Share to:

 

หมากรุกญี่ปุ่น

หมากรุกญี่ปุ่น

หมากรุกญี่ปุ่น หรือ โชงิ (ญี่ปุ่น: 将棋โรมาจิshōgi) เป็นหมากรุกชนิดหนึ่งที่เป็นหมากรุกรุ่นที่ 2 ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งกระดานจะเป็นแบบ 9x9 การตั้งหมากจะตั้งในช่องเรียงจากแถวล่างสุดไล่จากด้านซ้ายมือคือ Kyo (หอก) Kei (ม้า) Gin (เงิน) Kin (ทอง) Gyoku (ขุน) Kin Gin Kei Kyo แถวที่ 2 จากด้านซ้ายมือคือ Kaku (บิชอป) Hisha (เรือ) ซึ่งทั้งคู่ตั้งอยู่หน้า Kei แถวที่ 3 เป็นแผง Fu (เบี้ย) 9 ตัว หมากทุกตัวยกเว้นขุนและทองจะสามารถเลื่อนยศได้ เพราะฉะนั้นทุกตัวที่เลื่อนยศได้จะมีอักษร 2 ด้าน

กฎกติกา

ด้านล่างคือการเริ่มต้นวางหมากแบบมาตรฐาน ด้านบนแสดงตัวอย่างการเลื่อนยศของตัวหมาก

ตัวหมาก

ชื่อ ภาพ คันจิ โรมาจิ ความหมาย ตัวย่อ สัญลักษณ์ Betza
ขุน
(ผู้เล่นระดับสูงกว่า)
王將 ōshō กษัตริย์แม่ทัพ K ō K
ขุน
(ผู้เล่นระดับต่ำกว่า)
玉將 gyokushō แม่ทัพหยก K gyoku K
เรือ 飛車 hisha รถบิน R hi R
เรือเลื่อนขั้น
("Dragon")
龍王 ryūō ราชามังกร +R หรือ [a] ryū FR
โคน 角行 kakugyō ไปมุม B kaku B
โคนเลื่อนขั้น
("Horse")
龍馬 ryūma or ryūme ม้ามังกร +B uma WB
ทอง
("Gold")
金將 kinshō แม่ทัพทอง G kin WfF
เงิน
("Silver")
銀將 ginshō แม่ทัพเงิน S gin FfW
เงินเลื่อนขั้น 成銀 narigin เงินเลื่อนขั้น +S (全) WfF
ม้า 桂馬 keima ม้าอบเชย N kei ffN
ม้าเลื่อนขั้น 成桂 narikei อบเชยเลื่อนขั้น +N (圭หรือ今) WfF
หอก 香車 kyōsha รถม้าธูป L kyō fR
หอกเลื่อนขั้น 成香 narikyō ธูปเลื่อนขั้น +L (杏 หรือ 仝) WfF
เบี้ย 歩兵 fuhyō ทหารเดินเท้า P fu fW
เบี้ยเลื่อนขั้น
("tokin")
と金 tokin ไปถึงทอง +P と (หรือ个) to WfF

การเดินและการกิน

  • Gyokushō (Gyoku) ぎょく (ぎょくしょう) (ขุน) เดินได้ 8 ทิศรอบตัว ทีละ 1 ตา
   
The king
   
         
   
   
   
         
  • Hisha (เรือ) ひしゃ เดินตรง 4 ทิศทีละกี่ช่องก็ได้ แต่ห้ามข้ามหมากตัวอื่นเหมือนเรือหมากรุกไทยและรูคของหมากรุกสากล
   
The rook
   
       
       
       
       
  • Kakugyō (บิชอป) かく (かくぎよう) เดินเฉียง 4 ทิศทีละกี่ช่องก็ได้ แต่ห้ามข้ามหมากตัวอื่นเหมือนบิชอปของหมากรุกสากล
   
The bishop
   
     
     
       
     
     
  • Kinshō (ทอง) (きんしょう) เดินได้ 6 ทิศรอบตัว ทีละ 1 ตา แต่ห้ามถอยแบบทแยงมุมทั้ง 2 ทิศ
   
The gold general
   
         
   
   
       
         
   
The silver general
   
         
   
       
     
         
  • Keima (ม้า) けいま เดินเหมือนม้าของหมากรุกชาติอื่น แต่แตกต่างกันอย่างหนึ่งคือ ม้าของหมากรุกญี่ปุ่นสามารถเดินได้เพียง 2 ทิศด้านหน้า ห้ามถอยหรือออกข้าง
   
The knight
   
     
         
       
         
         
  • Kyōsha きょうしゃ (หอก) เดินเหมือนเรือแต่สามารถเดินหน้าได้เท่านั้น ห้ามถอยหรือออกข้าง
   
The lance
   
       
       
       
         
         
  • Fuhyō (เบี้ย) ふひょう เดินได้แค่ข้างหน้าทิศเดียว แต่ไม่กินเฉียงเหมือนหมากรุกไทยหรือหมากรุกสากล (เดินเหมือนจุกของหมากรุกจีน)
   
The pawn
   
         
       
       
         
         

การเลื่อนยศ

การเลื่อนยศหมากนั้นต้อง้ดินเข้าไปใน 3 แถวแรกของฝ่ายตรงข้าม

หมากทุกตัว (ยกเว้น Geoku และ Kin) เลื่อนยศเป็น Kin ได้แบบนี้

  • Gin เป็น Nari-Gin (เงินเอก) เปลี่ยนแนวทางการเดินให้เหมือน Kin
         
   
   
       
         

หรือ

         
   
   
       
         
  • Kei เป็น Nari-Kei (ม้าเอก) เปลี่ยนแนวทางการเดินให้เหมือน Kin
         
   
   
       
         
  • Kyo เป็น Nari-Kyo (หอกเอก) เปลี่ยนแนวทางการเดินให้เหมือน Kin
         
   
   
       
         
  • Fu เป็น To-Kin (เบี้ยเอก) เปลี่ยนแนวทางการเดินให้เหมือน Kin
         
   
   
       
         
   
The promoted silver general
   
The promoted knight
   
The promoted lance
   
The promoted pawn
  • Kaku เป็น Uma (ม้ามังกร) จะเดินเฉียงเพิ่มได้ 4 ทิศทีละช่อง
   
The dragon horse
   
     
   
   
   
     
  • Hisha เป็น Ryu (ราชามังกร) จะเดินตรงเพิ่มได้ 4 ทิศทีละช่อง
   
The dragon king
   
       
   
   
       

จะเห็นว่าเมื่อหมากทั้ง 2 เลื่อนยศก็เปรียบเหมือนกับระดับของควีนของหมากรุกสากลเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นจึงมีการป้องกันอย่างเหนียวแน่นไม่ให้หมากทั้ง 2 ตัวเลื่อนยศได้

กลยุทธ์

  • ขุน ประมุขและหัวใจแห่งกองทัพ ในระยะเปิดและกลางเกมต้องเอาขุนไว้ในที่ปลอดภัย ส่วนในช่วงปิดเกมอาจจะใช้บัญชาการรบได้
  • เรือ แม่ทัพเรือ จู่โจมระยะไกล เรือถือว่าเป็นหมากตัวบุกที่ดีที่สุดของหมากรุกญี่ปุ่น เพราะถ้ากระดานเปิดโล่ง จะมีอานุภาพมาก
  • บิชอป นักบวชยอดขุนพล ร่ายเวทในมุมเฉียง บิชอปเป็นตัวที่สามารถหลบหลีกได้ดี แต่มีข้อเสียคือ คุมพื้นที่ได้เพียงแค่ครึ่งกระดานเท่านั้น
  • ทอง องครักษ์ป้องกันหลัง แต่อำนาจเจาะแนวรับก็ดีเยี่ยม ทองมีหน้าที่ป้องกันขุนในช่วงเปิดและกลางเกม แต่ถ้าในช่วงปิดเกมมีค่ากลับมากกว่าบิชอปที่ยังไม่เลื่อนยศเสียอีก
  • เงิน องครักษ์ช่วยกับทองอีกแรง ทั้งรุกและรับพร้อมสรรพ เงินมีอำนาจหน้าที่คล้ายกับทองและโคนของหมากรุกไทยมาก
  • ม้า พลทหารม้า รวดเร็วกว่าพลทหารแต่เดินหน้าตะลุยได้อย่างเดียว ในเมื่อเดินแล้วถอยหลังไม่ได้การเดินแต่ละครั้งต้องพิจารณาให้ดี แต่ม้าก็ประมาทไม่ได้ ถึงอำนาจจะไม่เท่าม้าหมากรุกอื่น แตก็ขัดขาไม่ได้
  • หอก แม่ทัพหอก พุ่งซัดขึ้นด้านหน้าได้ไม่จำกัด แต่ไม่มีการถอย ในเมื่อเดินแล้วถอยหลังไม่ได้การเดินแต่ละครั้งต้องพิจารณาให้ดี แต่ถ้าเปิดพื้นที่โล่งก็มีโอกาสเลื่อนยศได้เพราะพุ่งถึงในครั้งเดียวอยู่แล้ว แต่นั่นหมายความว่าต้องกำจัดหอกของคู่ต่อสู้เรียบร้อย
  • เบี้ย กองกำลังด่านหน้ากล้าตาย ในเมื่อเดินแล้วถอยหลังไม่ได้การเดินแต่ละครั้งต้องพิจารณาให้ดี แต่ถ้าเบี้ยสามารถเลี่อนยศได้เกมอาจจะพลิกไปเลย เพราะเบี้ยจะสามารถเดินเพิ่มได้อีกถึง 5 ทิศ คือ เลื่อนยศกลายเป็นทอง

จุดหมายแห่งชัยชนะ

  • รุกขุนฝ่ายตรงข้ามจน
  • ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมแพ้
  • หมดเวลา (ถ้ามีการจับเวลา)
  • ตกลงเสมอ
  • การรุกล้อ (สำหรับหมากรุกญี่ปุ่นจะใช้ 4 ครั้ง)
  • นับแต้ม

หมายเหตุ หมากรุกญี่ปุ่นไม่มีการอับ เพราะถึงเดินไม่ได้แต่ก็สามารถเติมหมากได้

การเติมหมาก

การเติมหมากเป็นการนำหมากที่ตายแล้วใส่ลงในกระดาน โดยจะต้องไม่ขัดกฎ 3 ข้อต่อไปนี้ได้แก่

  • ห้ามเติมหมากในที่ที่หมากเดินต่อไม่ได้ เช่น เติมหอกในแถวสุดท้าย
  • ห้ามเติมเบี้ยแล้วรุกคู่ต่อสู้ เช่น ถ้าขุนประจันหน้ากันแล้วขุนของฝ่ายหนึ่งอยู่ติดขอบกระดาน แล้วอีกฝ่ายเติมเบี้ยรุกจนทันที
  • ห้ามเติมเบี้ยถ้าเบี้ยเดียวกันในแถวที่จะเติมหมากยังไม่ได้เลื่อนยศ เช่น เบี้ยตัวหนึ่งอยู่ในแถวที่ 7 แล้วยังไม่ได้เลื่อนยศ แต่เบี้ยแถวที่ 6 เลื่อนยศแล้วเราไม่สามารถเติมเบี้ยในแถวที่ 7 ได้ แต่เราสามารถเติมเบี้ยในแถวที่ 6 ได้ (หนึ่งแถวมีเบี้ยได้หนึ่งตัว)

หมายเหตุ

  1. คันจิ เป็นรูปย่อของ

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Shōgi
Kembali kehalaman sebelumnya