ภาษาญี่ปุ่น (คันจิ : 日本語 ฮิรางานะ : にほんご/にっぽんご[ 1] [ 2] [ 3] โรมาจิ : Nihongo, Nippongo ทับศัพท์ : นิฮงโงะ, นิปปงโงะ, [ɲihoŋŋo, ɲippoŋŋo[ 1] [ 2] ] ⓘ ) เป็นภาษาราชการ ของประเทศญี่ปุ่น โดยพฤตินัย[ 4] [ หมายเหตุ 1] ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ ทั่วโลกประมาณ 125 ล้านคนโดยเป็นผู้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 124 ล้านคน และมีผู้ใช้เป็นภาษาที่สอง ประมาณ 120,000 คน[ 5] นอกจากนี้ รัฐอาเงาร์ สาธารณรัฐปาเลา ยังได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการร่วมกับภาษาปาเลา และภาษาอังกฤษ [ 6] [ หมายเหตุ 2]
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษารูปคำติดต่อ ที่มีลักษณะทางวากยสัมพันธ์ หรือการเรียงลำดับคำในประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (subject-object-verb: SOV) แม้ว่าที่จริงแล้วลำดับคำจะมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่งก็ตาม[ 8] มีโครงสร้างพยางค์ ที่ไม่ซับซ้อนและส่วนใหญ่เป็นพยางค์เปิด (open syllable)[ 9] คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งคำญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า "วาโงะ" (ญี่ปุ่น: 和語 โรมาจิ : Wago ) คำที่มาจากภาษาจีน เรียกว่า "คังโงะ" (ญี่ปุ่น: 漢語 โรมาจิ : Kango ) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เรียกว่า "ไกไรโงะ" (ญี่ปุ่น: 外来語 โรมาจิ : Gairaigo ) และคำที่ประกอบด้วยคำจากสองประเภทขึ้นไป เรียกว่า "คนชูโงะ" (ญี่ปุ่น: 混種語 โรมาจิ : Konshugo )[ 10] [ หมายเหตุ 3] ภาษาญี่ปุ่นมีระบบการเขียนที่ใช้อักษรหลายประเภทร่วมกัน ได้แก่ อักษรฮิรางานะ และอักษรคาตากานะ (พัฒนามาจากอักษรมันโยงานะ ) เป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิ ซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph)[ 12] ส่วนอักษรโรมันหรือโรมาจิ นั้นปัจจุบันมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์[ 13]
ระบบเสียง
เสียงสระ
ตำแหน่งลิ้นของเสียงสระในภาษาญี่ปุ่นแผนภาพไดอะแกรมแสดงช่องปากมนุษย์ บริเวณด้านซ้ายของไดอะแกรมเป็นบริเวณที่ใกล้กับฟันและริมฝีปาก บริเวณด้านขวาของไดอะแกรมเป็นบริเวณที่ใกล้กับช่องคอ จุดสีดำแสดงตำแหน่งที่ลิ้นยกตัวขึ้นระหว่างการออกเสียงสระ
สระหน้า (front)
สระกลาง (central)
สระหลัง (back)
สระปิด (close)
i
u
สระระดับกลาง (mid)
e
o
สระเปิด (open)
a
หน่วยเสียง /i/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาเล็กน้อย[ 14] [ 15] อาจเขียนเป็นสัทอักษร ให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [i̞]
หน่วยเสียง /e/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [e] กับ [ɛ][ 14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [e̞]
หน่วยเสียง /a/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะอยู่ระหว่างเสียง [a] กับ [ɑ][ 14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [a̠]
หน่วยเสียง /o/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [o] กับ [ɔ][ 14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดได้ขึ้นว่า [o̞]
หน่วยเสียง /u/ ในสำเนียงโตเกียว มีความแตกต่างจากเสียง [u] คือ ริมฝีปากไม่ห่อกลม กล่าวคือ ริมฝีปากจะผ่อนคลายแต่ไม่ถึงขั้นเหยียดริมฝีปากแบบ /i/ แม้ว่าอาจจะมีการหดริมฝีปาก (lip compression) กรณีที่ออกเสียงช้า ๆ อย่างระมัดระวังบ้างก็ตาม[ 16] [ 17] อีกทั้งตำแหน่งลิ้นเยื้องมาข้างหน้าค่อนข้างมาก (โดยเฉพาะเมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะ [s] [t͡s] [d͡z] [z] ตำแหน่งลิ้นจะเยื้องไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น) ดังนั้นจึงอาจเขียนสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [ɯ̈][ 14] [ 15] [ 18] [ หมายเหตุ 4] อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเรื่องความแปลกเด่น (markedness) ที่ไม่สอดคล้องกันแล้ว กล่าวคือ โดยทั่วไปภาษาใดที่มีหน่วยเสียง /ɯ/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดรอง ภาษานั้นก็ควรมีหน่วยเสียง /u/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลัก ด้วย ไม่ควรจะมีเพียงแค่หน่วยเสียง /ɯ/ โดยไม่มีหน่วยเสียง /u/ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความประสานทางรูปแบบของการแจกแจง (หน่วยเสียงสระทั้ง 5 เสียงเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักเหมือนกันทั้งหมด) เราจึงควรเลือกเสียง [u] ขึ้นมาเป็นตัวแทนของหน่วยเสียง มากกว่าเสียง [ɯ][ 15] ดังที่แสดงในตารางข้างต้น
ความยาวของเสียงสระมีหน้าที่ในการแยกความหมาย เช่น เสียงสระ /i/ สั้น-ยาวในคำว่า ojiisan /ozisaN/ "ลุง, น้าหรืออาเพศชาย" เทียบกับ ojiisan /oziːsaN/ "ตา, ปู่, ชายสูงอายุ" หรือเสียงสระ /u/ สั้น-ยาวในคำว่า tsuki /tuki/ "พระจันทร์" เทียบกับ tsūki /tuːki/ "กระแสลม" อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นไม่ตรงกันว่าระบบเสียงภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงสระยาว /aː/ /iː/ /uː/ /eː/ /oː/ หรือไม่ ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมักกำหนดให้มีหน่วยเสียงพิเศษ เช่น /R/ หรือ /H/ ตามหลังเสียงสระสั้น เช่น ojiisan → /oziRsaN/ หรือ /oziHsaN/, tsūki → /tuRki/ หรือ /tuHki/[ 17]
เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะควบกล้ำ
เสียงพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ในภาษาญี่ปุ่นปรากฏเฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ /Cy/ กับ /Cw/
/Cy/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /y/ ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「や・ゆ・よ」/「ヤ・ユ・ヨ」 ขนาดเล็ก : 「ゃ・ゅ・ょ」/「ャ・ュ・ョ」เช่น 「きゃ 」(/ky a/),「にゅ 」(/ny u/),「ひょ 」(hy o) เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ไคโยอง" (ญี่ปุ่น: 開拗音 โรมาจิ : Kaiyōon )
/Cw/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /w/ ปัจจุบันเสียงนี้ได้สูญไปจากระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น (ภาษากลาง ) แล้ว แม้จะยังคงมีเหลือให้เห็นในการสะกดคำวิสามานยนาม บางคำก็ตาม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย "Kw ansei Gakuin University" อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่น บางถิ่นยังคงมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้อยู่[ 21] เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โกโยอง" (ญี่ปุ่น: 合拗音 โรมาจิ : Gōyōon )
เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก
เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร N ใหญ่ (/N/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์ และมีการกลมกลืนเสียง (assimilation) กับเสียงที่อยู่รอบข้าง[ 22] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「ん」/「ン」 เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกแบ่งเป็นหน่วยเสียงย่อยได้ดังนี้[ 14] [ 17]
จะออกเสียงเป็น [m] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะริมฝีปากที่มีการปิดฐานกรณ์: [p, b, m]
จะออกเสียงเป็น [n] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนปุ่มเหงือกที่มีการปิดฐานกรณ์: [t, d, n, t͡s, d͡z, ɾ]
จะออกเสียงเป็น [ɲ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะ (หน้า) เพดานแข็งที่มีการปิดฐานกรณ์: [t͡ɕ, d͡z, ɲ]
จะออกเสียงเป็น [ŋ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะเพดานอ่อนที่มีการปิดฐานกรณ์: [k, g, ŋ]
จะออกเสียงเป็น [ŋ] หรือ [ɴ] เมื่อไม่มีเสียงอะไรตามมา (เช่น เมื่อพูดจบหรือเว้นช่วงระหว่างพูด)
จะออกเสียงเป็นเสียงสระนาสิก (nasal vowel) เมื่อตามด้วยเสียงที่ไม่มีการปิดฐานกรณ์ โดยอาจจะออกเป็นเสียง [ã, ĩ, ɯ̃, ẽ] หรือ [õ] ขึ้นอยู่กับเสียงรอบข้าง (หากพูดช้า ๆ อาจจะเป็นเสียง [ŋ] หรือ [ɴ])
เสียงพยัญชนะซ้ำ
เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร Q ใหญ่ (/Q/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์ และออกเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปตามกระบวนการทางสัทวิทยา ที่เรียกว่าการซ้ำเสียง (gemination)[ 23] ทำให้เสียงพยัญชนะเหล่านี้กลายเป็นเสียงพยัญชนะยาว (long consonant)[ 14] [ 16] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「つ」/「ツ」 ขนาดเล็ก : 「っ」/「ッ」
โดยปกติแล้ว เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับเสียงพยัญชนะไม่ก้องเท่านั้น ยกเว้นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำที่อาจจะพบการซ้ำเสียงพยัญชนะก้อง อีกทั้งยังพบการซ้ำเสียงพยัญชนะเสียดแทรก [ɸ, ç, h] (เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค は) ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำด้วย
อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงโดยเปลี่ยนจากเสียงก้องเป็นเสียงไม่ก้องอยู่หลายคำ เช่น [bedː o] → [betː o], [bagː ɯ] → [bakː ɯ] บ่อยครั้งที่ป้ายหรือโฆษณาสะกดคำโดยใช้อักษรเสียงไม่ก้องแทน เช่น 「バッグ 」 เป็น 「バック 」 [ 14] [ 24]
เสียงของอักษรคานะ
-a
-i
-u
-e
-o
-ya
-yu
-yo
あ
a
[a]
い
i
[i]
う
u
[ɯ]
え
e
[e]
お
o
[o]
か
ka
[ka]
き
ki
[kʲi]
く
ku
[kɯ]
け
ke
[ke]
こ
ko
[ko]
きゃ
kya
[kja]
きゅ
kyu
[kjɯ]
きょ
kyo
[kjo]
さ
sa
[sa]
し
si
[ɕi]
す
su
[sɯ]
せ
se
[se]
そ
so
[so]
しゃ
sya
[ɕa]
しゅ
syu
[ɕɯ]
しょ
syo
[ɕo]
た
ta
[ta]
ち
ti
[t͡ɕi]
つ
tu
[t͡sɯ]
て
te
[te]
と
to
[to]
ちゃ
tya
[t͡ɕa]
ちゅ
tyu
[t͡ɕɯ]
ちょ
tyo
[t͡ɕo]
な
na
[na]
に
ni
[ɲi]
ぬ
nu
[nɯ]
ね
ne
[ne]
の
no
[no]
にゃ
nya
[ɲa]
にゅ
nyu
[ɲɯ]
にょ
nyo
[ɲo]
は
ha
[ha]
ひ
hi
[çi]
ふ
hu
[ɸɯ]
へ
he
[he]
ほ
ho
[ho]
ひゃ
hya
[ça]
ひゅ
hyu
[çɯ]
ひょ
hyo
[ço]
ま
ma
[ma]
み
mi
[mʲi]
む
mu
[mɯ]
め
me
[me]
も
mo
[mo]
みゃ
mya
[mja]
みゅ
myu
[mjɯ]
みょ
myo
[mjo]
や
ya
[ja]
ゆ
yu
[jɯ]
よ
yo
[jo]
ら
ra
[ɾa]
り
ri
[ɾʲi]
る
ru
[ɾɯ]
れ
re
[ɾe]
ろ
ro
[ɾo]
りゃ
rya
[ɾja]
りゅ
ryu
[ɾjɯ]
りょ
ryo
[ɾjo]
わ
wa
[ɰa]
(を)
(o)
([o])
が
ga
[ga/ŋa]
ぎ
gi
[gʲi/ŋʲi]
ぐ
gu
[gɯ/ŋɯ]
げ
ge
[ge/ŋe]
ご
go
[go/ŋo]
ぎゃ
gya
[gja/ŋja]
ぎゅ
gyu
[gjɯ/ŋjɯ]
ぎょ
gyo
[gjo/ŋjo]
ざ
za
[d͡za/za]
じ
zi
[d͡ʑi/ʑi]
ず
zu
[d͡zɯ/zɯ]
ぜ
ze
[d͡ze/ze]
ぞ
zo
[d͡zo/zo]
じゃ
zya
[d͡ʑa/ʑa]
じゅ
zyu
[d͡ʑɯ/ʑɯ]
じょ
zyo
[d͡ʑo/ʑo]
だ
da
[da]
(ぢ)
(zi)
([d͡ʑi/ʑi])
(づ)
(zu)
([d͡zɯ/zɯ])
で
de
[de]
ど
do
[do]
(ぢゃ)
(zya)
([d͡ʑa/ʑa])
(ぢゅ)
(zyu)
([d͡ʑɯ/ʑɯ])
(ぢょ)
(zyo)
([d͡ʑo/ʑo])
ば
ba
[ba]
び
bi
[bʲi]
ぶ
bu
[bɯ]
べ
be
[be]
ぼ
bo
[bo]
びゃ
bya
[bja]
びゅ
byu
[bjɯ]
びょ
byo
[bjo]
ぱ
pa
[pa]
ぴ
pi
[pʲi]
ぷ
pu
[pɯ]
ぺ
pe
[pe]
ぽ
po
[po]
ぴゃ
pya
[pja]
ぴゅ
pyu
[pjɯ]
ぴょ
pyo
[pjo]
หน่วยเสียงอื่น ๆ
ん
หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/
っ
หน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/
ตัวอักษร 「を」 ออกเสียงเหมือน 「お」[ 3] [ 19] [ หมายเหตุ 11]
ตัวอักษร 「ぢ」「ぢゃ」「ぢゅ」「ぢょ」「づ」 ออกเสียงเหมือน 「じ」「じゃ」「じゅ」「じょ」「ず」 ตามลำดับ[ 3] [ 14]
มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มที่นับจำนวนหน่วยเสียงในภาษาญี่ปุ่นแตกต่างไปจากข้อมูลข้างต้น เช่น
กลุ่มที่นับเสียง [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) แยกจากหน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) ออกมาเป็นอีกหนึ่งหน่วยเสียง[ 14] [ หมายเหตุ 12]
กลุ่มที่มองว่า [tʲi](てぃ/ティ) กับ [tɯ](とぅ/トゥ) ซึ่งใช้กับเฉพาะคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ เช่น 「パーティー」 (อังกฤษ : party ) 「タトゥー」 (อังกฤษ : tattoo ) เป็นสมาชิกในระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่นด้วย[ 19]
กลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (Q)[ 19]
กลุ่มที่วิเคราะห์ว่ามีหน่วยเสียงยาว (R หรือ H) อยู่ในภาษาญี่ปุ่นด้วย[ 22]
เสียงพยัญชนะที่อยู่หน้าเสียงสระ /i/ จะมีการออกเสียงเพดานแข็ง (palatalization) ประกอบ โดยแบ่งระดับการยกลิ้นได้ 2 ระดับ[ 26]
ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งมากจนทำให้จุดกำเนิดเสียงเคลื่อนออกไปจากจุดเดิมจนต้องเปลี่ยนไปใช้สัทอักษร ตัวอื่น เช่น /si/ → [ɕi] (เปลี่ยนจาก s เป็น ɕ)
ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งแต่ไม่มากจนต้องถึงขั้นเปลี่ยนสัทอักษร เช่น /ki/ → [kʲi] (เพิ่มเครื่องหมาย [ʲ] เพื่อแสดงว่ามีการยกลิ้นส่วนหน้าประกอบเท่านั้น)
การลดความก้องของเสียงสระ
การลดความก้องของเสียงสระ (ญี่ปุ่น: 母音無声化 โรมาจิ : Boin-museika อังกฤษ : vowel devoicing) พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว ) มักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิด (/i/ หรือ /u/) อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ ก้องกับเสียงพยัญชนะไม่ ก้อง[ 27] เช่น
(อักษรสีแดง คือ เสียงสระที่ลดความก้อง)
ตัวอย่างคำ
ระดับหน่วยเสียง
เสียงโดยละเอียด
ความหมาย
ตำแหน่งที่ลดความก้อง
近( ちか ) い
/tikai/
[t͡ɕi̥ k ai̯]
ใกล้
「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥]
起( お ) きた
/oki-ta/
[okʲi̥ t a]
ตื่นแล้ว
「き」:[kʲi] → [kʲi̥]
失敗( しっぱい )
/siQpai/
[ɕi̥ pː ai̯]
ผิดพลาด
「し」:[ɕi] → [ɕi̥]
学生( がくせい )
/gakuseː/
[gakɯ̥ s eː]
นักเรียน, นิสิต-นักศึกษา
「く」:[kɯ] → [kɯ̥]
息子( むすこ )
/musuko/
[mɯsɯ̥ k o]
ลูกชาย
「す」:[sɯ] → [sɯ̥]
机( つくえ )
/tukue/
[t͡sɯ̥ k ɯe]
โต๊ะ
「つ」:[t͡sɯ] → [t͡sɯ̥]
นอกจากนี้ การลดความก้องของเสียงสระมักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิดตามหลัง เสียงพยัญชนะไม่ก้องและเป็นจังหวะที่ผู้พูดพูดจบหรือเว้นวรรค [ 14] เช่น
ตัวอย่างคำ
ระดับหน่วยเสียง
เสียงโดยละเอียด
ความหมาย
ตำแหน่งที่ลดความก้อง
秋( あき )
/aki/
[akʲi̥ ]
ฤดูใบไม้ร่วง
「き」:[kʲi] → [kʲi̥]
お菓子( かし )
/okasi/
[okaɕi̥ ]
ขนม
「し」:[ɕi] → [ɕi̥]
です
/desu/
[desɯ̥ ]
(คำกริยานุเคราะห์)
「す」:[sɯ] → [sɯ̥]
ます
/masu/
[masɯ̥ ]
(คำกริยานุเคราะห์)
「す」:[sɯ] → [sɯ̥]
โดยทั่วไป เจ้าของภาษามักจะเลี่ยงการลดความก้องแบบต่อเนื่องกัน ส่งผลให้มีเสียงสระปิดบาง ตำแหน่งไม่ลดความก้องแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข[ 14] แต่ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงโดยลดความก้องเสียงสระปิดแบบต่อเนื่องกัน[ 16]
ตัวอย่างคำ
ระดับหน่วยเสียง
เสียงโดยละเอียด
ความหมาย
ตำแหน่งที่ลดความก้อง
復習( ふくしゅう )
/hukusyuu/
[ɸɯ̥ k ɯɕɯː] ~ [ɸɯ̥ kɯ̥ ɕ ɯː]
ทบทวน
「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]
(「く」:[kɯ] → [kɯ̥])
知識( ちしき )
/tisiki/
[t͡ɕiɕi̥ kʲ i] ~ [t͡ɕi̥ ɕi̥ kʲ i]
ความรู้
「し」:[ɕi → ɕi̥]
(「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥])
寄付金( きふきん )
/kihukiN/
[kʲiɸɯ̥ kʲ iŋ] ~ [kʲi̥ ɸɯ̥ kʲ iŋ]
เงินบริจาค
「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]
(「き」:[kʲi] → [kʲi̥])
อย่างไรก็ตาม การลดความก้องของเสียงสระอาจจะพบในเสียงสระที่ไม่ใช่สระปิดได้เช่นกัน[ 14] [ 16]
ตัวอย่างคำ
ระดับหน่วยเสียง
เสียงโดยละเอียด
ความหมาย
ตำแหน่งที่ลดความก้อง
ほこり
/hokori/
[ho̥ k oɾʲi]
ฝุ่น
「ほ」:[ho[ → [ho̥]
かかる
/kakaru/
[kḁ k aɾɯ]
ใช้ (เวลา, เงิน)
「か」:[ka] → [kḁ]
心( こころ )
/kokoro/
[ko̥ k oɾo]
หัวใจ
「こ」:[ko] → [ko̥]
การลดความก้องของเสียงสระของคำศัพท์แต่ละคำสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น เช่น 『新明解( しんめいかい ) 日本語( にほんご ) アクセント辞典( じてん ) 』 หรือ 『NHK日本語発音( にほんごはつおん ) アクセント新辞典( しんじてん ) 』 ทั้งนี้ ปรากฏการณ์นี้พบได้น้อยในภาษาญี่ปุ่นตะวันตก (Western Japanese)[ หมายเหตุ 13]
พยางค์และมอรา
พยางค์
พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งตามน้ำหนักของพยางค์ (syllable weight) ได้ดังนี้[ 16]
1.
พยางค์เบา (light syllable)
พยางค์เบาในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระสั้น จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่าง: /i/ (กระเพาะ), /su/ น้ำส้มสายชู, /tya/ ชา
2.
พยางค์หนัก (heavy syllable)
พยางค์หนักในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระยาวหรือเสียงสระสั้นที่มีเสียงพยัญชนะท้าย จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่าง: /oː/ (พระราชา), /zyuN/ (เกณฑ์)
3.
พยางค์หนักมาก (superheavy syllable)
เป็นพยางค์ที่จำนวนหน่วยแยกส่วน (segment) มากกว่าจำนวนของหน่วยแยกส่วนในพยางค์เบาและพยางค์หนัก พยางค์ชนิดนี้มีเฉพาะในบางภาษาและองค์ประกอบของหน่วยส่วนแยกไม่ชัดเจนเพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของพยางค์เบาและพยางค์หนักในภาษานั้น ๆ[ 28]
ตัวอย่าง: /aːN/ (เสียงร้องไห้ของเด็กทารก), /roːN/ (เงินกู้)
โครงสร้างพยางค์
ชนิดพยางค์
องค์ประกอบของพยางค์
ตัวอย่างคำ
ระดับ หน่วยเสียง
ความหมาย
พยางค์เบา (light syllable)
สระสั้น (V)
胃( い )
/i /
กระเพาะ
尾( お )
/o /
หาง
พยัญชนะต้น+สระสั้น (CV)
酢( す )
/su /
น้ำส้มสายชู
湯( ゆ )
/yu /
น้ำร้อน
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระสั้น (CyV)[ หมายเหตุ 14]
茶( ちゃ )
/tya /
ชา
種( しゅ )
/syu /
ชนิด, ประเภท
พยางค์หนัก (heavy syllables)
สระยาว (Vː )
映画( えいが )
/eː .ga/
ภาพยนตร์
王( おう )
/oː /
พระราชา
พยัญชนะต้น+สระยาว (CVː)
お父( とう ) さん
/o.toː .saN/
คุณพ่อ
お兄( にい ) さん
/o.niː .saN/
พี่ชาย
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระยาว (CyVː)
十( じゅう )
/dyuː /
สิบ
表( ひょう )
/hyoː /
ตาราง
สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (VN)
案( あん )
/aN /
ร่าง (เอกสาร)
運( うん )
/uN /
โชค
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVN)
万( まん )
/maN /
หมื่น
金( きん )
/kiN /
ทอง
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVN)
準( じゅん )
/zyuN /
เกณฑ์
赤( あか ) ちゃん
/a.ka.tyaN /
ทารก
สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (VQ)
悪化( あっか )
/aQ .ka/
เลวร้ายลง
夫( おっと )
/oQ .to/
สามี
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CVQ)
作家( さっか )
/saQ .ka/
นักเขียน
切手( きって )
/kiQ .te/
ไปรษณียากร
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CyVQ)
若干( じゃっかん )
/zyaQ .kaN/
เพียงเล็กน้อย
却下( 却下 )
/kyaQ .ka/
ยกฟ้อง
พยางค์หนักมาก (superheavy syllable)
สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (VːN)
ああん
/aːN /
เสียงร้องไห้ของเด็กทารก
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVːN)
ローン
/roːN /
เงินกู้
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVːN)
コミューン
/ko.myuːN /
พูดคุยกันอย่างสนิทสนม
สระยาว+พยัญชนะซ้อน (VːQ)
いいって
/iːt .te/
"ไม่เป็นไรหรอก"
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CVːQ)
凍( こお ) った
/koːQ .ta/
(น้ำ) แข็งตัว
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน +สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CyVːQ)
ひゅうっと
/hyuːQ .to/
(เสียงลมพัด)
C หมายถึง เสียงพยัญชนะ (consonant)
V หมายถึง เสียงสระ (vowel)
y หมายถึง เสียงเลื่อน /y/
N หมายถึง เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/
Q หมายถึง เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/
เครื่องหมาย ː ใช้แสดงเสียงยาว (long)
เครื่องหมาย . ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์ (syllable boundary)
มอรา
มอรา (ญี่ปุ่น: 拍 โรมาจิ : Haku ) เป็นหน่วยการนับในระดับที่เล็กกว่าระดับคำตามทฤษฎีสัทวิทยาเน้นจังหวะ (metrical phonology)[ 31] เป็นการนับช่วงความยาวของเสียงที่เท่า ๆ กัน และเป็นหน่วยพื้นฐานกำหนดจังหวะ (rhythm) ของคำและประโยคภาษาญี่ปุ่น[ 32] จำนวนมอราของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นอาจจะเท่ากับจำนวนพยางค์ หรือมากกว่าจำนวนพยางค์ โดยพยางค์เบา 1 พยางค์นับเป็น 1 มอรา พยางค์หนัก 1 พยางค์นับแยกเป็น 2 มอรา และพยางค์หนักมาก 1 พยางค์นับเป็น 3 มอรา[ 16] เช่น คำว่า 「おばあさん」 (ย่า, ยาย) หากนับจำนวนพยางค์จะได้ 3 พยางค์ แต่หากนับจำนวนมอราจะได้ 5 มอรา
นับตามจำนวนพยางค์
おばあさん
/o.baː.saN/
(o|baː|saN)
นับตามจำนวนมอรา
おばあさん
/o.ba.a.sa.N/
(o|ba|a|sa|N)
(เครื่องหมาย "." ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์หรือมอรา)
แม้ว่าเมื่อวัดค่าตามจริงแล้วมอราแต่ละมอราอาจจะไม่ได้เท่ากันในทางกายภาพ แต่เจ้าของภาษา (ในที่นี้คือผู้พูดภาษาญี่ปุ่น) ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะรับรู้ช่วงความยาวของของแต่ละมอราว่ายาวเท่า ๆ กัน (ความยาวทางจิตวิทยา )[ 14]
ความแตกต่างระหว่างการนับจำนวนพยางค์ กับจำนวนมอรา ของคำในภาษาญี่ปุ่นสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
1. เสียงสระสั้นทุกเสียง หรือเสียงพยัญชนะตามด้วยเสียงสระสั้น นับเป็น 1 พยางค์ และนับเป็น 1 มอราเท่ากัน
ตัวอย่างคำ
นับตามพยางค์
นับตามมอรา
ความหมาย
จำนวนพยางค์ต่อมอรา
駅( えき )
/e.ki/
/e.ki/
สถานีรถไฟ
2:2
さくら
/sa.ku.ra/
/sa.ku.ra/
ดอกซากุระ
3:3
地下鉄( ちかてつ )
/ti.ka.te.tu/
/ti.ka.te.tu/
รถไฟใต้ดิน
4:4
2. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ N
ตัวอย่างคำ
นับตามพยางค์
นับตามมอรา
ความหมาย
จำนวนพยางค์ต่อมอรา
本( ほん )
/hoN/
/ho.N/
หนังสือ
1:2
演技( えんぎ )
/eN.gi/
/e.N.gi/
การแสดง
2:3
オランダ
/o.raN.da/
/o.ra.N.da
ประเทศเนเธอร์แลนด์
3:4
3. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ Q
ตัวอย่างคำ
นับตามพยางค์
นับตามมอรา
ความหมาย
จำนวนพยางค์ต่อมอรา
切符( きっぷ )
/kiQ.pu/
/ki.Q.pu/
ตั๋ว
2:3
びっくり
/biQ.ku.ri/
/bi.Q.ku.ri/
ตกใจ
3:4
まっすぐ
/maQ.su.gu/
/ma.Q.su.gu/
ตรงไป
3:4
4. เสียงสระยาว หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระยาว นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา
ตัวอย่างคำ
นับตามพยางค์
นับตามมอรา
ความหมาย
จำนวนพยางค์ต่อมอรา
時計( とけい )
/to.keː/
/to.ke.e/
นาฬิกา
2:3
お母( かあ ) さん
/o.kaː.saN/
/o.ka.a.sa.N/
คุณแม่
3:5
お父( とう ) さん
/o.toː.saN/
/o.to.o.sa.N/
คุณพ่อ
3:5
5. เสียงสระประสมสองส่วน (diphthong) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา
ตัวอย่างคำ
นับตามพยางค์
นับตามมอรา
ความหมาย
จำนวนพยางค์ต่อมอรา
再会( さいかい )
/sai.kai/
/sa.i.ka.i/
การพบกันใหม่
2:4
社会( しゃかい )
/sya.kai/
/sya.ka.i/
สังคม
2:3
オイル
/oi.ru/
/o.i.ru/
น้ำมัน
2:3
ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ
ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ (ญี่ปุ่น: 高低アクセント โรมาจิ : Kōtei-akusento อังกฤษ : Pitch accent) เป็นหนึ่งในสัทลักษณะ (sound quality) ที่พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว ) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงน้ำหนัก (accent) คำหรือพยางค์ในถ้อยความให้มีความเด่นชัดขึ้น[ 33] แตกต่างจากเสียงวรรณยุกต์ (tone) ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เป็นระดับเสียงภายใน พยางค์ (ต่ำ กลาง สูง ขึ้น ตก ฯลฯ ภายในพยางค์) ในขณะที่ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาญี่ปุ่นเป็นระดับเสียงระหว่าง มอรา (ต้องฟังเปรียบเทียบระหว่างมอราจึงจะทราบว่ามอราใดสูง มอราใดต่ำ)[ 14]
ประเภทของระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ
คำในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งเสียงตก (ตำแหน่งที่เสียงเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「下( さ ) がり目( め ) 」) ได้ดังนี้[ 1]
(เครื่องหมาย 「 \ 」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก ส่วนเครื่องหมาย 「  ̄ 」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก อักษรไม่ เข้มใช้เพื่อแสดงว่ามอรา ดังกล่าวลดความก้องของเสียงสระ)
คำที่มีตำแหน่งเสียงตกต้นคำ (ญี่ปุ่น: 頭高型( あたまだかがた ) โรมาจิ : Atama-daka-gata ทับศัพท์ : อาตามาดากางาตะ) มอราแรกเสียงจะสูง ถัดจากนั้นจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
木: [キ\ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「キ」
猫: [ネ\ コ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ネ」
命: [イ\ ノチ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「イ」
埼玉: [サ\ イタマ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「サ」
คำที่มีตำแหน่งเสียงตกกลางคำ (ญี่ปุ่น: 中高型( なかだかがた ) โรมาจิ : Naka-daka-gata ทับศัพท์ : นากาดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงตำแหน่งเสียงตก จากนั้นเสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
あなた: [アナ\ タ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ナ」
味噌汁: [ミソシ\ ル ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「シ」
飛行機: [ヒコ\ ーキ ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「コ」
美術館: [ビジュ ツ\ カン ] หรือ [ビジュ\ ツカン ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ツ」 หรือ 「ジュ」
คำที่มีตำแหน่งเสียงตกท้ายคำ (ญี่ปุ่น: 尾高型( おだかがた ) โรมาจิ : O-daka-gata ทับศัพท์ : โอดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงท้ายคำ หากมีหน่วยคำ เช่น คำช่วย มาต่อท้าย เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลงตั้งแต่คำช่วยตัวดังกล่าว เช่น
山: [ヤマ\ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [ヤマ\ カ゚ ]
男: [オトコ\ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [オトコ\ カ゚ ]
妹: [イモート\ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [イモート\ カ゚ ]
คำที่ไม่มีตำแหน่งเสียงตก (แบบราบ) (ญี่ปุ่น: 平板型( へいばんがた ) โรมาจิ : Heiban-gata ทับศัพท์ : เฮบังงาตะ)
魚: [サカナ ̄ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [サカナカ゚ ̄ ]
竹: [タケ ̄ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [タケカ゚ ̄ ]
休日: [キュージツ ̄ ] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [キュージツカ゚ ̄ ]
สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งเสียงตก
ในอักขรวิธี ของภาษาญี่ปุ่นไม่มีสัญลักษณ์ในการแสดงระดับเสียงแบบภาษาไทย (เครื่องหมายวรรณยุกต์ ) ดังนั้นในการแสดงตำแหน่งเสียงตกจึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหนังสือหรือพจนานุกรมเล่มนั้น เช่น
สัญลักษณ์
ความหมาย
ตัวอย่าง
หนังสือหรือพจนานุกรมที่ใช้
[\ ],
[ ̄ ]
[\ ] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
[ ̄ ] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก
ミソシ\ ル
サカナ ̄
『NHK日本語発音( にほんごはつおん ) アクセント新辞典( しんじてん ) 』
[↓],
[○]
[↓] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
[○] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก
みそし↓る
さかな○
『小学館( しょうがくかん ) デジタル大辞泉( だいじせん ) 物書堂版( ものかきどうばん ) 』
[┓ ] หรือ 「❜」
[┓ ] หรือ 「❜」 ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก
ไม่มีเครื่องหมายเมื่อไม่มีตำแหน่งเสียงตก
みそし┓ る
(みそし❜る )
さかな
"การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ" (ยุพกา, 2018)
『日本語音声学入門( にほんごおんせいがくにゅうもん ) 』 (Saitō, 2015)
นอกจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น [\ ] หรือ [ ┓ ] ในการแสดงตำแหน่งเสียงตก (下( さ ) がり目( め ) ) ของคำศัพท์แล้ว ยังมีการใช้ตัวเลขในการแสดงแกนเสียงสูง-ต่ำ (มอราตัวสุดท้ายก่อนที่เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า アクセント核( かく ) ) เช่น ในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น 『大辞林( だいじりん ) 』 หรือ 『新明解国語辞典( しんめいかいこくごじてん ) 』
(สีน้ำเงิน ใช้แสดงตำแหน่งแกนเสียงสูง-ต่ำ)
き(1)【木】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「き」:[キ \ ]
いのち(1)【命】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「い」:[イ \ ノチ ]
みそしる(3)【味噌汁】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 3 นั่นคือ 「し」:[ミソシ \ ル ]
ひこうき(2)【飛行機】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 2 นั่นคือ 「こ」:[ヒコ \ ーキ ]
いもうと(4)【妹】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 4 นั่นคือ 「と」:[イモート \ ]
さかな(0)【魚】 หมายถึง ไม่มีแกนเสียงสูง-ต่ำ:[サカナ ̄ ]
ระบบการเขียน
ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนแบบผสมผสาน โดยใช้อักษรฮิรางานะ และอักษรคาตากานะ ซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิ ซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph)[ 12] ประโยคหนึ่งประโยคอาจมีอักษรทั้ง 3 ประเภทปะปนกัน
ประโยคตัวอย่าง 「朝食にハムエッグを食べました」 ("กินแฮมกับไข่เป็นอาหารเช้า")
ภาษาญี่ปุ่น
朝食
に
ハムエッグ
を
食 べ
まし
た
โรมาจิ
chōshoku
ni
hamueggu
o
tabe
mashi
ta
ความหมาย
อาหารเช้า
(คำช่วย)
แฮมกับไข่
(คำช่วย)
กิน
(แสดงความสุภาพ)
(อดีตกาลหรือการณ์ลักษณะ สมบูรณ์)
ประโยคข้างต้นประกอบด้วยตัวอักษรทั้ง 3 ประเภท สีเขียว คืออักษรฮิรางานะ สีน้ำเงิน คืออักษรคาตากานะ และสีแดง คืออักษรคันจิ
คันจิ
ฮิรางานะและคาตากานะ
ไวยากรณ์
โครงสร้างประโยคพื้นฐาน
ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี "คำช่วย" กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า
โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです ) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นที่เติมท้ายคำนามเพื่อแสดงความสุภาพ ประโยคนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆ ภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです ) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"
แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง" เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า "บน" เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน
คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น
The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)
ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
驚いた彼は道を走っていた。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta.
สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น
คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้
ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生 , อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น
ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."
ตัวอย่างประโยค
คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。
มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น
私はソムチャイです。
Watashi wa Somuchai desu
ฉันชื่อสมชาย
私はタイ人です。
Watashi wa Taijin desu
ฉันเป็นคนไทย
ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น
あなたは日本人ですか?
Anata wa Nihonjin desu ka?
คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่
いいえ、中国人です。
Iie, Chūgokujin desu
ไม่ใช่, เป็นคนจีน
คำศัพท์
私
watashi
ฉัน
あなた
anata
คุณ
タイ人
taijin
คนไทย
日本人
Nihonjin
คนญี่ปุ่น
中国人
Chūgokujin
คนจีน
はい
hai
ใช่
いいえ
iie
ไม่ใช่
ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา
มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น
私はご飯を食べる。
Watashi wa gohan o taberu
ฉันกินข้าว
彼は本を読みます。
Kare wa hon o yomimasu
เขาอ่านหนังสือ
ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คำศัพท์
ご飯
gohan
ข้าว
本
hon
หนังสือ
食べる
taberu
กิน
読みます
yomimasu
อ่าน
彼
kare
เขา (ผู้ชาย)
กริยารูปอดีต และปฏิเสธ
ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้
รูปปัจจุบัน บอกเล่า
รูปอดีต บอกเล่า
รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ
รูปอดีต ปฏิเสธ
~ます
~ました
~ません
~ませんでした
食べますtabemasu
食べましたtabemashita
食べませんtabemasen
食べませんでしたtabemasendeshita
飲みますnomimasu
飲みましたnomimashita
飲みませんnomimasen
飲みませんでしたnomimasendeshita
見ますmimasu
見ましたmimashita
見ませんmimasen
見ませんでしたmimasendeshita
今日テレビを見ます。
Kyō terebi o mimasu
วันนี้จะดูโทรทัศน์
昨日テレビを見ました。
Kinō terebi o mimashita
เมื่อวานดูโทรทัศน์
今日テレビを見ません。
Kyō terebi o mimasen
วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์
昨日テレビを見ませんでした。
Kinō terebi o mimasendeshita
เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์
คำศัพท์
見ます
mimasu
ดู
テレビ
terebi
โทรทัศน์
今日
kyō
วันนี้
昨日
kinō
เมื่อวาน
คำนามและคำบ่งชี้
คำสรรพนาม
คำสรรพนามที่ใช้กันทั่วไป
บุคคลที่
รูปทั่วไป
รูปสุภาพ
รูปยกย่อง
หนึ่ง
僕 (boku , ผู้ชาย) あたし (atashi , ผู้หญิง) 俺(ore ,ผู้ชาย)
私 (watashi )
私 (watakushi )
สอง
君 (kimi ) お前 (omae )
あなた (anata ) そちら (sochira )
あなた様 (anata-sama )
สาม
彼 (kare , ผู้ชาย) 彼女 (kanojo , ผู้หญิง)
แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว
มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 (kare , เขา) 彼女 (kanojo , เธอ); 私 (watashi , ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 (onore , ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ 僕 (boku , ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore ) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ
คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น
「木下さんは、背が高いですね。」
Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
(กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ"
「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
(กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?"
คำบ่งชี้
คำบ่งชี้
ko-
so-
a-
do-
kore อันนี้
sore อันนั้น
are อันโน้น
dore อันไหน?
kono นี้
sono นั้น
ano โน้น
dono ไหน?
konna เหมือนอย่างนี้
sonna เหมือนอย่างนั้น
anna เหมือนอย่างโน้น
donna อย่างไร? เหมือนอย่างไหน
koko ที่นี่
soko ที่นั่น
asoko * ที่โน่น
doko ที่ไหน?
kochira ทางนี้
sochira ทางนั้น
achira ทางโน้น
dochira ทางไหน?
kō แบบนี้
sō แบบนั้น
ā * แบบโน้น
dō แบบไหน?
* รูปพิเศษ
คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko , so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น
「こちらは林さんです。」
Kochira wa Hayashi-san desu.
"นี่คือคุณฮะยะชิ"
คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon ) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon ) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น
เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น
A:先日、札幌に行って来ました。
A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา
B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ
หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น
佐藤:田中という人が昨日死んだって…
Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
ซะโต: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…
森:えっ、本当?
Mori: E', hontō?
โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?
佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
ซะโต: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?
สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซะโตะไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว
ความสุภาพ
ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก
สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว
ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน
คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่าน ประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ
คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติมคำอุปสรรค โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุ เพื่อแสดงความสุภาพก็ได้
ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ
คำศัพท์
ประวัติศาสตร์
วิวัฒนาการของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้[ 12]
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric age; 先史時代( せんしじだい ) ) อยู่ในช่วงก่อน คริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคโจมง ยุคยาโยอิ ยุคโคฟุง และยุคอาซูกะ
ภาษาญี่ปุ่นเก่า (Old Japanese; 上代語( じょうだいご ) ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคนาระ
ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น (Early Middle Japanese; 中古語( ちゅうこご ) ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตรงกับยุคเฮอัง
ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย (Late Middle Japanese; 中世語( ちゅうせいご ) ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปี ตรงกับยุคคามากูระ ยุคมูโรมาจิ และยุคอาซูจิ-โมโมยามะ
ภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (Modern Japanese; 近世語( きんせいご ) , 現代語( げんだいご ) ) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคเอโดะ (近世語( きんせいご ) ) กับภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตั้งแต่ยุคเมจิ จนถึงปัจจุบัน (現代語( げんだいご ) )
การจำแนกตามภูมิศาสตร์
ภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งเป็นภาษาย่อย ได้ดังต่อไปนี้[ 34]
อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางคนไม่จัดให้ภาษาที่พูดในหมู่เกาะรีวกีว เป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นตามตารางข้างต้น แต่จัดให้ภาษาดังกล่าวเป็นภาษาพี่น้องร่วมตระกูลกับภาษาญี่ปุ่น[ 35]
กลุ่มภาษา
การเรียนภาษาญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยจำนวนมากทั่วโลกมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมบางแห่งที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ภาษาญี่ปุ่นได้รับความสนใจตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูในทศวรรษ 1980 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของญี่ปุ่น (เช่น อนิเมะ และ วิดีโอเกม) กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ใน ค.ศ. 2003 มีผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั้งหมด 2.3 ล้านคนทั่วโลก แบ่งเป็น ชาวเกาหลีใต้ 900,000 คน ชาวจีน 389,000 ชาวออสเตรเลีย 381,000 คน และชาวอเมริกัน 140,000 คน ในญี่ปุ่นมีชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มหาวิทยาลัยและที่โรงเรียนสอนภาษาอยู่ทั้งหมด 90,000 คน แบ่งเป็นชาวจีน 77,000 คน และชาวเกาหลีใต้ 15,000 นอกจากนี้ รัฐท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรยังสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ รวมถึงชาวบราซิล-ญี่ปุ่น และชาวต่างชาติที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่นด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ การทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (JETRO) ที่จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
หมายเหตุ
↑ แม้จะไม่มีการระบุสถานะของภาษาญี่ปุ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เอกสารทางราชการล้วนเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น และในพระราชบัญญัติศาล มาตราที่ 74 ระบุว่า "ในศาลให้ใช้ภาษาญี่ปุ่น" รวมทั้งยังบรรจุการศึกษาภาษาญี่ปุ่นในฐานะ "ภาษาของชาติ"(ญี่ปุ่น: 国語 โรมาจิ : Kokugo ทับศัพท์ : โคคูโงะ)ไว้ในหลักสูตรการศึกษาด้วย
↑ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสำมะโนะประชากรเมื่อปี 2005 แสดงให้เห็นว่า ไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวรอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปคนใดใช้ภาษาญี่ปุ่นในครัวเรือนเลย[ 7]
↑ บางครั้งไกไรโงะอาจรวมถึงคังโงะ (คำที่มาจากภาษาจีน) ด้วย แต่โดยทั่วไปจะไม่นับรวม[ 11]
↑ ต่างจากผู้พูดในฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นตั้งแต่นาโงยะ เป็นต้นไปที่ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง [u] นั่นคือ มีการห่อริมฝีปากและตำแหน่งลิ้นเยื้องไปข้างหลังมากกว่า[ 18]
↑ อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เห็นว่าควรถอดสัทอักษรเป็น [nʲ] มากกว่า เนื่องจากว่าในการออกเสียงจริง ตำแหน่งเกิดเสียงอยู่ที่หน้าเพดานแข็ง (ตำแหน่งปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง) ไม่ใช่เพดานแข็งตามที่สัทอักษร ɲ แสดงเสียง[ 14]
↑ เสียง [ŋ] มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "เสียงขุ่นนาสิก" (ญี่ปุ่น: 鼻濁音 โรมาจิ : Bidakuon ทับศัพท์ : บิดากูอง)
↑ Saitō (2015) ได้ให้เสียง [ɣ̃] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน นาสิก) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
↑ ชาวเอโดะ หรือ เอดกโกะ หมายถึง คนที่เกิดและโตในเมืองเอโดะ หรือคนที่อาศัยอยู่ในใจกลางเมืองของกรุงโตเกียว มาตั้งแต่บรรพบุรุษ การออกเสียงแบบนี้เป็นลักษณะเด่นของวิธีการพูดแบบ "เบรัมเม คูโจ" (ญี่ปุ่น: べらんめえ口調 โรมาจิ : Beranmē-kuchō ทับศัพท์ : เบรัมเมคูโจ) ซึ่งเคยใช้ในหมู่พ่อค้าย่านใจกลางเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียวในปัจจุบัน)[ 20]
↑ Saitō (2015) ได้ให้เสียง [χ] (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
↑ เนื่องจากหน่วยเสียง /N/ ออกเสียงยาว 1 มอรา ในที่นี้จึงใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาว" (long) ในการแสดงเสียงโดยละเอียดเช่นเดียวกับที่ปรากฏใน Vance (2008) อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เลือกใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาวครึ่งหนึ่ง" (half-long)
↑ 「を」 เดิมเคยใช้แสดงเสียง /wo/ ต่อมาในช่วงภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น จนถึงช่วงต้นของภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย เสียง /wo/ ได้รวมเข้ากับเสียง /o/[ 12] ปัจจุบันคำศัพท์ที่เคยเขียนด้วย 「を」 ได้เปลี่ยนมาเขียนด้วย 「お」 ยกเว้นคำช่วย 「を」[ 25]
↑ สามารถเขียนแทนด้วยอักษรฮิรางานะ 「か゚・き゚・く゚・け゚・こ゚」 หรืออักษรคาตากานะ 「カ゚・キ゚・ク゚・ケ゚・コ゚」 นิยมใช้เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น เช่น การแสดงเสียงอ่านในพจนานุกรมการออกเสียง
↑ Hasegawa (2015) ระบุว่าในภาษาคิงกิ (คันไซ) เสียงสระจะออกเป็นเสียงก้องอย่างชัดเจนถึงขนาดที่คำศัพท์ 1 มอรามักจะลากเสียงสระให้ยาวขึ้นเป็น 2 มอรา
↑ Hasegawa (2015) และนักภาษาศาสตร์บางคนได้รวมโครงสร้างพยางค์แบบ "พยัญชนะ+เสียงเลื่อน+สระ" เข้ากับ "พยัญชนะ+สระ" เนื่องจากมองว่าเสียงเลื่อนเหล่านี้เป็นเพียงการออกเสียงซ้อนของเสียงพยัญชนะ: (Cʲ) ในขณะที่นักภาษาศาสตร์อีกส่วนมองว่าเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ: (Cj)[ 29] [ 30]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 NHK's New Dictionary of Japanese Pronunciation and Accentuation (ภาษาญี่ปุ่น). NHK Hōsō Bunka Kenkyūjo, 日本放送協会放送文化研究所. Tōkyō: Enueichikēshuppan. 2016. ISBN 978-4-14-011345-5 . OCLC 950889281 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ 2.0 2.1 2.2 Akinaga, Kazue; 秋永一枝 (2014). Shin Meikai Nihongo akusento jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Haruhiko Kindaichi, 金田一春彦 (Dai 2-han ed.). Tōkyō Chiyoda-ku. ISBN 978-4-385-13672-1 . OCLC 874517214 .
↑ 3.0 3.1 3.2 Nihon kokugo daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN 4-09-521021-4 . OCLC 70216445 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ Eberhard, David M., Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). (2021). Ethnologue: Languages of the World. Twenty-fourth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com.[1]
↑ "Japanese" . Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
↑ "Constitution of the State of Angaur: 9" . www.pacificdigitallibrary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "2005 Census of Population & Housing" (PDF) . Bureau of Budget & Planning. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021 .
↑ Amano, Midori; 天野みどり (2020). "語順 (word order)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 71. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Tanaka, Shin'ichi (2020). "音節 (syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 21. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Ikegami, Nao; 池上尚 (2020). "語彙 (lexicon, vocabulary)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 63. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Meikyō kokugo jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Yasuo Kitahara, 保雄 北原 (Daisanhan ed.). Tōkyō. 2021. ISBN 978-4-469-02122-6 . OCLC 1232142874 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Frellesvig, Bjarke (2018). "Part I Overview Chapter 2 The History of the Language". The Cambridge handbook of Japanese linguistics . Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN 978-1-316-88446-1 . OCLC 1030822696 . {{cite book }}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์ )
↑ Iwata, Kazunari; 岩田一成 (2018). "ローマ字 (the Roman alphabet)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 164. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 14.11 14.12 14.13 14.14 14.15 Saitō, Yoshio; 斎藤純男 (2015). Nihongo onseigaku nyūmon (ภาษาญี่ปุ่น) (Kaiteiban ed.). Tōkyō: Sanseidō. ISBN 4-385-34588-0 . OCLC 76917393 .
↑ 15.0 15.1 15.2 Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "母音 (vowel)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 145. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction . Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-107-61147-4 . OCLC 873763304 .
↑ 17.0 17.1 17.2 Vance, Timothy J. (2008). The sounds of Japanese . Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-61754-3 . OCLC 227031753 .
↑ 18.0 18.1 Sugitō, Miyoko; 杉藤美代子 (1997). "日本語音声の音声学的特徴" . Bme (ภาษาญี่ปุ่น). 11 (4): 2–8. doi :10.11239/jsmbe1987.11.4_2 .
↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 Harasawa, Itsuo; 原沢伊都夫 (2016). Nihongo kyōshi no tame no nyūmon gengogaku : enshū to kaisetsu (ภาษาญี่ปุ่น) (Shohan ed.). Tōkyō. ISBN 978-4-88319-739-2 . OCLC 964677472 .
↑ Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Akira Matsumura, 松村明, Shōgakkan. "Daijisen" Henshūbu, 小学館. 大辞泉編集部. Tōkyō. 2012. ISBN 9784095012131 . OCLC 928950458 .{{cite book }}
: CS1 maint: others (ลิงก์ )
↑ Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tokyō. p. 114. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ 22.0 22.1 Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "促音・拗音・撥音 (moraic obstruent/long vowel/moraic nasal)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 107. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "子音 (consonant)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 79. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Tsujimura, Natsuko (2013). An introduction to Japanese linguistics (3rd ed.). Hoboken. ISBN 978-1-118-58411-8 . OCLC 842307632 .
↑ "文化庁 | 国語施策・日本語教育 | 国語施策情報 | 内閣告示・内閣訓令 | 現代仮名遣い" . www.bunka.go.jp . สืบค้นเมื่อ 2021-06-22 .
↑ Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "口蓋音 (palatal sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 64. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "有声音・無声音 (voiced sound/voiceless sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 157. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). "heavy syllable พยางค์หนักมาก". พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา . กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 420. ISBN 978-616-389-060-3 . OCLC 1201694777 .
↑ Matsui, Michinao; 松井理直, 日本語開拗音の音声的特徴について (ภาษาญี่ปุ่น), doi :10.14946/00002100 , สืบค้นเมื่อ 2021-06-28
↑ Tanaka, Shin'ichi; 山田真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 114. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ Yamaoka, Kanako; 山岡華菜子 (2020). "モーラ・シラブル (mora/syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 153. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
↑ ยุพกา ฟูกุชิม่า (2018). การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ . กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-144-0 . OCLC 900808629 .
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา . กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตสภา. p. 4. ISBN 978-616-389-060-3 . OCLC 1201694777 .
↑ Shimoji, Michinori (2018). "Dialects". The Cambridge handbook of Japanese linguistics . Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN 978-1-316-88446-1 . OCLC 1030822696 .
↑ Hayashi, Yuka; 林由華 (2020). "琉球語 (the Ryukyuan language)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. ISBN 978-4-385-13580-9 . OCLC 1160201927 .
ผลงานที่อ้างอิง
Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese I: Inflection. Journal of the American Oriental Society , 66 , pp. 97–130.
Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese II: Syntax. Language , 22 , pp. 200–248.
Chafe, William L. (1976). Giveness, contrastiveness, definiteness, subjects, topics, and point of view. In C. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 25–56). New York: Academic Press. ISBN 0-12-447350-4 .
Dalby, Andrew. (2004). "Japanese," เก็บถาวร 2022-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Dictionary of Languages: the Definitive Reference to More than 400 Languages. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11568-1 , 978-0-231-11569-8 ; OCLC 474656178
Frellesvig, Bjarke (2010). A history of the Japanese language . Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65320-6 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17 .
Frellesvig, B.; Whitman, J. (2008). Proto-Japanese: Issues and Prospects . Amsterdam studies in the theory and history of linguistic science / 4. John Benjamins Publishing Company. ISBN 978-90-272-4809-1 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-26 .
Kindaichi, Haruhiko; Hirano, Umeyo (1978). The Japanese Language . Tuttle Publishing . ISBN 978-0-8048-1579-6 .
Kuno, Susumu (1973). The structure of the Japanese language . Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 0-262-11049-0 .
Kuno, Susumu. (1976). "Subject, theme, and the speaker's empathy: A re-examination of relativization phenomena," in Charles N. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 417–444). New York: Academic Press. ISBN 0-12-447350-4 .
McClain, Yoko Matsuoka. (1981). Handbook of modern Japanese grammar: 口語日本文法便覧 [Kōgo Nihon bumpō ]. Tokyo: Hokuseido Press. ISBN 4-590-00570-0 , 0-89346-149-0 .
Miller, Roy (1967). The Japanese language . Chicago: University of Chicago Press.
Miller, Roy (1980). Origins of the Japanese language: Lectures in Japan during the academic year, 1977–78 . Seattle: University of Washington Press. ISBN 0-295-95766-2 .
Mizutani, Osamu; & Mizutani, Nobuko (1987). How to be polite in Japanese: 日本語の敬語 [Nihongo no keigo ]. Tokyo: The Japan Times . ISBN 4-7890-0338-8 .
Robbeets, Martine Irma (2005). Is Japanese Related to Korean, Tungusic, Mongolic and Turkic? . Otto Harrassowitz Verlag. ISBN 978-3-447-05247-4 .
Okada, Hideo (1999). "Japanese". Handbook of the International Phonetic Association . Cambridge: Cambridge University Press. pp. 117–119.
Shibamoto, Janet S. (1985). Japanese women's language . New York: Academic Press. ISBN 0-12-640030-X . Graduate Level
Shibatani, Masayoshi (1990). The languages of Japan . Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-36070-6 . ISBN 0-521-36918-5 (pbk).
Tsujimura, Natsuko (1996). An introduction to Japanese linguistics . Cambridge, MA: Blackwell Publishers. ISBN 0-631-19855-5 (hbk); ISBN 0-631-19856-3 (pbk). Upper Level Textbooks
Tsujimura, Natsuko (Ed.) (1999). The handbook of Japanese linguistics . Malden, MA: Blackwell Publishers. ISBN 0-631-20504-7 . Readings/Anthologies
Vovin, Alexander (2010). Korea-Japonica: A Re-Evaluation of a Common Genetic Origin . University of Hawaii Press . ISBN 978-0-8248-3278-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18 .
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาในประเทศญี่ปุ่น
ภาษาประจำชาติ ภาษาของชนพื้นเมือง ภาษาของชนภายนอก ภาษาลูกผสม ภาษามือ