Share to:

 

องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก
World Trade Organization (อังกฤษ)
Organisation mondiale du commerce (ฝรั่งเศส)
Organización Mundial del Comercio (สเปน)
ก่อตั้ง1 มกราคม พ.ศ. 2538 (29 ปี)
ประเภทองค์การระหว่างรัฐบาล
วัตถุประสงค์ลดภาษีและลดอุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ
สํานักงานใหญ่ศูนย์วิลเลียม แรปพาร์ด เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พิกัด46°13′27″N 06°08′58″E / 46.22417°N 6.14944°E / 46.22417; 6.14944
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
164 ประเทศ (160 รัฐสมาชิกสหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, ฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวัน)[1]
ภาษาทางการ
อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน[2]
ผู้อำนวยการ
อึงโกซี อะโคนโจ-อิเวลา[3]
งบประมาณ
197.2 ล้านฟรังก์สวิส (ประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2020[4]
พนักงาน
640 คน[5]
เว็บไซต์www.wto.org

องค์การการค้าโลก (อังกฤษ: World Trade Organization, WTO; ฝรั่งเศส: Organisation mondiale du commerce, OMC; สเปน: Organización Mundial del Comercio, OMC) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลกทำหน้าที่ห้ามการเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศคู่ค้า แต่มีการกำหนดข้อยกเว้นไว้เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของชาติ และเป้าหมายที่สำคัญอื่น ๆ

องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนที่ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariffs and Trade) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 164 ประเทศและดินแดน.[6]

องค์การการค้าโลกมีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ทั้งสิ้น 197 ล้านฟรังก์สวิส (ราว 7,000 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 640 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่ออึงโกซี อะโคนโจ-อิเวลา

องค์การการค้าโลกทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อยทางการค้าเป็นจำนวนมากที่มีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีข้อตกลงทางการค้าที่อยู่ในอาณัติขององค์การการค้าโลกราว 60 ข้อตกลง ข้อตกลงที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services, GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของการค้า (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, TRIPS)[7]

ประวัติ

ก่อนจัดตั้งองค์การการค้าโลกขึ้นมาได้นี้ บรรดาประเทศสมาชิกทั้งปวงในโลกต่างประชุมเจรจาเรื่องนี้อยู่หลายปี ในที่สุดจึงสามารถทำความตกลงกันได้และลงนามในความตกลงกันเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2537 เรียกว่าความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลกมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยอิสระในส่วนที่เกี่ยวพันกับองค์การ องค์การการค้าโลกได้รับการก่อตั้งขึ้นเนื่องจากบรรดาประเทศภาคีความตกลงต่างเล็งเห็นว่า มีความจำเป็นที่ประเทศสมาชิกทั้งหลายจะต้องดำเนินการเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ ขยายการผลิตและการค้าสินค้าและบริการ ในขณะที่ให้มีการใช้ทรัพยากรของโลกให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างถาวร เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ จึงจำเป็นต้องกำหนดรูปแบบที่จะประกันว่า ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries) จะได้รับส่วนแบ่งจากความเติบโตของการค้าระหว่างประเทศที่พอเพียง และสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของตน ทั้งยังเห็นพ้องกันที่จะพัฒนาระบบการค้าพหุภาคี (Multilateral Trade System) ซึ่งรวมทุกเรื่องเข้าด้วยกันและมีผลในทางปฏิบัติและมีความคงทนถาวรมากขึ้น โดยรวมเข้าไว้ซึ่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์)

ผลของความพยายามในการเปิดเสรีทางด้านการค้าในอดีต และผลทั้งหมดของการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย หน้าที่สำคัญขององค์การการค้าโลก ได้แก่

  • อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตาม การบริหาร และการดำเนินการเพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ของความตกลงนี้ และความตกลงการค้าพหุภาคี
  • จัดให้มีเวทีเพื่อการเจรจาระหว่างสมาชิกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าพหุภาคีของสมาชิกเหล่านั้น
  • บริหารความเข้าใจว่าด้วยกฎและวิธีดำเนินการที่ใช้บังคับการระงับข้อพิพาท
  • บริหารกลไกทบทวนนโยบายทางการค้า และร่วมมือตามที่เหมาะสมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และกับธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา

อ้างอิง

  1. Members and Observers เก็บถาวร 10 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at WTO official website
  2. Languages, Documentation and Information Management Division เก็บถาวร 24 ธันวาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at WTO official site
  3. "Nigeria's Ngozi Okonjo-Iweala confirmed as WTO chief". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
  4. "WTO Secretariat budget for 2020". WTO official site. สืบค้นเมื่อ 20 February 2021.
  5. "WTO – What is the WTO? – What we stand for". www.wto.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2019. สืบค้นเมื่อ 28 March 2019.
  6. Members and Observers WTO official site
  7. "Legal texts – the WTO agreements". WTO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2010. สืบค้นเมื่อ 30 May 2010.


Kembali kehalaman sebelumnya