Share to:

 

อังตอนียู ดึ ออลีไวรา ซาลาซาร์

อังตอนียู ดึ ออลีไวรา ซาลาซาร์
ภาพถ่ายบุคคลอย่างเป็นทางการของซาลาซาร์ ป. ค.ศ. 1968
นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส
ดำรงตำแหน่ง
5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 – 27 กันยายน ค.ศ. 1968[1]
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้าดูมิงกุช ออลีไวรา
ถัดไปมาร์แซลู ไกตานู
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน ค.ศ. 1961 – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1962
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าฌูลียู บูไตล์ยู มูนิช
ถัดไปมานูแวล โกมึช ดึ อาราอูฌู
ประธานาธิบดีโปรตุเกส
รักษาการ
18 เมษายน ค.ศ. 1951 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1951
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าออชการ์ การ์โมนา
ถัดไปฟรังซิชกู กราไวรู ลอปึช
รักษาการ
15 เมษายน ค.ศ. 1935 – 26 เมษายน ค.ศ. 1935
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าออชการ์ การ์โมนา
ถัดไปออชการ์ การ์โมนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการทหารเรือ
รักษาการ
30 มกราคม ค.ศ. 1939 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้ามานูแวล โอร์ติงช์ ดึ บึตึงโกร์ต
ถัดไปมานูแวล โอร์ติงช์ ดึ บึตึงโกร์ต
รักษาการ
25 มกราคม ค.ศ. 1936 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้ามานูแวล โอร์ติงช์ ดึ บึตึงโกร์ต
ถัดไปมานูแวล โอร์ติงช์ ดึ บึตึงโกร์ต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รักษาการ
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947[2]
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าอาร์มิงดู มงไตรู
ถัดไปฌูแซ กาไอรู ดา มาตา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม
รักษาการ
11 พฤษภาคม ค.ศ. 1936 – 6 กันยายน ค.ศ. 1944
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าอาบีลียู ปาซุช อี โซวซา
ถัดไปฟือร์นังดู ซังตุช กอชตา
รักษาการ
5 กรกฎาคม ค.ศ. 1932 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1932
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าอังตอนียู ลอปึช มาไตช์
ถัดไปดานีแวล รูดีกึช ดึ โซวซา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคม
รักษาการ
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 – 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930
นายกรัฐมนตรีดูมิงกุช ออลีไวรา
ก่อนหน้าเอดูวาร์ดู มาร์กึช
ถัดไปเอดูวาร์ดู มาร์กึช
รักษาการ
21 มกราคม ค.ศ. 1930 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1930
นายกรัฐมนตรีดูมิงกุช ออลีไวรา
ก่อนหน้าเอดูวาร์ดู มาร์กึช
ถัดไปเอดูวาร์ดู มาร์กึช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน ค.ศ. 1928 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 1940[2]
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าฌูแซ วีเซงตือ ดึ ไฟรตัส
ถัดไปฌูเวา ปิงตู ดา กอชตา ไลตือ
ดำรงตำแหน่ง
3 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1926
นายกรัฐมนตรีฌูแซ เมงดึช กาบึซาดัช
ก่อนหน้าฌูแซ เมงดึช กาบึซาดัช
ถัดไปฟีลูแมนู ดา กังมารา ดึ แมลู กาบรัล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
กรกฎาคม ค.ศ. 1921 – กันยายน ค.ศ. 1921
เขตเลือกตั้งกีมาไรช์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน ค.ศ. 1889(1889-04-28)
วีมีไยรู ซังตากงบาเดา ประเทศโปรตุเกส
เสียชีวิต27 กรกฎาคม ค.ศ. 1970(1970-07-27) (81 ปี)
ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
พรรคการเมืองสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1930–1970)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคคาทอลิกโปรตุเกส (ค.ศ. 1919–1930)
ความสูง1.75 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยกูอิงบรา (PhD)
วิชาชีพศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์
ลายมือชื่อ

อังตอนียู ดึ ออลีไวรา ซาลาซาร์ (โปรตุเกส: António de Oliveira Salazar; 28 เมษายน ค.ศ. 1889 – 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1970) เป็นรัฐบุรุษ นักวิชาการ และนักเศรษฐศาสตร์ชาวโปรตุเกส ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโปรตุเกสตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ถึง ค.ศ. 1968 ในช่วงสมัยเผด็จการแห่งชาติ (Ditadura Nacional) เขาได้ปรับระเบียบการปกครองใหม่สู่ระบอบอึชตาดูโนวู (Estado Novo; "รัฐใหม่") และเป็นผู้ปกครองของระบอบใหม่ในฐานะเผด็จการ โดยระบอบการปกครองที่เขาสร้างขึ้นนี้ดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1974 ถือเป็นหนึ่งในระบอบเผด็จการที่ยาวนานที่สุดในทวีปยุโรป

