อำเภอวัดสิงห์ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Wat Sing |
---|
|
คำขวัญ: หลวงปู่ศุขมิ่งเมือง นามกระเดื่อง เครื่องจักสาน ขนมหวานตำนานไทย ต้นน้ำใหญ่ท่าจีน |
แผนที่จังหวัดชัยนาท เน้นอำเภอวัดสิงห์ |
พิกัด: 15°15′19″N 100°2′17″E / 15.25528°N 100.03806°E / 15.25528; 100.03806 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ชัยนาท |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 315.318 ตร.กม. (121.745 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 24,860 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 78.84 คน/ตร.กม. (204.2 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 17120 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 1803 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์ หมู่ที่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 17120 |
---|
|
วัดสิงห์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยนาท เป็นที่ตั้งของวัดปากคลองมะขามเฒ่าซึ่งมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต คือพระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม หลวงปู่ศุข[1] และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำท่าจีนที่ปากคลองมะขามเฒ่า ช่วงผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า"
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวัดสิงห์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติ
อำเภอวัดสิงห์สมัยก่อนไม่มีที่ทำการแน่นอน ต่อมาประมาณก่อนปี พ.ศ. 2449[2] ได้มีการก่อสร้างอำเภอขึ้นเป็นครั้งแรก ในที่ดินของหลวงชิงและคุณยายอึ่ง ในสมัยของหลวงไชยเขตต์ (พระยาธานินทร์ดกกิจ) นายอำเภอคนแรก ที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์หลังแรกตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีนเป็นอาคารไม้ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลวัดสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า เนื้อที่ ประมาณ 40 ไร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการสร้างที่ว่าอำเภอหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น เนื่องจากอาคารเดิมชำรุดทรุดโทรม ซึ่งได้เปิดใช้อาคารเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา
ท้องที่อำเภอวัดสิงห์มีตลาดเป็นที่ประชุมชน มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น มีการคมนาคมและการค้าขายเจริญมาก ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงได้จัดตั้ง "เทศบาลตำบลวัดสิงห์" ขึ้น เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480[3] เป็นเทศบาลตำบลแห่งแรกของจังหวัดชัยนาท ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังเทศบาลเมืองชัยนาทเพียง 3 เดือน จึงนับได้ว่าอำเภอวัดสิงห์เป็นอำเภอที่มีความเจริญมากมาตั้งแต่ในอดีต สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี บริเวณด้านตะวันตกของเทศบาลเป็นสถานที่ชุมนุมการค้า จำเป็นที่จะต้องขยายตลาดวัดสิงห์ออกไปให้พ้นจากคันกั้นน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จึงปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เหมาะสมแก่การปกครองและทะนุบำรุง[4] และตัดพื้นที่ตำบลอื่นที่อยู่ในเขตเทศบาลมารวมอยู่ในตำบลเดียว[5] เพื่อให้พื้นที่บริเวณเทศบาลอยู่ในเขตการปกครองของตำบลเดียวและเพื่อประโยชน์ในการดูแลเทศบาล
- วันที่ 4 มิถุนายน 2449 สร้างที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์ แขวงชัยนาท[2]
- วันที่ 4 มกราคม 2473 ตั้งตำบลหนองน้อย แยกออกจากตำบลวัดสิงห์ และตำบลหนองขุ่น ตั้งตำบลหนองมะโมง แยกออกจากตำบลกุดจอก[6]
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลวัดสิงห์ จัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลวัดสิงห์[3]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหนองขุ่น แยกออกจากตำบลบ่อแร่ ตำบลมะขามเฒ่า และตำบลหนองบัว ตั้งตำบลหนองมะโมง แยกออกจากตำบลกุดจอก[7]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2497 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์ เพื่อความเหมาะสมแก่การบริหารกิจการท้องถิ่น[4] โดยขยายพื้นที่ไปถึงหมู่ 3 บางส่วน ตำบลมะขามเฒ่า และหมู่ 5 บางส่วน ตำบลหนองบัว
- วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2498 โอนพื้นที่หมู่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า และหมู่ 5 ตำบลหนองบัว (เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าในเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์) ไปรวมกับตำบลวัดสิงห์[5]
- วันที่ 30 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลวังตะเคียน แยกออกจากตำบลหนองมะโมง[8]
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลสะพานหิน แยกออกจากตำบลกุดจอก[9]
- วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลวังหมัน แยกออกจากตำบลหนองน้อย[10]
- วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลหนองมะโมง ตำบลวังตะเคียน ตำบลสะพานหิน และตำบลกุดจอก อำเภอวัดสิงห์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองมะโมง ขึ้นกับอำเภอวัดสิงห์[11]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองมะโมง อำเภอวัดสิงห์ เป็น อำเภอหนองมะโมง[12]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอวัดสิงห์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[13]
|
1.
|
วัดสิงห์
|
Wat Sing
|
–
|
3,117
|
2.
|
มะขามเฒ่า
|
Makham Thao
|
11
|
5,096
|
3.
|
หนองน้อย
|
Nong Noi
|
8
|
3,626
|
4.
|
หนองบัว
|
Nong Bua
|
5
|
2,853
|
5.
|
หนองขุ่น
|
Nong Khun
|
8
|
3,559
|
6.
|
บ่อแร่
|
Bo Rae
|
7
|
2,353
|
7.
|
วังหมัน
|
Wang Man
|
8
|
4,443
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวัดสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดสิงห์ทั้งตำบล (มีฐานะเป็นท้องถิ่นเทศบาลตำบลนับแต่แรกตั้ง)[3]
- เทศบาลตำบลหนองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองน้อยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองขุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขุ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามเฒ่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหมันทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|