อำเภอสรรพยา |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Sapphaya |
---|
|
คำขวัญ: เขาสรรพยาบรรพต หวานเลิศล้ำ รสน้ำตาล แชมพูว่านหางจระเข้ จักสาน เปลผักตบชวา ล้ำคุณค่าหอพระไตร เขื่อนใหญ่เจ้าพระยา |
แผนที่จังหวัดชัยนาท เน้นอำเภอสรรพยา |
พิกัด: 15°8′15″N 100°14′35″E / 15.13750°N 100.24306°E / 15.13750; 100.24306 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ชัยนาท |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 228.3 ตร.กม. (88.1 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 39,789 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 174.28 คน/ตร.กม. (451.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 17150 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 1804 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสรรพยา หมู่ที่ 4 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150 |
---|
|
สรรพยา [สับ-พะ-ยา][1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยนาท
ประวัติ
อำเภอสรรพยา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดชัยนาท มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่อำเภอ สภาพบ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดแนวฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง เนื่องจากการคมนาคมในอดีตอาศัยทางน้ำเป็นหลัก สังเกตจากสภาพชุมชนปรากฏว่ามีชุมชนหนาแน่น เป็นทั้งย่านการค้าและอยู่อาศัยหลายแห่ง แต่ในปัจจุบันมีถนนสายชัยนาท – สิงห์บุรี และสายเอเชีย ตัดผ่าน มีสะพานสรรพยาเชื่อมระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้ประชาชนนิยมใช้การคมนาคมทางบกเป็นหลัก
บริเวณตอนล่างมีภูเขาลูกเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า “เขาสรรพยา” ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนึ่งว่า เมื่อพระลักษณ์ถูกหอกโมกข์ศักดิ์ของกุมกรรณ หนุมานได้อาสามาเอาตัวยาชื่อ “สังกรณี” และ “ตรีชวา” ณ ที่ “เขาสรรพยา” แห่งนี้ เพื่อนำไปบดเป็นกษัยผสมกับน้ำในแม่น้ำมหานทีใช้เป็นยา[2]
- วันที่ 31 พฤษภาคม 2468 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดชัยนาท โดยโอนพื้นที่ตำบลเขาแก้ว และตำบลโพนางดำ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มาขึ้นกับ อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท[3]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2483 เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในอำเภอสรรพยา โดยให้ยุบตำบลโพนางดำ รวมกับตำบลสรรพยา และตำบลหาดอาษา และยุบตำบลเขาแก้ว รวมกับตำบลหาดอาษา และตำบลเสือโฮก
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโพนางดำตก แยกออกจากตำบลสรรพยา ตั้งตำบลโพนางดำออก แยกออกจากตำบลหาดอาษา ตั้งตำบลเขาแก้ว แยกออกจากตำบลหาดอาษา และตำบลเสือโฮก[4]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสรรพยา ในท้องที่บางส่วนของตำบลสรรพยา[5]
- วันที่ 22 พฤศจิกายน 2504 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสรรพยาและอำเภอเมืองชัยนาท โดยโอนพื้นที่ตำบลเสือโฮก และโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลตลุก อำเภอสรรพยา ไปขึ้นกับอำเภอเมืองชัยนาท[6]
- วันที่ 9 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลโพนางดำ ในท้องที่บางส่วนของหมู่ที่ 2 ตำบลโพนางดำตก[7]
- วันที่ 11 สิงหาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสรรพยา[8] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลสรรพยา และสุขาภิบาลโพนางดำ เป็นเทศบาลตำบลสรรพยา และเทศบาลตำบลโพนางดำ ตามลำดับ[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 16 เมษายน 2552 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสรรพยา[10] ให้มีอาณาเขตที่ถูกต้องแม่นยำ โดยกำหนดให้ตำบลสรรพยา ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลโพนางดำออก ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ตำบลโพนางดำตก ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน ตำบลบางหลวง ให้มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน ตำบลตลุก ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน ตำบลเขาแก้ว ให้มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน และตำบลหาดอาษา ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
- วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลโพนางดำ เป็นเทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์[11]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสรรพยาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสรรพยาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12]
|
1.
|
สรรพยา
|
Sapphaya
|
7
|
5,994
|
2.
|
ตลุก
|
Taluk
|
12
|
8,364
|
3.
|
เขาแก้ว
|
Khao Kaeo
|
6
|
3,008
|
4.
|
โพนางดำตก
|
Pho Nang Dam Tok
|
6
|
6,234
|
5.
|
โพนางดำออก
|
Pho Nang Dam Ok
|
8
|
5,166
|
6.
|
บางหลวง
|
Bang Luang
|
7
|
5,236
|
7.
|
หาดอาษา
|
Hat Asa
|
9
|
6,169
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอสรรพยาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง แบ่งออกเป็น 8 เทศบาลตำบล และ 1 องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่
- เทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพนางดำตก
- เทศบาลตำบลสรรพยา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสรรพยา
- เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหาดอาษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดอาษาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตลุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลุกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโพนางดำออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนางดำออกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโพนางดำตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนางดำตก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์)
- เทศบาลตำบลเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสรรพยา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสรรพยา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแก้วทั้งตำบล
อ้างอิง
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท". สืบค้นเมื่อ May 22, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลเขาแก้ว กับตำบลโพนางดำ ท้องที่อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และตำบลห้วยชัน ท้องที่อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 41–42. May 31, 1925.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-2. August 3, 1956.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสรรพยา และอำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (96 ก): (ฉบับพิเศษ) 25-26. November 22, 1961.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพนางดำ อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (35 ง): 993–994. April 9, 1963.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 7-8. August 11, 1993.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองฉาง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (167 ง): 3262–3269. September 25, 1979.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (80 ง): 2. May 27, 2010.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|