Share to:

 

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
International Criminal Police Organization
Organisation internationale de police criminelle
ชื่อทางการInterpol
อักษรย่อICPO-INTERPOL
คำขวัญConnecting police for a safer world
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งกันยายน 1923; 101 ปีที่แล้ว (1923-09)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สภาตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศสมัยแรก (1914)
  • ที่ประชุมตำรวจระหว่างประเทศ (1922)
  • คณะกรรมการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (1923)
เจ้าหน้าที่1,050 (2019)
งบประมาณรายปี142 ล้านยูโร (2019)
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานระหว่างประเทศ
ประเทศ194 ชาติสมาชิก
แผนที่เขตอำนาจของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
บัญญัติตราสาร
  • ICPO-INTERPOL Constitution and General Regulations[1][2]
สำนักงานใหญ่ลียง ประเทศฝรั่งเศส

หน่วยงานข้ามชาติ
Nationalities of personnel114 (2019)
ผู้บริหารหน่วยงาน
สิ่งอำนวยความสะดวก
สำนักงานกลางแห่งชาติ194
เว็บไซต์
interpol.int แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
สำนักงานใหญ่ตำรวจสากลในลียง
บัตรประจำตัวตำรวจสากล (ด้านหน้า)

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Criminal Police Organization; ย่อ: INTERPOL) หรือเรียก ตำรวจสากล เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่อำนวยความสะดวกในการร่วมมือกับตำรวจทั่วโลกและการควบคุมอาชญากรรม สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในลียงมีสำนักงานประจำภูมิภาค 7 แห่งทั่วโลกและสำนักงานกลางแห่งชาติในรัฐสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศทำให้เป็นองค์กรตำรวจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของอินเตอร์โปล ตั้งอยู่ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส

INTERPOL เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2457 ซึ่งนำเจ้าหน้าที่จาก 24 ประเทศมาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในฐานะคณะกรรมการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICPC) โดยมีหน้าที่หลายประการในปัจจุบันตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่เมื่อออสเตรียตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีในปีพ. ศ. 2481 หน่วยงานนี้ก็เกือบจะหยุดชะงักลงไปเลย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปีพ. ศ. 2499 ICPC ได้ประกาศรับใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ และรับชื่อ INTERPOL ซึ่งได้มาจากที่อยู่ย่อทางโทรเลข ที่ได้ใช้ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2489

ประวัติ

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ "อินเตอร์โปล" ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1923 เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือทุกองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจในการป้องกันหรือว่าปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเวียนนาเมืองหลวงของออสเตรีย

ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียถูกนาซีเยอรมนีบุกยึดครอง เมื่อออสเตรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน "อินเตอร์โปล" ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศออสเตรียจึงกลายเป็นหน่วยข้อมูลข่าวสารของตำรวจลับเกสตาโพ

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝ่ายนาซีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงได้มีความคิดที่จะก่อตั้ง "อินเตอร์โปล" ขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ความร่วมมือกันของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย "อินเตอร์โปล" จึงถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งปรับเลี่ยนโครงสร้างและการดำเนินงานใหม่ รวมถึงการย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมืองแซงต์ โคลด์ ประเทศฝรั่งเศส แต่ต่อมาได้มีการย้ายไปที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส จนถึงปัจจุบัน

องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากองค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 187 ประเทศทั่วโลก ดำเนินการโดยใช้เงินสมทบประจำปีจากชาติสมาชิก รวมแล้วประมาณ 30 ล้านยูโร หรือประมาณ 1,466 ล้านบาท

บทบาทหน้าที่

หน้าที่หลัก ของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ คือ การประสานงานเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและป้องกันการก่อการร้าย ขัดขวางและปราบปรามองค์กรอาชญากรรม การลักลอบผลิตและค้ายา การค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ การฟอกเงิน การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก รวมถึงอาชญากรรมทางการเงิน และการทุจริต

แต่เนื่องจาก องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ต้องรักษาสถานะความเป็นกลางทางการเมือง จึงไม่ได้มีหน้าที่และบทบาทในการเข้าไปสืบสวนและสอบสวนเรื่องต่างๆ ในประเทศสมาชิกนั้นๆ เอง กล่าวคือไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริง บทบาทหลักๆ เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางตำรวจให้กันและกันในระหว่างประเทศสมาชิกมากกว่า อีกทั้งไม่สามารถเข้าไปข้องเกี่ยวกับคดีใดๆ ที่ไม่ใช่คดีที่มีความเกี่ยวพันกันในหลายประเทศ รวมทั้ง คดีอาชญากรรมการเมือง การทหาร การศาสนา หรือเชื้อชาติด้วย

โครงสร้างขององค์กร

  • สมัชชาใหญ่ (General Assembly) เป็นหน่วยงานปกครองสูงสุด มีหน้าที่จัดการการประชุมตัวแทนประเทศสมาชิก เพื่อกำหนดบทบาท นโยบาย ทรัพยากร วิธีการทำงาน การเงิน กิจกรรมและโครงการต่างๆ ขององค์กร
  • คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ประกอบด้วยสมาชิก 13 คน ได้รับเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่ และประกอบด้วยประธาน 1 คน รองประธาน 3 คน และสมาชิกอีก 9 คนที่เหลือเป็นตัวแทนที่ครอบคลุม 4 ภูมิภาคต่างๆ ของโลก
  • สำนักเลขาธิการใหญ่ (General Secretariat) บริหารงานโดยเลขาธิการใหญ่ มีสำนักงานย่อยระดับภูมิภาค 6 แห่งอยู่ในอาร์เจนตินา โกตดิวัวร์ เอลซัลวาดอร์ เคนยา ไทย และซิมบับเว และมีสำนักงานเพื่อการประสานงานอยู่ที่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา
  • สำนักงานกลางแห่งชาติ (National Central Bureaus - NCB) ประเทศสมาชิกของอินเตอร์โปลแต่ละประเทศมีสำนักงานกลางแห่งชาตินี้ ที่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของชาตินั้นๆ หน่วยงานสำนักงานกลางแห่งชาตินี้มุ่งหมายให้เป็นจุดติดต่อประสานงานสำหรับสำนักเลขาธิการใหญ่ สำนักงานระดับภูมิภาค และประเทศสมาชิกต่างๆ อื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการสอบสวนและการชี้เบาะแสและการจับกุมผู้กระทำผิดที่กำลังหลบหนีอยู่ในระหว่างประเทศ
  • ที่ปรึกษา (Advisers) เป็นบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่มีความสามารถหรือว่าศักยภาพในการให้คำแนะนำต่างๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ปรึกษาเหล่านี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารและได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่
  • คณะกรรมาธิการสำหรับการควบคุมข้อมูลของอินเตอร์โปล (The Commission for the Control of INTERPOL’s Files) เป็นหน่วยงานอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ ในการประกันว่าการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของอินเตอร์โปล ให้คำแนะนำอินเตอร์โปลเกี่ยวกับโครงการ ปฏิบัติการ กฎเกณฑ์ หรือว่าเรื่องอื่นๆ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และมีหน้าที่ประมวลพิจารณาคำร้องขอเกี่ยวกับข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ข้อมูลของอินเตอร์โปล

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Constitution2008
  2. "General Regulations of the International Criminal Police Organization" (PDF). Interpol, Office of Legal Affairs. 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
Kembali kehalaman sebelumnya