ซาลาซาร์เป็นศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์การเมืองที่มหาวิทยาลัยกูอิงบรา เขาเข้าสู่แวดวงการเมืองในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้รับการสนับสนุนจากออชการ์ การ์โมนา ประธานาธิบดีโปรตุเกส หลังจากรัฐประหาร 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 ทางกองทัพที่ยึดอำนาจได้มองตนเองว่าเป็นผู้พิทักษ์ชาติจากความไม่มั่นคงและความล้มเหลวของสาธารณรัฐที่หนึ่ง แต่ก็ไม่มีวิธีจัดการกับความท้าทายสำคัญที่เกิดขึ้นในตอนนั้น[3] ซาลาซาร์จึงได้รับอำนาจพิเศษ และเขาสามารถปรับสมดุลงบประมาณและสร้างเสถียรภาพทางการเงินของโปรตุเกสได้ภายในหนึ่งปี ตลอดจนสามารถสร้างส่วนเกินของงบประมาณมหาศาลได้เป็นครั้งแรก[4] เมื่อการเมืองของหลายประเทศกลายเป็นระบอบทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ เขาจึงได้ส่งเสริมการบริหารพลเรือนในระบอบเผด็จการ[3] โดยเป้าหมายของซาลาซาร์ คือ การล้มล้างการปลุกสำนึกทางการเมืองของสังคมมากกว่าการระดมกําลังของประชาชน[3]

ซาลาซาร์มีแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม สหการนิยม และเสรีนิยม การปกครองของเขาจึงมีลักษณะเป็นอนุรักษนิยม บรรษัทนิยม และชาตินิยมในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นทุนนิยมในระดับหนึ่งจนกระทั่งถึงช่วงสุดท้ายของการปกครองในทศวรรษ 1960[5] เขาห่างเหินจากระบอบนาซีและฟาสซิสต์ ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็น "พวกซีซาร์นิยมนอกรีต" ที่ไม่ยอมรับกฎหมาย ศาสนา หรือแม้แต่ขีดจำกัดทางศีลธรรม[6] ตลอดชีวิตของเขา ซาลาซาร์หลีกเลี่ยงการใช้วาทศิลป์แบบประชานิยม[7] และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดพรรคการเมือง โดยเมื่อ ค.ศ. 1930 เขาได้จัดตั้งสหภาพแห่งชาติ ซึ่งซาลาซาร์กล่าวว่าเป็นกลุ่มที่ "มิใช่พรรคการเมือง"[8] และได้ประกาศว่าสหภาพแห่งชาติจะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับพรรคการเมืองอย่างสิ้นเชิง[8] เขาสนับสนุนนิกายโรมันคาทอลิกแต่ได้แย้งว่าบทบาทของศาสนจักรคือสังคม ไม่ใช่การเมือง และมีการเจรจาความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล ค.ศ. 1940 ซึ่งแยกศาสนจักรจากรัฐ หนึ่งในคําขวัญของระบอบซาลาซาร์ คือ Deus, Pátria e Família ("พระเจ้า ปิตุภูมิ และครอบครัว") แม้ว่าเขาจะไม่เคยเปลี่ยนโปรตุเกสให้กลายเป็นรัฐศาสนาก็ตาม[9][10]

ซาลาซาร์ได้สนับสนุนฟรันซิสโก ฟรังโก ในสงครามกลางเมืองสเปน และมีบทบาทสำคัญในการรักษาความเป็นกลางของโปรตุเกสและสเปนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยังให้การช่วยเหลือและอนุเคราะห์แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร[11][12][13] แม้ว่าโปรตุเกสภายใต้การปกครองของเขาจะเป็นเผด็จการ แต่ก็มีส่วนร่วมในการก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศ โดยโปรตุเกสเป็นหนึ่งในสิบสองสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) ใน ค.ศ. 1949 ต่อมาได้เข้าร่วมสหภาพการชำระเงินยุโรปใน ค.ศ. 1950 และเป็นหนึ่งในสมาชิกแรกเริ่มของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) ใน ค.ศ. 1960 รวมถึงเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาใน ค.ศ. 1961 ภายใต้การปกครองของซาลาซาร์ โปรตุเกสยังได้เข้าร่วมความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าใน ค.ศ. 1961 และเริ่มต้นสงครามอาณานิคมโปรตุเกส

ช่วงปีระหว่างการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองจนถึง ค.ศ. 1973 ถือเป็นยุคที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในช่วงเวลานี้ ประเทศมีอัตราการเติบโตอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและเป็นเวลานาน หลังจากเศรษฐกิจซบเซาหรือตามหลังเศรษฐกิจโลกที่ร่ำรวยกว่ามากว่าศตวรรษ เศรษฐกิจของโปรตุเกสก็เริ่มไล่ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1960[14] ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของโปรตุเกสเมื่อเทียบกับสหภาพยุโรปสูงถึงร้อยละ 66 ใน ค.ศ. 1973 แต่หลังจากนั้นก็ลดลงเหลือร้อยละ 65 ใน ค.ศ. 2022[15]

แนวคิดพหุทวีปนิยม (Pluricontinentalismo) เป็นรากฐานของนโยบายด้านดินแดนของซาลาซาร์ ซึ่งต้องการให้จักรวรรดิโปรตุเกสเป็นรัฐเดี่ยวที่ครอบคลุมหลายทวีป หลังจากซาลาซาร์เกิดอาการป่วยใน ค.ศ. 1968 ประธานาธิบดี อาแมรีกู ตูมัช จึงขับเขาออกจากตําแหน่งนายกรัฐมนตรี[16]

อ้างอิง

  1. "Chefes do Governo desde 1821".
  2. 2.0 2.1 "Oliveira Salazar - Arquivo Nacional da Torre do Tombo".
  3. 3.0 3.1 3.2 Gallagher 2020, p. 2.
  4. Wiarda 1977, p. 94.
  5. Parecer sôbre a proposta de lei n.º 172 (Condicionamento industrial), Assembleia da República https://debates.parlamento.pt/catalogo/r2/dan/01/01/03/118S3/1937-02-18?sft=true#p7
  6. Kay 1970, p. 68-69.
  7. Gallagher 2020, p. 68.
  8. 8.0 8.1 Gallagher 2020, p. 43.
  9. Gallagher 1983, p. 60.
  10. Gallagher 2020, p. 64.
  11. Winston Churchill, 12 October 1943 Statement in the House of Commons. [1].
  12. Kay 1970, p. 123.
  13. Rendel 1957, p. 37.
  14. Amaral, L. (2019).The Estado Novo Period After World War II: The Golden Age of Economic Growth. In: The Modern Portuguese Economy in the Twentieth and Twenty-First Centuries. Palgrave Studies in Economic History. Palgrave Macmillan, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-24548-1_5
  15. Vinhas de Sousa, Lucio (11 March 2024). "Unhappy anniversary: Missed opportunities for growth and convergence in Portugal". CEPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 June 2024.
  16. Meneses 2009, pp. 608–609.

บรรณานุกรม

A mocidade e os princípios, 1889–1928 (3. ed. com estudo prévio pelo Joaquim Veríssimo Serrão). Vol. 1 (3a ed.). Porto [Portugal]: Civilização Editora. 2000 [1977]. ISBN 978-9722618397.
Os tempos áureos, 1928–1936 (2. ed.). Vol. 2. Porto: Livraria Civilização. 1977. ISBN 978-9722618403.
As grandes crises, 1936–1945. Vol. 3 (5a ed.). Porto: Livraria Civilização. 1978. ISBN 978-9722618434.
O ataque, 1945–1958. Vol. 4 (4a ed.). Porto: Livraria Civilização. 1980. ISBN 978-9722618441.
A resistência, 1958–1964. Vol. 5 (4 ed.). Porto: Livraria Civilização. 1984. ISBN 978-9722618410.
O último combate (1964–1970). Vol. 6. Porto [Portugal]: Civilização Editora. 1985.

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Baklanoff, Eric N (1992). "The Political Economy of Portugal's Later "Estado Novo": A Critique of the Stagnation Thesis". Luso-Brazilian Review. 29 (1): 1–17. JSTOR 3513163.
  • Costa Pinto, António. "The Portuguese 'New State' and the Diffusion of Authoritarian Models in Interwar Latin America". Journal of Contemporary History (2021): 00220094211066000.
  • Coyne, E.J. "Oliveira Salazar and the Portuguese Corporative Constitution". The Irish Monthly, vol. 64, no. 752, 1936, pp. 81–94.
  • Gallagher, Tom. "Salazar: Portugal's Great Dictator A contemporary of Hitler, Franco and Mussolini, Salazar is remembered by some of his compatriots as the greatest figure in the nation's history. Why?" History Today (Sept 2018) 68#9 online
  • Graham, Lawrence S. and Harry M. Makler. Contemporary Portugal: The Revolution and Its Antecedents (U of Texas Press, 1979)
  • Hamann, Kerstin, and Paul Christopher Manuel. "Regime changes and civil society in twentieth-century Portugal". South European Society and Politics 4.1 (1999): 71–96.
  • Kallis, Aristotle. "Unlikely Mediterranean authoritarian crossings: Salazar's Portugal as model for the 4th of August dictatorship in Greece (1936–1940)". in An Authoritarian Third Way in the Era of Fascism (Routledge, 2021) pp. 91–106.
  • Kay, Hugh. Salazar and Modern Portugal (1970) online
  • Payne, Stanley G. A History of Spain and Portugal (2 vol 1973) full text online vol 2 after 1700; standard scholarly history; chapter 27 pp. 663–683
  • Pereira, Pedro Teotónio (1987). Correspondência de Pedro Teotónio Pereira Oliveira Salazar (ภาษาโปรตุเกส). Presidência do Conselho de Ministros. Comissão do Livro Negro sobre o Regime Fascista.
  • Pimentel, Irene (2002). "Women's Organizations and Imperial Ideology under the Estado Novo". Portuguese Studies. 18: 121–131. doi:10.1353/port.2002.0014. JSTOR 41105184. S2CID 245843740.
  • Pinto, António Costa. "Looking for a third way: Salazar's dictatorship and the diffusion of authoritarian models in the era of fascism". in An Authoritarian Third Way in the Era of Fascism (Routledge, 2021) pp. 7–37.
  • Pitcher, M. Anne. Politics in the Portuguese Empire: The State, Industry, and Cotton, 1926–1974 (Oxford University Press, 1993)
  • Santos, Paula Borges. "Politics and religion under the dictatorship in Portugal (1933-1974): rebuilding the separation between the State and the Church". Storicamente (2020). online
  • Simpson, Duncan, and Ana Louceiro. "Everyday life under the PIDE: A quantitative survey on the relations between ordinary citizens and Salazar's political police (1955‐74)". International Journal of Iberian Studies 34.3 (2021): 195–216. online
  • Stoer, Stephen R; Dale, Roger (1987). "Education, State, and Society in Portugal, 1926–1981". Comparative Education Review. 31 (3): 400–418. doi:10.1086/446698. JSTOR 1188572. S2CID 143456417.
  • Weber, Ronald. The Lisbon Route: Entry and Escape in Nazi Europe (2011).
  • West, S. George (1938). "The Present Situation in Portugal". International Affairs. 17 (2): 211–232. doi:10.2307/2602248. JSTOR 2602248.
  • Wright, George (1997). The Destruction of a Nation: United States' Policy Towards Angola Since 1945. London: Pluto Press. ISBN 978-0-7453-1029-9.

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

  • Ribeiro De Meneses, Filipe. Slander, Ideological Differences, or Academic Debate? The "Verão Quente" of 2012 and the State of Portuguese Historiography, E-Journal of Portuguese History (2012), 10#1, pp. 62–77, Online.
  • Luís Nuno Rodrigues. The Creation of the Portuguese Legion in 1936, Luso-Brazilian Review, Vol. 34, No. 2 (1997), pp. 91–107.

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

  • Salazar, António de Oliveira (1939). Doctrine and Action: Internal and Foreign Policy of the New Portugal, 1928–1939. London: Faber and Faber. ASIN B00086D6V6.

ในภาษาโปรตุเกส

  • Coelho, Eduardo Coelho; António Macieira (1995). Salazar, o fim e a morte: história de uma mistificação; inclui os textos inéditos do Prof. Eduardo Coelho 'Salazar e o seu médico' e 'Salazar visto pelo seu médico' (1. ed.). Lisboa: Publ. Dom Quixote. ISBN 978-9722012720.
  • de Melo Rita, Maria da Conceição; Vieira, Joaquim (2007). Os meus 35 anos com Salazar (ภาษาโปรตุเกส) (1st ed.). Lisbon: A Esfera dos Livros. ISBN 978-9896260743. – Salazar seen by "Micas", one of his two adopted children.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า อังตอนียู ดึ ออลีไวรา ซาลาซาร์ ถัดไป
ดูมิงกุช ออลีไวรา นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส
(ค.ศ. 1932 – ค.ศ. 1968)
มาร์แซลู ไกตานู
ออชการ์ การ์โมนา ประธานาธิบดีโปรตุเกสชั่วคราว
(ค.ศ. 1951)
ฟรังซิชกู กราไวรู ลอปึช
Kembali kehalaman sebelumnya