สถานีเสนาร่วม
สถานีเสนาร่วม (อังกฤษ: Sena Ruam Station, รหัส N6) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้าง ในเส้นทางสายสุขุมวิท มีการกำหนดตำแหน่งสถานีซึ่งจะยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน ปากซอยพหลโยธิน 9 (ซอยสีฟ้า) ในพื้นที่เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งโครงการกำหนดที่ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน บริเวณปากซอยพหลโยธิน 9 (ซอยสีฟ้า) ด้านหน้าโรงพยาบาลประสานมิตร อาคารอีเอสวี และอาคารเอไอเอส ทาวเวอร์ 2 ในพื้นที่ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประวัติโครงการตั้งแต่แรกเริ่ม สถานีเสนาร่วมเป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลประสานมิตร ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างโครงการบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุนเช่นเดียวกับสถานีศึกษาวิทยาในระยะแรก บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม[1] อย่างไรก็ดีในคราวการเจรจาสัญญาสัมปทานฉบับใหม่เมื่อ พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานครได้ยื่นข้อเสนอให้บีทีเอสซีทบทวนการก่อสร้างสถานีเสนาร่วมอีกหนึ่งแห่ง จากที่บีทีเอสซีกำลังก่อสร้างสถานีศึกษาวิทยาในขณะนั้น (สถานีเซนต์หลุยส์ในปัจจุบัน) เมื่อบีทีเอสซีได้ศึกษาและพบว่าปัจจุบันย่านดังกล่าวมีการเติบโตไปไกลกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งการเติบโตของย่านธุรกิจถนนพหลโยธิน อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านค้าร้านอาหารระดับสูง คอนโดมิเนียม ตลอดจนมีโครงการใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บีทีเอสซีฟื้นฟูแผนการก่อสร้างสถานีขึ้นอีกครั้ง เพื่อรองรับการเติบโตของย่านดังกล่าว[2] ปัจจุบันโครงการได้พักดำเนินการไม่มีกำหนดเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับสัญญาสัมปทานส่วนหลักใกล้หมด โดยบีทีเอสซีจะโอนถ่ายงานออกแบบที่สำเร็จให้กรุงเทพมหานคร (หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนโครงการจากรัฐบาล) เพื่อนำไปดำเนินการจริงต่อไป แผนผังสถานี
รูปแบบสถานีโครงสร้างสถานีเสนาร่วม จะมีรูปแบบสถานีคล้ายสถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท มีลิฟต์รับรองผู้พิการทั้งหมด 4 ตัว บันไดเลื่อน ฝั่งละ 2 ตัว ชานชาลาเป็นแบบ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด สิ่งอำนวยความสะดวก
อ้างอิง
|