Share to:

 

อัลเฟรท ฟ็อน เทียร์พิทซ์

อัลเฟรท ฟ็อน เทียร์พิทซ์
จอมพลเรือ ฟ็อน เทียร์พิทซ์ ค.ศ. 1916
เกิด19 มีนาคม ค.ศ. 1849(1849-03-19)
คึสทรีน มณฑลบรันเดินบวร์ค ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เสียชีวิต6 มีนาคม ค.ศ. 1930(1930-03-06) (80 ปี)
เอเบินเฮาเซิน เสรีรัฐบาวาเรีย สาธารณรัฐไวมาร์
รับใช้ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
 เยอรมนี
แผนก/สังกัด กองทัพเรือปรัสเซีย
Naval flag of จักรวรรดิเยอรมัน กองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมัน
ประจำการค.ศ. 1869–1916
ชั้นยศจอมพลเรือ (Großadmiral)
การยุทธ์สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
บำเหน็จพัวร์เลอเมรีท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวดำชั้นอัศวิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟรีดริช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วิกตอเรียชั้นสูงสุด

อัลเฟรท เพเทอร์ ฟรีดริช ฟ็อน เทียร์พิทซ์ (เยอรมัน: Alfred Peter Friedrich von Tirpitz) เป็นจอมพลเรือแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือระหว่าง ค.ศ. 1897–1916 ซึ่งก่อนที่จักรวรรดิเยอรมันจะถูกสถาปนาใน ค.ศ. 1872 นั้น ปรัสเซียไม่เคยมีกองทัพเรือเป็นอย่างจริงเป็นจังมาก่อน เทียร์พิทซ์เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนปฏิรูปกองทัพเรือปรัสเซียให้มีความทันสมัยในคริสต์ทศวรรษ 1890 การปฏิรูปทำให้กองทัพเรือเยอรมันกลายเป็นกองทัพเรือชั้นนำของโลก มีแสนยานุภาพเป็นรองแต่เพียงราชนาวีอังกฤษเท่านั้น แม้จะเป็นกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อเป็นเบอร์สอง แต่ก็ยังไม่แข็งแกร่งพอจะเผชิญหน้ากับราชนาวีอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้

เทียร์พิทซ์เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายเรือปรัสเซียใน ค.ศ. 1865 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย นักเรียนนายเรือเทียร์พิทซ์ได้รับมอบหมายไปประจำบนเรือตรวจการณ์ในช่องแคบอังกฤษ เขาได้รับการติดยศเรือตรีในปีค.ศ. 1869 ต่อมาในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างปรัสเซียและอังกฤษยังค่อนข้างดีอยู่ ทำให้เรือของเทียร์พิทซ์มีโอกาสได้ขึ้นเทียบท่าอังกฤษบ่อยครั้ง[1] เทียร์พิทซ์สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วมาก จากนั้นเทียร์พิทซ์ก็มีความก้าวหน้าในราชการทหารตามลำดับ เทียร์พิทซ์ให้ความสำคัญกับการคิดค้นตอร์ปิโดเป็นอย่างมาก เขามองว่าอาวุธใหม่นี้จะช่วยเสริมสร้างเขี้ยวเล็บของกองทัพเรือเยอรมันอย่างก้าวกระโดด เทียร์พิทซ์เคยระบุถึงช่วงเวลาที่ทำงานกับเรือตอร์ปิโดว่า "เป็นสิบเอ็ดปีที่ดีที่สุดในชีวิต"[2]

ใน ค.ศ. 1890 นาวาเอกเทียร์พิทซ์ได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการหมู่เรือบอลติก เขามีโอกาสได้เข้าเฝ้าไคเซอร์วิลเฮ็ล์มและถวายความเห็นในการพัฒนากองทัพเรือ ความเห็นของเขาเป็นที่พอพระทัยมาก เก้าเดือนต่อมาเขาถูกย้ายไปประจำในกรุงเบอร์ลินเพื่อทำงานด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ในการจัดตั้งกองเรือทะเลไกล เขาดึงคนสมัยที่ทำงานด้านเรือตอร์ปิโดมาร่วมงานด้วยหลายคน นาวาเอก เทียร์พิทซ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพเรือใน ค.ศ. 1892 และได้ยศพลเรือตรีใน ค.ศ. 1895 เขากลายเป็นนายทหารเรือคนโปรดของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3

อ้างอิง

  1. Massie p.166
  2. Massie p.167

บรรณานุกรม

  • Massie, Robert K. (1992). Dreadnought: Britain, Germany, and the Coming of the Great War. London: Jonathan Cape. ISBN 0-224-03260-7.


Kembali kehalaman sebelumnya