อำเภอนาเชือก
นาเชือก เป็นอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน[1][2] ซึ่งมีปูทูลกระหม่อม ค้นพบในปี พ.ศ. 2536 เป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกที่เป็นสัตว์ถิ่นเดียวในโลกที่สามารถพบได้ที่ป่าดูนลำพัน โดยขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภอนาเชือกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มีประชาชนอยู่หนาแน่นและห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ ได้รับความลำบากในการติดต่อราชการ ในปี พ.ศ. 2482 ประชาชนตำบลนาเชือก โดยการนำของ นายประกิจ ปะวะโก สมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคาม ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมสภาจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอให้ทางราชการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในท้องที่ตำบลนาเชือก สภาจังหวัดรับหลักการและจังหวัดให้นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอบรบือ จัดการสำรวจสถิติเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น เนื่องจากเหตุผลบางประการเรื่องนี้จึงได้สะดุดหยุดลง แต่ประชาชนก็ยังมีความต้องการและเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอตามความต้องการเรื่อยมา ปี พ.ศ. 2496 สภาจังหวัดให้นายอำเภอบรบือและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ร่วมกันทำการสำรวจพื้นที่จัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น และเลือกพื้นที่ระหว่างบ้านนาเชือกกับบ้านกุดรัง เป็นที่ตั้งที่ว่าการซึ่งเป็นทำเลที่ดีในการวางผังเมือง และปี พ.ศ. 2500 กระทรวงมหาดไทยจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอ แต่ระงับเนื่องจากผู้รับเหมาเลิกสัญญา ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้จัดสรรงบประมาณดำเนินการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอจนแล้วเสร็จ[3] ทางจังหวัดได้มอบหมายให้ นายเวศ สุริโย นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง เพราะที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ในเขตท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เดือนมีนาคม พ.ศ. 2503 มีการเปลี่ยนเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม เนื่องจากเตรียมกตั้งกิ่งอำเภอนาเชือก โดยโอนพื้นที่ตำบลนาเชือกกับพื้นที่หมู่ 9–16 ของตำบลนาภู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย รวมทั้งพื้นทีหมู่ 6,8,10–15,20,22 ของตำบลนาดูน และพื้นที่หมู่ 2,8,11–16,18 ของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม มาขึ้นกับอำเภอบรบือ[4] ก่อนที่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ได้ประกาศแยกตำบลนาเชือก ตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มาตั้งเป็น "กิ่งอำเภอนาเชือก"[5] เปิดใช้ที่ทำการกิ่งอำเภอในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอ พ.ศ. 2504 กิ่งอำเภอนาเชือกจัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 3 ตำบล โดยแยก 13 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ ตั้งเป็น ตำบลสำโรง กับแยก 19 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก ตั้งเป็น ตำบลปอพาน และแยก 10 หมู่บ้านของตำบลนาเชือกรวมกับ 5 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ ตั้งเป็น ตำบลหนองโพธิ์[6] เนื่องจากผ่านหลักเกณฑ์การตั้งอำเภอต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล จึงตั้งเป็น อำเภอนาเชือก[7] ในปี พ.ศ. 2506 มีการปกครองทั้งหมด 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาเชือก ตำบลเขวาไร่ ตำบลสำโรง ตำบลปอพาน และตำบลหนองโพธิ์ ท้องที่ว่าการอำเภอนาเชือกมีความเจริญขึ้นจึงตั้งสุขาภิบาลนาเชือก[8] เพื่อดูแลท้องที่ และปี พ.ศ. 2512 ได้จัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 3 ตำบล โดยแยก 11 หมู่บ้านของตำบลปอพาน รวมกับ 1 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก ตั้งเป็น ตำบลหนองเม็ก กับแยก 6 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ รวมกับ 4 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลหนองเรือ และแยก 8 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก รวมกับ 3 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลหนองกุง[9] มีการตั้งกิ่งอำเภอนาดูน ในพื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ได้แก่ หมู่ที่ 4,7,9,11 สะดวกไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่นี้ จึงโอนพื้นที่ 4 หมู่บ้านไปขึ้นกับกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม ในปี พ.ศ. 2515[10] ต่อมาปี พ.ศ. 2519 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลสำโรง ตั้งเป็น ตำบลหนองแดง[11] และในปี พ.ศ. 2534 ได้แยก 7 หมู่บ้านของตำบลหนองกุง รวมกับ 3 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลสันป่าตอง[12] เป็นตำบลลำดับที่ 10 ของทางอำเภอนาเชือก จนถึงปัจจุบััน การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภอนาเชือกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 145 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภอนาเชือกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
|