อัญรูปอัญรูป (อังกฤษ: allotropy หรือ allotropism;กรีก: αλλος (allos), หรือ τροπος (tropos)) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธาตุเคมี ในธาตุหนึ่ง ๆ สามารถมีรูปแบบสองรูปแบบหรือมากกว่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัญรูป ของธาตุนั้น ๆ ในแต่ละอัญรูป อะตอมของธาตุมีพันธะเคมีเชื่อมต่อกันในรูปแบบที่ต่างกัน มีโครงสร้างต่างกันไป[1] อัญรูปนั้นไม่ใช่ไอโซเมอร์ที่เป็น สารประกอบ ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ตัวอย่างเช่น, คาร์บอนมี 2 อัญรูป: เพชรที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปหกเหลี่ยมทรงสี่หน้าและแกรไฟต์ที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปแผ่นตาข่ายหกเหลี่ยม อัญรูปหมายถึงความแตกต่างทางโครงสร้างในสถานะเดียวกันเท่านั้น (คือรูปแบบของแข็ง, ของเหลว หรือ แก๊ส) - การเปลี่ยนสถานะไม่ถือเป็นอัญรูป สำหรับในบางธาตุอัญรูปมีสูตรโมเลกุลต่างกันนั้น สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น อัญรูป 2 อัญรูปของออกซิเจน (ไดออกซิเจน, O2 และโอโซน, O3), ทั้งคู่มีสูตรโมเลกุลเหมือนเดิมทั้งในสภาวะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ตรงกันข้าม ในบางธาตุไม่สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น ฟอสฟอรัสมีอัญรูปมากมายในสถานะของแข็ง แต่จะกลายเป็นรูปแบบ P4 เหมือนกันทั้งหมดเมื่อละลายกลายเป็นของเหลว และยังมีอัญรูปที่สำคัญคือ อัญรูปของกำมะถันซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็นS8 แบ่งออกเป็น กำมะถันรอมบิก และกำมะถันมอนอคลินิก อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |