หนูตะเภา
หนูตะเภา (อังกฤษ: Guinea pig, Cavy, ชื่อวิทยาศาสตร์: Cavia porcellus) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทฟันแทะ ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู เป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลองที่ได้รับความนิยม ในประเทศไทย ยังนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนูแกสบี โดยมักใช้กับสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนา มีลักษณะภายนอกแตกต่างจากหนูตะเภาทั่วไปที่มีในประเทศไทย ไม่ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในภาษาอื่น นิรุกติศาสตร์ในภาษาอังกฤษ เรียก หนูตะเภา ว่า หมู อาจมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น
เควี่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะเรียกหนูตะเภาว่าเควี่ ซึ่งเป็นชื่อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด เพราะมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ว่า cavus มาจากคำว่า "ถ้ำ" (Cave) เพราะสัตว์ประเภทนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือโพรง อีกอย่างคือคำว่าเควี่สั้นและเรียกง่ายกว่าหนูตะเภา จริงๆแล้ว ในประเทศทางแถบยุโรปจะเรียกหนูตะเภาว่าหนูเควี่ ซึ่งเป็นชื่อสากล ที่ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ส่วนคำว่าเควี่จะนิยมใช้ใน อเมริกา[1] แกสบี้แกสบี้ที่คนเรานิยมเรียกกันเป็นการเรียกชื่อผิด ๆ มาตั้งแต่เริ่มแรก เริ่มจากผู้ขายเรียกว่า แกสบี้ ด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ได้เรียกหนูชนิดนี้ว่าหนูแกสบี้ จากนั้นเป็นต้นมาคนไทยก็จะรู้จักหนูเควี่กันในชื่อที่เรียกว่า "แกสบี้ " ต่อมาเมื่อมีคนสนใจศึกษารายละอียดจากตำราภาษาต่างประเทศ จึงรู้ว่าชื่อที่ถูกต้องของหนูแกสบี้ คือ เควี่ หรือ หนูตะเภา[1] ตะเภาส่วนชื่อที่เรียกกันในภาษาไทยว่า หนูตะเภา สันนิษฐานว่า ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยชาวจีนโดยผ่าน เรือสำเภา หรือ เรือตะเภา นั่นเอง[2] ประวัติมีการค้นพบซากโครงกระดูกเมื่อปี ค.ศ. 2000 ว่าบรรพบุรุษของหนูตะเภา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phoberomys pattersoni เป็นสัตว์ฟันแทะตัวขนาดเท่าควาย และมีน้ำหนักถึง 1,500 ปอนด์ (680 กิโลกรัม) มีอายุกว่า 8 ล้านปีมาแล้ว ที่ทวีปอเมริกาใต้ จนได้รับฉายาว่า "กินนี่-ซิลล่า"[3] หนูตะเภา เปลี่ยนสถานะจากสัตว์ป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงระหว่าง 9,000-3,000 ปีก่อนคริสตกาล เพื่อใช้รับประทานของชาวอินคา ชนพื้นเมืองแถบเทือกเขาแอนดีส หนูตะเภา ถูกนำเข้าไปยังยุโรปโดยชาวสเปนและชาวดัตช์เมื่อกว่า 300 ปีแล้ว ขณะเข้าไปปกครองอเมริกาใต้ และนับจากนั้นมาหนูตะเภาก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง มีการคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะเฉพาะ และสีสันใหม่ ๆ เพื่อการประกวดมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างและหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 หนูตะเภาเป็นที่นิยมมากในเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงของยุโรป แม้กระทั่งสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ก็ยังทรงเลี้ยงไว้ดูเล่น[1] ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษก็ได้อพยพมายังสหรัฐอเมริกา และได้นำเอาหนูตะเภาที่ได้เพาะพันธุ์และมีพัฒนาจนมีความสวยงาม ย้อนกลับเข้าไปในทวีปอเมริกาเหนือ จนเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ มาจนปัจจุบัน โดยได้มีการจัดตั้งสมาคมของผู้เลี้ยงหนูตะเภาขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ที่รู้จักกันดีในนามของ สมาคมผู้เพาะพันธุ์เควี่แห่งอเมริกา (American Cavy Breeders Association หรือ ACBA) เพื่อควบคุมดูแลเรื่องเกี่ยวกับหนูตะเภาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นสาขาหนึ่งที่แตกออกมาจากสมาคมผู้เพาะพันธุ์กระต่ายแห่งอเมริกา (American Rabbit Breeders Association Inc.) ทุกวันนี้หนูตะเภาได้รับความนิยมและแพร่กระจายไปทั่วโลก[1] ชาวพื้นเมืองอินคาในอเมริกาใต้ นำหนูตะเภามาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เนื้อของมันเป็นอาหารเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา[1]มานานกว่า 5,000 ปีแล้ว ปัจจุบันชาวเปรูบริโภคหนูตะเภามากถึง 22 ล้านตัวต่อปี เพราะเนื้อหนูตะเภามีโปรตีนมากกว่าและไขมันน้อยกว่าเนื้อหมูหรือไก่ [4] สายพันธุ์ของหนูตะเภาพันธุ์ขนสั้นShort Hair หรือ American บางคนจะเรียกว่า American Short Hair หรือ English Short Hair คือขนสั้นตรงไม่มีขวัญ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น Self หรือ Non-Self เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากกที่สุดในสหรัฐอเมริกาจมูกกลม ขนจะสั้นแต่อ่อนนุ่ม พันธุ์ short hair Crest คือขวัญ ลักษณะจะเหมือนกับ American Short Hair แต่จะมีขวัญบนหัว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
Abyssinion นี้เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่าเป็นพันธุ์ที่ฉลาดที่สุดในทุกพันธุ์ และจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นๆอย่างชัดเจนคือมีขวัญเต็มไปหมดทั้งตัว โดยจะมีขวัญ 2 ขวัญอยู่บนไหล่ ข้างละขวัญ มีอีก 4 ขวัญอยู่บนหลัง มี 2 ขวัญอยู่บนตะโพก และ อีก 2 ขวัญอยู่ด้านหลังสุด พันธุ์อะบิสสิเนี่ยนที่สวยขวัญจะไม่สะเปะสะปะ จะเรียงเป็นระเบียบ ขนจะหยาบแต่หนา ขนจะยาวประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง แต่เมืองไทยเราไม่นิยมเลี้ยง เพราะคล้ายหนูผสม หรือหนูขวัญ Teddy เป็นหนูตะเภาที่มีขนหนา แต่สั้นประมาณ 3/4 นิ้ว และขนจะหยิกเล็กน้อย ซึ่งเท็ดดี้จะมีขนแบ่งเป็น 2 ประเภท แบบแรกขนจะเป็นกำมะหยี่ ซึ่งจะนุ่ม แบบที่ 2 ขนจะหยาบ Rex มีลักษณะคล้ายกับ Teddy แต่ขนจะหยิกและสั้น พันธุ์ขนยาว
Peruvian แต่ก่อนเรียกว่า แองโกล่า จะมีขวัญอยู่ที่บั้นท้าย 2 ขวัญ เมื่อโตแล้ว สายพันธุ์นี้จะมีขนยาวปกคลุมจนถึงพื้น ขนจะขึ้นไล่จากกลางหลัง ลงไปคลุมจนถึงพื้น ขนจะนุ่มและหนา พันธุ์นี้จะเป็นที่นิยมมากในบ้านเรา Coronet จะมีขวัญ 1 ขวัญบนหน้าผาก ไม่ควรจะมีขวัญที่อื่นอีกเลย จะนิยมเลือกที่หน้าใหญ่ ไม่แหลม และก็โครงสร้างไหล่ควรจะกว้าง Silkie ดูคล้ายโคโรเนต แต่จะไม่มีขวัญเลย ในประเทศอังกฤษจะเรียกว่า Sheltie ที่เรียกว่าซิลกี้ก็เพราะขนที่ยาวจะลื่นนุ่มมันวาวคล้ายไหม ขนของเค้าจะขึ้นจากจมูกย้อนไปทางด้านหลัง และตกลงด้านข้างในลักษณะหยดคล้ายกับหยดน้ำ ถ้าเป็นซิลกี้ซาติน ขนจะหนาเป็นมันวาวเหมือนซิลกี้ แต่เป็นมันเงาแวววาวกว่า
Texel เหมือนกับเป็น Silkie ที่ขนหยิก พันธุ์นี้ควรจะไม่มีขวัญ หลายคนกล่าวว่า Texel เป็นพันธุ์ที่หน้าสวยที่สุด Alpaka เหมือนกับเป็น Peruvian ที่ขนหยิก ดังนั้นแนวขนจะต่างจาก Texel และจะมีขวัญอย่างเพรูเวี่ยน จึงไม่นิยมเอามาผสมกับ โคโรเนต Marino เหมือนกับเป็น Coronet ที่ขนหยิก จะมีขวัญบนหัวเหมือนกับโคโรเนต แต่ขนหยิก ความเชื่อเกี่ยวกับหนูตะเภา
อ้างอิงวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ หนูตะเภา |