางการเมือง". ไทยโพสต์. 2023-05-11.
- ↑ "ทัพภาค 4 สั่งเด้ง-จำขัง 30 วัน 'ทหารช่าง' โพสต์ในกลุ่มไลน์ โน้มน้าวให้เลือกบางพรรค". มติชน. 2023-05-11.
- ↑ แสนสิริ ตั้ง “เศรษฐา” นั่งควบ CEO รับไม้ต่อ “อภิชาติ จูตระกูล”
- ↑ 99.0 99.1 "เลือกตั้งล่วงหน้าวุ่น ก้าวไกล จี้ กกต. รับผิดชอบ ไม่ใช่ถามกลับจะให้แก้อย่างไร". ไทยรัฐ. 2023-05-07.
- ↑ "สรุปดราม่า เลือกตั้งล่วงหน้า #กกตมีไว้ทําไม หลังทัวร์ลง-ล่าชื่อถอดถอนวุ่น". Thaiger. 2023-05-08.
- ↑ "ชัชชาติ ส่งลิ้งก์ให้ประชาชนทั่วไป ช่วยกันเป็นหูตา 'ห้องเก็บบัตรเลือกตั้ง' แบบเรียลไทม์". ข่าวสด. 2023-05-06.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ชัชชาติเปิดห้อง CCTV จุดเก็บหีบบัตรเลือกตั้ง 33 จุดทั่วกรุง สร้างความมั่นใจ พร้อมให้ประชาชนดูถ่ายทอดสด". The Standard. 2023-05-06.
- ↑ "มาแล้ว! ลิงก์จับตา 'หีบเลือกตั้ง' ของชัชชาติ คลิกส่อง 'ห้องเก็บบัตร' ได้แบบเรียลไทม์". มติชน. 2023-05-06.
- ↑ "แค่เริ่มก็วุ่นแล้ว จุดเลือกตั้งล่วงหน้ากลางเมือง ระบบคิวอาร์โค้ดล่ม ตั้งแต่เปิดหีบ". ข่าวสด. 2023-05-07.
- ↑ "นนทบุรี นนทบุรีเลือกตั้งล่วงหน้าวุ่น หลังคณะกรรมการประจำหน่วยเขียน หน่วยการเลือกตั้งผิดเขต". ข่าวเด็ด. 2023-05-07.
- ↑ 106.0 106.1 "#กกตมีไว้ทําไม ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ โวยปัญหาจัดเลือกตั้งล่วงหน้า". ประชาไท. 2023-05-08.
- ↑ "กกต.โต้พบซองบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า หมื่นซองที่อ่านไม่ออกไม่ใช่ 3 แสน คัดแยกได้ส่งปลายทางแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-05-12.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : ไปรษณีย์ไทย แจงปมซองบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าอ่านยาก". พีพีทีวี. 2023-05-12.
- ↑ "'ปณท.'พบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 300,000 ซอง'อ่านไม่ออก' ส่งกกต.วินิจฉัย". แนวหน้า. 2023-05-12.
- ↑ "กกต.รณรงค์เลือกตั้ง 66 ผ่าน TikTok ย้ำไม่รายงานผลเรียลไทม์". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2023-02-24.
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : องค์กรสื่อจับมือเครือข่าย รายงานผลเลือกตั้งภาคประชาชน". พีพีทีวี. 2023-05-09.
- ↑ "เลือกตั้งใหม่ กกต. กำหนดวันลงคะแนนหน่วย 10 เขต 1 นครปฐม ดีเดย์ 21 พ.ค. นี้". เดลินิวส์. 2023-05-19.
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง2566 : หน่วย 10 เขต 1 นครปฐม "ก้าวไกล" นำ-ไม่มีผลต่อเก้าอี้ ส.ส.เขต". Thai PBS.
- ↑ "รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ. 2566 อย่างเป็นทางการ". ECT Report.
- ↑ "กกต. รายงานผลเลือกตั้งครบ 400 เขต ปชป. เหลือ 24 ส.ส. ทำจุรินทร์ตกคุณสมบัติเป็นนายกฯ". BBC News ไทย. 2023-05-19.
- ↑ เช็กที่นี่! รายชื่อว่าที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล รวม 151 คน
- ↑ "Thailand elections: Voters deliver stunning win for reform". BBC News. 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 15 May 2023.
- ↑ Ratcliffe, Rebecca (15 May 2023). "Thailand election 2023: opposition delivers crushing blow to military rule". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 May 2023.
- ↑ "เลือกตั้ง2566 : "พิธา" นำ 8 พรรคแถลงร่วมตั้งรัฐบาล 313 เสียง มั่นใจโหวตผ่านนายกฯ". Thai PBS.
- ↑ ""พิธา" นำ 8 พรรคการเมือง ลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล 313 เสียงแล้ว (คลิป)". ไทยรัฐ. 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-06-03.
{{cite news}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "ฉีก MOU แยกทางก้าวไกล เพื่อไทยตั้งรัฐบาลผสมขัวเก่า เสนอ "เศรษฐา" เป็นนายกฯ (คลิป)". ไทยรัฐ. 3 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2023.
- ↑ "เพื่อไทยปิดดีล 315 เสียง พรรค 2 ลุงมาครบ เปิดสูตรแบ่งเค้กเก้าอี้ รมต". ประชาชาติธุรกิจ. 11 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2023.
- ↑ "วิเคราะห์ : ผลเลือกตั้ง 2566 ปิดฉาก "ระบอบประยุทธ์" ?". BBC News ไทย. 2023-05-15.
- ↑ "เพื่อไทยหยุดสถิติ "พรรคที่ไม่เคยแพ้" ตกที่นั่งพรรคอันดับ 2 ในรอบ 22 ปี". BBC News ไทย. 2023-05-15.
- ↑ พลทหารปฏิวัติ?ทำไม?เขตทหารสีส้ม สัญญาณปฏิรูปกองทัพ-เลิกเกณฑ์ทหาร จับตาคอเขียว-คอแดง-นายร้อยจปร., สืบค้นเมื่อ 2023-05-17
- ↑ "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.
- ↑ "ทีมโฆษกปชป. โต้ ผู้สมัคร ก้าวไกล หลังดึง "สากล ม่วงศิริ" โยงเกี่ยวเฟคนิวส์". theroom44channel.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "เดชอิศม์ เฮ! กกต.สงขลายกคำร้อง ปมผู้สมัคร รทสช. กล่าวหาทำผิด พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส." matichon.co.th.
- ↑ "กกต.ยื่นศาลฟันใบดำ-ใบแดง 'รัชนี พลซื่อ' ส.ส.ร้อยเอ็ด พปชร. ทุจริตเลือกตั้งซ่อมนายกอบจ". matichon.co.th. 2024-03-18.
- ↑ "เอาคืน! "อนุรักษ์" ยื่นสอบ "ศักดิ์ดา" ปมส่อทุจริตบ่อบาดาล". Thai PBS.
- ↑ "ศาลยกฟ้อง "ศักดิ์ดา" อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรณีถูกนายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ยื่นฟ้องเรียกรับเงิน". mgronline.com. 2024-05-08.
- ↑ ""มดดำ-มดเล็ก" รอด กกต.ตีตกคำร้องใช้อาชีพพิธีกรหาเสียง". Thai PBS.
- ↑ "กกต.สั่งเอาผิดอาญา "พัฒนา" สส.สกลนคร โพสต์หาเสียงเกินเวลา". Thai PBS.
- ↑ "กกต. สั่งยกคำร้อง "ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน" สส.ภูมิใจไทย". thansettakij. 2023-12-22.
- ↑ "ใบแดงแรก "มุกดาวรรณ" ส.ส.ภูมิใจไทย นครศรีฯ ชงศาลตัดสิทธิฯ-จ่ายค่าเลือกตั้งใหม่". mgronline.com. 2024-01-12.
- ↑ "วันนอร์ แจ้ง 'ศาลฎีกา' สั่ง 'มุกดาวรรณ' หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำสภาฯ เหลือสมาชิก 499 คน". matichon.co.th.
- ↑ "ด่วน! ส.ส.ภูมิใจไทย เจอกกต.งัดใบดำ-ใบแดง แจกรายที่สองแล้ว ชงศาลฟันโทษหนัก". matichon.co.th. 2024-05-13.
- ↑ M, Sirikanya. "'สภา'เหลือ สส.ปฏิบัติหน้าที่492คน หลัง สส.บึงกาฬ พรรคภูมิใจไทย โดนพักงาน". เดลินิวส์.
- ↑ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ 'เพื่อไทย' ร้อง กกต. สอบหัวคะแนน ภท.ซื้อเสียง
- ↑ "สุดจะโปร่งใส !! กกต.ยกคำร้องคดีฉาว ซื้อเสียงพิจิตร อดีตผู้สมัครก้าวไกลถึงกับอึ้ง". matichon.co.th. 2023-12-03.
- ↑ ข่าวแจ้งความ อ้างถูกว่าที่ สส.ทำร้ายร่างกาย จ.อำนาจเจริญ, สืบค้นเมื่อ 2024-03-16
- ↑ "กกต.แจกใบแดง "เกศกานดา" ผู้สมัคร สส.ปชป.แจกเงินซื้อเสียง". Thai PBS.
- ↑ "กกต.แจก ใบแดง-ใบดำ "พรวิศิษฐ์" ผู้สมัคร สส.นครสวรรค์ พปชร. แจกเงินซื้อเสียง". www.thairath.co.th. 2024-02-08.
- ↑ ""ภูมิใจไทย"โดนอีก กกต.ฟันใบแดง-ใบดำ "สมชาย ภิญโญ" ผู้สมัคร ส.ส.โคราช เขต 6". thansettakij. 2024-01-19.
- ↑ "กกต. แจกใบดำ-ใบแดง "สมชาย เล่งหลัก" ผู้สมัคร สส.ภูมิใจไทย ฐานซื้อเสียง". www.thairath.co.th. 2024-05-01.
- ↑ "ศาลฎีกา พิพากษาตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง "สมชาย เล่งหลัก" 10 ปี". www.thairath.co.th. 2024-09-23.
|
---|
ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2475–2516 |
---|
|
| ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2516–2544 |
---|
|
| ลำดับเหตุการณ์กราฟิก พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน |
---|
ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน แถวแรก: = รัฐประหาร (คลิกเพื่อดูบทความ), การเลือกตั้งทั่วไป (คลิกเพื่อดูบทความ); แถวสอง: รายชื่อนายกรัฐมนตรี; แถวสาม: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่)
นายกรัฐมนตรีจากรัฐประหาร |
| |
---|
| | ตัวเอียง หมายถึง ฉบับชั่วคราว |
|
| | เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง |
---|
|
|
|
---|
พ.ศ. 2475–2516 | |
---|
พ.ศ. 2516–2544 | |
---|
พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน | |
---|
ในวงเล็บ (ร) คือนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหาร |
|