ฟีฟ่าคองเกรสฟีฟ่าคองเกรส (อังกฤษ: FIFA Congress) เป็นองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale de Football Association) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟีฟ่า ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาดในระดับนานาชาติ การประชุมมีทั้ง สมัยสามัญ และ สมัยวิสามัญ การประชุมสามัญจะจัดขึ้นทุกปี สภาฟีฟ่า (เดิมคือคณะกรรมการบริหาร) อาจเรียกประชุมสภาวิสามัญเมื่อใดก็ได้ หากได้รับความเห็นชอบด้วยมติ 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดของฟีฟ่า[1] สมาชิกฟีฟ่า จำนวน 211 ประเทศ แต่ละประเทศมีหนึ่งเสียงในสภา สมาชิกฟีฟ่าสามารถเสนอชื่อประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานฟีฟ่าได้ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่า และการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลก จะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลก และการเลือกตั้งประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิง จะมีขึ้นในการประชุมในปีถัดจากปีที่แข่งขันฟุตบอลโลกหญิง[2] ประวัติฟีฟ่าคองเกรสจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 1998 ก่อนหน้านี้จัดขึ้นทุกสองปี การประชุมใหญ่ไม่ได้จัดขึ้นระหว่างปี 1915 ถึง 1922 และ 1939 ถึง 1945 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองตามลำดับ การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าเกิดขึ้นในการประชุมคองเกรสครั้งที่ 1, 3, 12, 29, 30, 39, 51, 53, 61, 65, 69 และ 73 ฟีฟ่าครองเกรสสมัยวิสามัญเมื่อปี 1961 ในลอนดอน ได้เลือกสแตนลีย์ เราส์ เป็นประธาน [3] ฟีฟ่าคองเกรส สมัยวิสามัญประจำปี 2016 ที่ซือริช ได้เลือก จันนี อินฟันตีโน เป็นประธานคนใหม่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016[4] มีการเลือกตั้งเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่มีผู้สมัคร 2 คนขึ้นไป คือ ครั้งที่ 39 (1974), ครั้งที่ 51 (1988), ครั้งที่ 53 (2002), ครั้งที่ 65 (2015) และสมัยวิสามัญปี 2016 รายชื่อการประชุม การประชุมเลือกประธานฟีฟ่า
* การประชุมวิสามัญ
การประชุมเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก
การประชุมเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกหญิง
การประชุมวิสามัญมีการประชุมวิสามัญเกิดขึ้นทั้งหมด 8 ครั้ง เมื่อปี 1908 (บรัสเซลส์), 1953 (ปารีส), 1961 (ลอนดอน), 1999 (ลอสแอนเจลิส), 2001 (บัวโนสไอเรส), 2002 (โซล), 2003 (โดฮา) และ 2016 (ซูริค) [12] ในการประชุมสมัยวิสามัญปี 2016 เซ็พ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าในขณะนั้นจะยังคงอยู่ในตำแหน่งของเขาจนกว่าผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาจะได้รับเลือก[13] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเขาถูกแบน รักษาการประธานฟีฟ่า อีซา ฮายาตู จึงรับหน้าที่ดูแลฟีฟ่าแทน[14] ดูเพิ่มหมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |