อันดับโลกหญิงฟีฟ่า
อันดับโลกหญิงฟีฟ่า (อังกฤษ: FIFA Women's World Rankings) สำหรับฟุตบอลได้มีการแนะนำให้รู้จักตั้งแต่ ค.ศ. 2003 [2] โดยมีการประกาศการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมของปีนั้น ตามการจัดอันดับโลกฟีฟ่าของทีมชาย โดยพยายามเปรียบเทียบถึงความแข็งแกร่งของฟุตบอลหญิงทีมชาติในช่วงเวลาต่าง ๆ รายละเอียดของระบบการจัดอันดับ
ผลจากสองอันดับแรกในระบบการจัดอันดับโลกหญิงฟีฟ่ามีความต่างจากระบบการจัดระดับฟุตบอลแบบอีโลเป็นอย่างมาก โดยการจัดอันดับสำหรับทีมที่แข่งขันน้อยกว่า 30 นัดควรจะได้รับการพิจารณาชั่วคราว ผู้นำผู้นำ
การจัดอันดับโลกหญิงฟีฟ่า ในวันที่ทีมชาติเยอรมนีและทีมชาติสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำเพียงสองทีมในการจัดอันดับ สองทีมนี้ได้เลื่อนขึ้นไปสองอันดับจากที่เคยอยู่อันดับสามตามที่ได้จัดไว้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 ทันทีหลังจากมีการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2003 มาจนกระทั่งการจัดอันดับในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ทีมชาติเยอรมนีอยู่อันดับสามถัดจากทีมชาตินอร์เวย์ที่อยู่ในสองอันดับแรก และหลุดออกจากสองอันดับแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยมีทีมชาติบราซิลเข้ามาแทนที่ กระนั้น ทีมชาติเยอรมนีก็ได้ประสบความสำเร็จในการป้องกันตำแหน่งฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหญิง 2009 และขึ้นมาอยู่ในสองอันดับแรกของการจัดอันดับในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 อีกครั้ง ที่พวกเธอยังคงอยู่ในอันดับดังกล่าว การจัดอันดับโลกฟีฟ่า/โคคา-โคล่าครั้งล่าสุดได้ประกาศ ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 จะเห็นได้ว่ามีหนึ่งการเปลี่ยนแปลงใน 10 อันดับแรกที่เคยจัดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้า โดยทีมชาติอังกฤษได้เลื่อนขึ้นไปสามอันดับ ในขณะที่ทีมชาติออสเตรเลียร่วงจากอันดับเก้ามาสู่อันดับที่ 11 ส่วนทีมชาติสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี และญี่ปุ่นยังคงอยู่ในสามอันดับแรก และถัดจากสามทีมดังกล่าว คือทีมชาติฝรั่งเศสที่ขึ้นมาหนึ่งอันดับโดยอยู่ในอันดับสี่ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดเท่าที่เคยจัดมาของทีม ส่วนทีมชาติสวีเดนก็ขึ้นมาหนึ่งอันดับโดยอยู่ในอันดับห้า ในขณะที่ทีมชาติบราซิลร่วงจากอันดับสี่ไปสู่อันดับหก ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดของทีมนี้ในรอบเกือบเจ็ดปี และทีมชาติแคนาดายังคงอยู่ในอันดับเจ็ด ส่วนทีมชาติเกาหลีเหนือขึ้นจากอันดับ 10 สู่อันดับเก้า และทีมชาตินอร์เวย์ตกไปสองอันดับโดยได้อยู่ในอันดับ 10 ทั้งนี้ มีสี่ทีมที่ได้ขึ้นมาอยู่ในอันดับสูงสุดเท่าที่เคยจัดมา ซึ่งได้แก่ ทีมชาติฝรั่งเศส ตลอดจนทีมชาติสกอตแลนด์ (อันดับที่ 19), ทีมชาติเบลเยียม (อันดับที่ 26) และทีมชาติชิลี (อันดับที่ 41)[3] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|