Share to:

 

หน่วยอนุกรมวิธาน

ช้างแอฟริกาอยู่ในสกุล Loxodonta ซึ่งเป็นแท็กซอนที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

ในชีววิทยา หน่วยอนุกรมวิธาน[1] หรือ แท็กซอน หรือ แท็กซา (เอกพจน์: taxon พหูพจน์: taxa จากคำว่า taxonomy) เป็นกลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตหนึ่งกลุ่มหรือยิ่งกว่าที่นักอนุกรมวิธานพิจารณาว่าเป็นหน่วยเดียวกัน แท็กซอนมักจะมีชื่อเฉพาะและได้รับการจัดลำดับ (rank) โดยเฉพาะเมื่อได้การยอมรับ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องได้ทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตาม นักอนุกรมวิธานมักจะเห็นไม่ตรงกันในเรื่องว่าอะไรควรจะอยู่ในแท็กซอนหนึ่ง ๆ และเรื่องเกณฑ์ที่ใช้รวมสิ่งมีชีวิตเข้าแท็กซอน โดยเฉพาะในบริบทของการตั้งชื่อที่อิงลำดับ เช่น อนุกรมวิธานแบบลิเนียน แม้จะไม่มีปัญหาเท่ากันเมื่อตั้งชื่อที่จำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์[2] หากแท็กซอนหนึ่ง ๆ ได้รับชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ก็จะเป็นไปตามรหัสการตั้งชื่อ (nomenclature codes) ว่าชื่อวิทยาศาสตร์ใดถูกต้องสำหรับกลุ่มนั้น 

คนเก็บของป่าล่าสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์น่าจะเป็นผู้เริ่มจำแนกประเภทและจัดลำดับสิ่งมีชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ ดังที่เห็นในระบบอนุกรมวิธานพื้นบ้านที่ค่อนข้างซับซ้อน หลังจากนั้นอีกนาน อริสโตเติลและต่อจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปหลายคน[3][4] รวมทั้งนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน คอล ฟ็อน ลินเนีย (ในผลงาน Systema Naturae ซึ่งระบุอนุกรมวิธานแบบลิเนียน)[5] ก็ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ในสาขานี้ แนวคิดเรื่องอนุกรมวิธานแบบเป็นหน่วยได้เผยแพร่อย่างแพร่แหลายในผลงาน Flore françoise (1805) ของฌอง-บาปติสต์ ลามาร์ก และ Principes élémentaires de botanique ของ Augustin Pyramus de Candolle ลามาร์กได้วางระบบสำหรับ "การจำแนกประเภทตามธรรมชาติ" ของพืช ตั้งแต่นั้นมา นักจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ก็ยังคงดำรงจำแนกสิ่งมีชีวิตที่หลายหลาก ในปัจจุบัน แท็กซอน "ที่ดี" หรือ "มีประโยชน์" ทั่วไปถือว่าเป็นแท็กซอนที่สะท้อนความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ[A]

นักจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่หลายคน เช่น ผู้สนับสนุนการตั้งชื่อตามสายวิวัฒนาการ (phylogenetic nomenclature) ใช้วิธีการทางแคลดิสติกส์ที่กำหนดให้แท็กซอนต้องเป็น monophyletic (คือเป็นลูกหลานทั้งหมดของบรรพบุรุษบางชนิด) "หน่วย" พื้นฐานของพวกเขาคือ เคลด จึงเทียบเท่ากับแท็กซอน โดยสมมุติว่าแท็กซอนควรสะท้อนความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ในทำนองเดียวกัน ในบรรดานักอนุกรมวิธานร่วมสมัยที่ตั้งชื่อแบบลินเนียน (คือ การตั้งชื่อทวินาม) มีเพียงไม่กี่คนที่เสนอแท็กซอนที่รู้ว่าเป็นแบบ paraphyletic (คือมาจากบรรพบุรุษเดียวกันแต่ก็ไม่รวมลูกหลานทั้งหมด)[6] ตัวอย่างของแท็กซอนที่มีมานานแต่ไม่ใช่เคลดก็คือชั้น "สัตว์เลื้อยคลาน" (Reptilia) เพราะนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจริง ๆ เป็นลูกหลานของสัตว์ที่ปกติจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน แต่ทั้งสองก็ไม่ได้รวมอยู่ใน Reptilia (นกปกติจัดอยู่ในชั้น Ave และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้น Mammalia)[7]

ประวัติ

คำว่า taxon ได้ใช้ครั้งแรกในปี 1926 (โดย Adolf Meyer-Abich) สำหรับกลุ่มสัตว์ โดยมาจากคำว่า taxonomy ส่วนคำว่า taxonomy ได้บัญญัติขึ้นหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านั้นจากคำกรีกโบราณคือ τάξις (táxis) ซึ่งหมายถึง "การจัดเรียง" และ νόμος (nómos) ซึ่งหมายถึง "วิธีการ"[8][9] สำหรับพืช นักพฤษศาสตร์ชาวดัตช์ Herman Johannes Lam ได้เสนอใช้คำนี้ในปี 1948 แล้วได้การยอมรับในงานประชุมพฤกษศาสตร์นานาชาติครั้งที่ 7 ซึ่งจัดในปี 1950[10]

นิยาม

อภิธานศัพท์ของรหัสสากล International Code of Zoological Nomenclature (1999) นิยาม (แปลในที่นี้) ไว้ว่า[11]

  • "taxon, (pl. taxa), n.
หน่วยอนุกรมวิธาน (taxonomic unit) ไม่ว่าจะตั้งชื่อหรือไม่ก็ตาม กล่าวคือ กลุ่มประชากรหนึ่งหรือกลุ่มประชากรหลายกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมักอนุมานว่ามีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ และมีลักษณะร่วมกันซึ่งแยกหน่วยนี้ (เช่น กลุ่มประชากรในภูมิภาค สกุล วงศ์ อันดับ) ออกจากหน่วยอื่น ๆ แท็กซอนจะครอบคลุมแท็กซาที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าและสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวที่รวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด[...]"

ลำดับ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. จริง ๆ ไม่จำเป็น ดังที่พบในศัพท์ระบุกลุ่มที่ไม่เป็น monophyletic (คือมาจากบรรพบุรุษเดียวกันและรวมลูกหลานทั้งหมด) เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สน ปลา

อ้างอิง

  1. "taxon", Longdo Dict, อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน, สืบค้นเมื่อ 2024-08-30, หน่วยอนุกรมวิธาน [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕]
  2. Cantino, Philip D.; de Queiroz, Kevin (2000). International Code of Phylogenetic Nomenclature (PhyloCode): A Phylogenetic Code of Biological Nomenclature (ภาษาอังกฤษ). Boca Raton, Fl: CRC Press. pp. xl + 149. ISBN 0429821352.
  3. Magnol, Petrus (1689). Prodromus historiae generalis plantarum in quo familiae plantarum per tabulas disponuntur (ภาษาละติน). Montpellier: Pech. p. 79.
  4. Tournefort, Joseph Pitton de (1694). Elemens de botanique, ou Methode pour connoître les plantes. I. [Texte.] / . Par Mr Pitton Tournefort... [T. I-III] (ภาษาอังกฤษ). Paris: L’Imprimerie Royale. p. 562.
  5. Quammen, David (June 2007). "A Passion for Order". National Geographic Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-27. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  6. de Queiroz, K; Gauthier, J (1990). "Phylogeny as a Central Principle in Taxonomy: Phylogenetic Definitions of Taxon Names" (PDF). Systematic Zoology. 39 (4): 307–322. doi:10.2307/2992353. JSTOR 2992353.
  7. Romer, A. S. (1970) [1949]. The Vertebrate Body (4th ed.). W.B. Saunders.
  8. Adnet, Sylvain; Senut, Brigitte; Tortosa, Thierry; Amiot, Romain; Claude, Julien; Clausen, Sébastien; Decombeix, Anne-Laure; Fernandez, Vincent; Métais, Grégoire; Meyer-Berthaud, Brigitte; Muller, Serge (2013-09-25). Principes de paléontologie. Dunod. p. 122. ISBN 978-2-10-070313-5. La taxinomie s'enrichit avec l'invenition du mot «taxon» par Adolf Meyer-Abich, naturaliste allemand, dans sa Logik der morphologie, im Rahmen einer Logik der gesamten Biologie (1926) [Translation: Taxonomy is enriched by the invention of the word "taxon" by Adolf Meyer-Abich, German naturalist, in his Logik der morphologie, im Rahmen einer Logik der gesamten Biologie (1926).]
  9. Meyer-Abich, Adolf (1926). Logik der Morphologie im Rahmen einer Logik der gesamten Biologie. Springer-Verlag. p. 127. ISBN 978-3-642-50733-5.
  10. Naik, V. N. (1984). Taxonomy of Angiosperms. New Delhi: Tata McGraw Hill. p. 2.
  11. ICZN (1999) International Code of Zoological Nomenclature. Glossary เก็บถาวร 2005-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . International Commission on Zoological Nomenclature.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya