Share to:

 

หม่า ฮั่วเถิง

หม่า ฮั่วเถิง
马化腾
เกิด (1971-10-29) 29 ตุลาคม ค.ศ. 1971 (53 ปี)
ตงฟาง มณฑลไหหลำ ประเทศจีน
สัญชาติจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซินเจิ้น
อาชีพผู้ก่อตั้ง, ประธาน และกรรมการผู้จัดการเทนเซ็นต์
เว็บไซต์qq.com

หม่า ฮั่วเถิง (จีน: 马化腾; พินอิน: Mǎ Huàténg; 29 ตุลาคม ค.ศ. 1971 – ) ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม โพนี หม่า (อังกฤษ: Pony Ma)[2] เป็นทั้งนักธุรกิจระดับพ่อค้าใหญ่, นักลงทุน, นักการกุศล, วิศวกร, ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีชาวจีน เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง, ประธาน และกรรมการผู้จัดการเทนเซ็นต์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชีย หนึ่งในบริษัทด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงกลุ่มการลงทุน, การเล่นเกม และความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3][4][5] บริษัทควบคุมบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีบนมือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และบริษัทย่อยให้บริการสื่อ, การบันเทิง, ระบบการชำระเงิน, สมาร์ตโฟน, บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต, บริการคุณค่าเพิ่ม และบริการการโฆษณาออนไลน์ ทั้งในประเทศจีนและทั่วโลก

ในปี ค.ศ. 2007, 2014[6] และ 2018 นิตยสารไทม์ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก[7] ในขณะที่ปี ค.ศ. 2015 นิตยสารฟอร์บ ให้เครดิตเขาว่าเป็นหนึ่งในคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ส่วนในปี ค.ศ. 2017 นิตยสารฟอร์จูน ได้จัดอันดับให้เขาเป็นหนึ่งในนักธุรกิจชั้นนำแห่งปี[8][9] หม่าเป็นผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นและเป็นตัวแทนในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12[5]

หม่า ฮั่วเถิง เป็นหนึ่งใน "ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของนิตยสารฟอร์จูน"[10] เขาเป็นที่รู้จักกันในรูปแบบผู้ประกอบการที่โลว์โปรไฟล์เมื่อเทียบกับบุคลิกที่เข้าสังคมได้ง่ายของแจ็ก หม่า ทั้งนี้ หม่า ฮั่วเถิง ได้รับการเปรียบเทียบอย่างละเอียดกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันในการลงทุน และมักได้รับการพรรณาในฐานะ "ผู้เข้าซื้อกิจการที่มีความห้าวหาญ"[11][12][13][14][15][16][17]

ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 เขาได้เป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศจีน และร่ำรวยที่สุดอันดับ 14 ของโลก ด้วยมูลค่าสุทธิ 51.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 เขาแซงหน้าทั้งแลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ซึ่งกลายเป็นคนร่ำรวยที่สุดอันดับเก้าของโลก และเป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาในรายการผู้ชายที่ร่ำรวยที่สุด 10 อันดับของนิตยสารฟอร์บ[18][19][20][21]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

หม่าเกิดที่เขตเฉาหยาง ซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง เมื่อหม่า เฉินชู่ ซึ่งเป็นพ่อของเขาได้รับตำแหน่งผู้จัดการท่าเรือในเซินเจิ้นใกล้ฮ่องกง หม่าในวัยหนุ่มก็ได้เดินทางมาพร้อมกับเขา[22] หม่า ฮั่วเถิง เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเซินเจิ้นในปี ค.ศ. 1989 และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1993 ด้วยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์[23]

อาชีพ

การก่อตั้งเทนเซ็นต์และเริ่มต้นอาชีพ

งานแรกของหม่าคือไชนาโมชันเทเลคอมดีเวลลอปเมนท์ ผู้จัดจำหน่ายบริการและผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม ที่ซึ่งเขารับผิดชอบการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับวิทยุติดตามตัว เขาได้รับรายได้ 176 ดอลลาร์ต่อเดือน[24] เขายังทำงานให้กับบริษัท เซินเจิ้นรุ่นซุ่นคอมมูนิเคชัน จำกัด ในแผนกวิจัยและพัฒนาสำหรับบริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต[25]

หม่า ฮั่วเถิง ไปเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเทนเซ็นต์ในปี ค.ศ. 1998 พร้อมเพื่อนร่วมชั้นอีก 4 คน ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทมีมาหลังจากที่หม่าได้เข้าร่วมในงานนำเสนอสำหรับไอซีคิว ที่เป็นบริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีทางอินเทอร์เน็ตรายแรกของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 โดยบริษัทของประเทศอิสราเอล[25] แรงบันดาลใจจากแนวคิดดังกล่าว หม่าและทีมงานของเขาได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ที่คล้ายคลึงกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ด้วยอินเตอร์เฟซภาษาจีนและชื่อที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในชื่อโอไอซีคิว (หรือ โอเพนไอซีคิว)[26] ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และรวบรวมผู้ใช้ที่ลงทะเบียนไว้แล้วกว่าล้านรายภายในสิ้นปี ค.ศ. 1999 ทำให้เป็นหนึ่งในบริการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน[27]

พูดถึงการก่อตั้งเทนเซ็นต์ เขากล่าวกับไชนาเดลีในการสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ว่า “หากผมได้เห็นมากไปกว่านี้ ก็คือการยืนบนไหล่ของยักษ์” ซึ่งเป็การถ่ายความอ้างถึงไอแซก นิวตัน และการอ้างอิงความคล้ายคลึงกันระหว่างไอซีคิวและโอไอซีคิว "เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีอนาคต แต่ในเวลานั้นเราก็ไม่สามารถจ่ายได้" หม่าทบทวนความจำ[25] เพื่อที่จะแก้ปัญหา หม่าถามเรื่องเงินกู้ยืมจากธนาคารและได้พูดคุยเกี่ยวกับการขายบริษัท[28]

ตั้งแต่บริการโอไอซีคิวที่มีค่าของเทนเซ็นต์ ถูกนำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริษัทได้มองหานายทุนร่วมเพื่อรองรับต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ในปี ค.ศ. 2000 หม่าหันไปหาศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตของบริษัทที่ลงทุนในสหรัฐ และบริษัทแปซิฟิกเซ็นจูรีไซเบอร์เวิร์ก (PCCW) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในฮ่องกง ซึ่งซื้อหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ของเทนเซ็นต์จำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์[29] ด้วยตลาดเพจเจอร์ซึ่งอายุมากแล้ว หม่าได้ปรับปรุงแพลตฟอร์มการรับส่งข้อความโดยให้ผู้ใช้คิวคิวส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือ ครั้นแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของบริษัทมาจากข้อตกลงกับผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ตกลงที่จะแบ่งปันค่าข้อความ[28]

คดีเอโอแอลและการขยายธุรกิจ

หลังจากเอโอแอล (อเมริกาออนไลน์) ซื้อไอซีคิวในปี ค.ศ. 1998 บริษัทได้ฟ้องเทนเซ็นต์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการแห่งชาติในสหรัฐ โดยอ้างว่าชื่อโดเมนของคิวไอซีคิวอย่าง QICQ.com และ QICQ.net มีการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของไอซีคิว ซึ่งเทนเซ็นต์เป็นฝ่ายแพ้คดีและต้องปิดเว็บไซต์[25] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 เพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีอื่น ๆ หม่าได้เปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์เป็น "คิวคิว" (โดย "คิว" และ "คิวคิว" ใช้แทนคำว่า "คิวต์" ที่แปลว่า "น่ารัก")[30]

หลังจากคดีเอโอแอล หม่า ฮั่วเถิง ตัดสินใจขยายผลงานทางธุรกิจของเทนเซ็นต์ ในปี ค.ศ. 2003 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวพอร์ทัลของตัวเอง (QQ.com) และทำการบุกในตลาดเกมออนไลน์ ภายในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์กลายเป็นผู้บริการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีของจีนที่ใหญ่ที่สุด (ครอบครอง 74 เปอร์เซ็นต์ของตลาด)[28] กระตุ้นให้หม่าเข้าจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง[25] หลังจากที่บริษัทระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนเมื่อเดือนมิถุนายนได้จำนวน 200 ล้านดอลลาร์ หม่ากลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของจีนได้อย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 2004 เทนเซ็นต์ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มเกมออนไลน์และเริ่มจำหน่ายสินค้าเสมือนเพื่อสนับสนุนเกมที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดังกล่าว (อาวุธ, พลังในเกม) รวมทั้งอีโมติคอนและริงโทน[27]

ตามคำสั่งของหม่า เทนเซ็นต์ได้เปิดตัว Paipai.com ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับอีคอมเมิร์ซยักษ์อย่างอาลีบาบา[31]

จากการจำลองไมโครซอฟท์ของบิล เกตส์ หม่า ฮั่วเถิง สร้างทีมวิศวกรที่แข่งขันกันสองทีมในปี ค.ศ. 2010 และคิดค่าบริการด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หลังจากสองเดือน ทีมหนึ่งได้นำเสนอแอปสำหรับการส่งข้อความและการแชทเป็นกลุ่มคือเวยซิ่น ซึ่งเปิดตัวในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 ส่วนในปี ค.ศ. 2015 เวยซิ่น (หรือวีแชทในภาษาอังกฤษ) ได้เป็นแพลตฟอร์มการส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการใช้ 48 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด[27][32]

บริการที่หลากหลายอื่น ๆ โดยเทนเซ็นต์รวมถึงเว็บพอร์ทัล, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเกมออนไลน์หลายผู้เล่น[8] เกมออนไลน์ เช่น หยู่หลง และเลเจนด์ออฟซวนหยวน ช่วยเพิ่มรายได้ให้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกำไรสุทธิ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ[7]

ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2015 หม่าประกาศว่าเทนเซ็นต์จะสร้าง "โรงพยาบาลอินเทอร์เน็ต" ขึ้นที่เมืองอูเจิ้นซึ่งจะให้การวินิจฉัยทางไกลและการจัดส่งยา[33]

การเมือง

ตามเว็บไซต์เทนเซ็นต์อย่างเป็นทางการ หม่าเป็นการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ประชาชนเซินเจิ้นครั้งที่ 5 และการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนครั้งที่ 12[5]

เนื่องจากการครอบงำของเทนเซ็นต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์กและตลาดส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีในประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างหม่า ฮั่วเถิง กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนจึงได้รับการตรวจสอบซ้ำหลายครั้ง[ต้องการอ้างอิง] พูดถึงการเซ็นเซอร์ในการประชุมเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ หม่าได้รับการกล่าวถึงคำคมที่ว่า "ผู้คนจำนวนมากคิดว่าพวกเขาสามารถพูดออกมา และพวกเขาสามารถที่จะไม่รับผิดชอบ ผมคิดว่านั่นผิด […] เราเป็นผู้สนับสนุนที่ดีของรัฐบาลในแง่ของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เราพยายามที่จะมีการจัดการและการควบคุมอินเทอร์เน็ตให้ดีขึ้น"[34]

ชีวิตส่วนตัว

หม่าใช้ชื่อเล่นว่าโพนี ซึ่งมาจากการแปลภาษาอังกฤษของนามสกุลของเขา ที่หมายถึง “ม้า”[28] หม่า ฮั่วเถิง ไม่ค่อยปรากฏตัวในสื่อและเป็นที่รู้จักสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ซ่อนเร้นของเขา[35] ทั้งนี้ เขาเชื่อในหลักคำสอน: “แนวคิดไม่สำคัญในประเทศจีน – หากแต่เป็นการลงมือทำ”[32]

ความมั่งคั่งของหม่า ฮั่วเถิง มาจากสัดส่วนการถือหุ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์ในเทนเซ็นต์โฮลดิง มีรายงานว่าเขาเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงและชิ้นงานศิลปะมูลค่า 150 ล้านเหรียญ[36] เขาเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มีการปรับปรุงใหม่จำนวน 19,600 ตารางฟุตในฮ่องกง[36]

ในปี ค.ศ. 2016 หม่าโอนหุ้นเทนเซ็นต์จำนวน 2 พันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิการกุศลของเขา อย่างไรก็ตาม นิตยสารฟอร์บไม่ได้ลดมูลค่าสุทธิของเขาเนื่องจากหุ้นยังคงอยู่ภายใต้ชื่อของเขา[37]

อ้างอิง

  1. "Ma Huateng". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Pony Ma, the global strategist with deep pockets". Financial Times. 6 January 2018. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.
  3. "Tencent posts 69 percent jump in quarterly net profit; becomes the most valuable company in Asia". Tech2.
  4. Investing in China: The Emerging Venture Capital Industry Jonsson Yinya Li, Google Book Search
  5. 5.0 5.1 5.2 Tencent Tencent official site
  6. "The 100 Most Influential People in the World". Time. April 24, 2014.
  7. Biographical Dictionary of New Chinese Entrepreneurs and Business Leaders, Pg. 111 Ilan Alon and Wenxian Zhang. Edward Elgar Publishing, 2009. Google Book Search.
  8. "Businessperson of the Year". Fortune. 16 November 2017.
  9. Schuman, Michael. "Ma Huateng - pg.49". Forbes.
  10. "world's greatest leaders 2018".
  11. "Tencent's Pony Ma is Asian tech spaces' new Warren Buffett". www.dealstreetasia.com.
  12. "Huateng "Pony" Ma". Fortune. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-09-30.
  13. "Internet mogul Pony Ma named most generous Chinese philanthropist". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ).
  14. Flannery, Russell. "Tencent Rally Adds Billions to Chairman's Philanthropy Pile, Highlights China Influence". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  15. Flannery, Russell. "China Billionaire Horse Race: Tencent's Ma Huateng Is Asia's Richest Again". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Asia's Tech Scene Gets a New Warren Buffett". Bloomberg Quint (ภาษาอังกฤษ).
  17. Chanchani, Madhav (7 August 2015). "After Alibaba Holdings, Tencent makes first investment in Indian firm". The Economic Times.
  18. Walters, Natalie (17 August 2017). "Asia's Richest Man Jack Ma Has Become Much Wealthier This Year - See The Number". TheStreet.
  19. "Tencent Chief Overtakes Wanda's Wang as China's Second-Richest Person". Bloomberg.com. 20 July 2017.
  20. "Ma Huateng". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  21. "Ma Huateng became one of the top 10 richest men in the world, surpassing Larry Page and Sergey Brin". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  22. "Tencent's Ma Huateng is China's second-richest man on WeChat mania". www.livemint.com/. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  23. "Pony Ma - Founder, Executive Director & CEO @ Tencent Holdings | CrunchBase". www.crunchbase.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  24. "Tencent's Ma becomes China's second-richest man". www.businessspectator.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "A mysterious message millionaire". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  26. "Ma Huateng | Chinese entrepreneur". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  27. 27.0 27.1 27.2 "Tencent: The Secretive, Chinese Tech Giant That Can Rival Facebook and Amazon". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 "Pony Ma Biography - life, family, name, young, born, time, year, Career, Sidelights - Newsmakers Cumulation". www.notablebiographies.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  29. "Ten Years of Tencent -- Beijing Review". www.bjreview.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  30. "Language Log » A New Morpheme in Mandarin". languagelog.ldc.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  31. "Tech in Asia - Connecting Asia's startup ecosystem". www.techinasia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  32. 32.0 32.1 M, Swathi R. "Internet Users In Malaysia Are More Active On WhatsApp And Facebook Than Those In US, UK And China [REPORT]". Dazeinfo. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  33. "What are the next big things in the world of high technology? Let China's internet giants tell you". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  34. Fuchs, Christian (2015-01-09). Culture and Economy in the Age of Social Media. Routledge. ISBN 9781317558194.
  35. "Pony Ma and his Tencent". Luxatic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  36. 36.0 36.1 "Ma vs. Ma: The most expensive house in Hong Kong belongs to one of China's internet kings - but is it Jack or Pony?". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 2016-01-12.
  37. "Ma Huateng". Forbes (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
Kembali kehalaman sebelumnya