สิงห์ชัย ทนินซ้อน (16 มกราคม พ.ศ. 2500) เป็นอัยการสูงสุด คนที่ 16[1] กรรมการเนติบัณฑิตยสภา[2] และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยบูรพา[3]
ประวัติ
สิงห์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500
ที่ตำบลบ้านชุ้ง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ และนางวรรณี ทนินซ้อน สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย ผ่านการอบรมหลักสูตรที่สำคัญ เช่น หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 8 วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ นักบริหารกระบวนการยุติธรรมชั้นสูง รุ่นที่ 22 จากวิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง รุ่นที่ 4 สำนักงาน ป.ป.ช.
การทำงาน
สิงห์ชัย เริ่มรับราชการที่สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522[4] เคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดีอัยการสำนักงานชี้ขาดอัยการสูงสุด[5] รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา[6] รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร[7] อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอัยการสูงสุด[8] อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา[9] รองอัยการสูงสุด[10] และเป็นอัยการสูงสุดในที่สุด[11]
นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการและกรรมการเนติบัณฑิตยสภา[2] และกรรมการในสภามหาวิทยาลัยบูรพา[12] อีกด้วย
ชีวิตส่วนตัว
สิงห์ชัย สมรสกับปรียานุช ทนินซ้อน มีบุตร 1 คน คือ ปัทมพร ทนินซ้อน[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "มติวุฒิฯ เห็นชอบ "สิงห์ชัย ทนินซ้อน" ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด". MGR Online. ผู้จัดการออนไลน์. 31 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2565.
- ↑ 2.0 2.1 "กรรมการเนติบัณฑิตยสภา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
- ↑ ประวัติผู้ที่ขอให้นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยบูรพา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "โปรดเกล้าฯ"สิงห์ชัย ทนินซ้อน"นั่ง"อสส." คนที่ 16". bangkokbiznews. กรุงเทพธุรกิจ. 16 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๔๐ ง หน้า ๘, ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๙๐ ง หน้า ๑๒, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๐ ง หน้า ๘, ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๕ ง หน้า ๑๖, ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๔๒ ง หน้า ๔, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง หน้า ๔, ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศวุฒิสภา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๒๐ ง หน้า ๔๕, ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยบูรพา เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง หน้า ๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ รายงานของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๕๒, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