อำเภออุ้มผาง
อุ้มผาง เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภออุ้มผาง พ.ศ. 2502 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 อำเภออุ้มผางเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอเมืองมากที่สุดในประเทศไทย[1] มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคตะวันตกคือ ยอดเขากะเจอลา มีความสูง 2,152 เมตร[ต้องการอ้างอิง] โดยพื้นที่ตอนล่างของอำเภอ ยังเป็นที่ตั้งของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกอีกด้วย ที่ตั้งและอาณาเขตอำเภออุ้มผางตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ที่มาของชื่ออำเภอ"อุ้มผาง" มีที่มาจากการสันนิษฐานของทางราชการว่ามาจากคำว่า "อุพะ" ที่เป็นคำเรียกกระบอกไม้ไผ่สำหรับเก็บเอกสารเดินทางในภาษาปกากะญอ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขารกทึบ การเดินทางลำบากและเอกสารฉีกขาดได้ง่าย ดังนั้นการเก็บเอกสารจึงต้องม้วนเก็บในกระบอกไม้ไผ่และมีฝาจุกปิดมิดชิด เมื่อเดินทางมาถึงด่านตรวจก็จะเปิดกระบอกไม้ไผ่เพื่อแสดงเอกสาร ชาวกะเหรี่ยงจะเรียกเอกสารนี้ว่า "อุพะ" ซึ่งต่อมาได้ออกเสียงเพี้ยนมาเป็น "อุ้มผาง" จึงได้กลายมาเป็นชื่ออำเภอในปัจจุบันนี้ ในขณะที่ชาวปกากะญอหลายคนกล่าวว่ามาจากคำว่า "อูกึผะ" แปลว่า ไฟจะไหม้ไปทั่ว โดยได้อธิบายความหมายว่า "สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดและขยายไปทั่วไป" ประวัติอุ้มผางในอดีตเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ต่อมาก็มีคนไทยจากภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ ได้อพยพหาที่ทำกินใหม่มาบุกเบิกป่าอุ้มผางเป็นที่อยู่อาศัย และเมื่อปี พ.ศ. 2432 ได้ถูกกำหนดให้เป็นเมืองหน้าด่านชายแดนตะวันตกในชื่อ อำเภอแม่กลอง ขึ้นตรงกับจังหวัดอุทัยธานี เป็นจุดตรวจตราชาวพม่าที่เดินทางเข้ามาค้าขายในประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจเอกสารเดินทาง พ.ศ. 2468 ทางการได้ยุบอำเภออุ้มผางเป็น กิ่งอำเภออุ้มผาง และโอนการปกครองจากจังหวัดกำแพงเพชรให้ไปขึ้นกับจังหวัดตาก ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2502 ทางการได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็น อำเภออุ้มผาง และให้ขึ้นกับจังหวัดตาก[2] พ.ศ. 2514 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง มีการสู้รบกันบ้างระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐคือตำรวจตระเวนชายแดน น.ป.พ. และ อ.ส. ช่วง พ.ศ. 2527 เหตุการณ์ได้ยุติลงด้วยการใช้นโยบาย 66/2523 มีมวลชนที่กลับใจและเข้ามามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยประมาณสองพันกว่าคน ความสงบสุขจึงกลับมาสู่ชาวอุ้มผางอีกครั้ง หลังจากเป็นเมืองปิดมาช้านาน ทางการได้ทำการตัดถนนจากอำเภอแม่สอดสู่อำเภออุ้มผาง ลัดเลาะตามไหล่เขาและสันเขา 164 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่มาของชื่อถนนสายลอยฟ้า ใช้เวลาก่อสร้างกว่า 10 ปี เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 [3] เมื่อเรื่องราวในอดีตปิดตัวเองลง ประตูแห่งเมืองท่องเที่ยวก็ได้เปิดออกเมื่อนายแพทย์บรรลือ กองไชย ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ท่านได้ชักชวนให้นิตยสารการท่องเที่ยวเข้ามาชมและถ่ายทำสกู๊ปลงหนังสือจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกได้รู้จักอุ้มผาง ในปัจจุบันคนอุ้มผางไม่น้อยที่หันมาทำธุรกิจท่องเที่ยว เริ่มจากการใช้แพไม้ไผ่ล่องแก่งและพัฒนามาเป็นเรือยาง โดยได้รับคำแนะนำในการท่องเที่ยวจากภาครัฐในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคอำเภออุ้มผางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 36 หมู่บ้าน[14] ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่อำเภออุ้มผางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
กลุ่มชาติพันธุ์ประชากรในเขตอำเภออุ้มผางประกอบด้วย 4 ชาติพันธุ์ คือ ไทย ม้ง ปกากะญอ และโพล่ว ภาษาไทยเหนือเรียกปกากะญอว่า ยาง ปัจจุบันใช้คำว่ากะเหรี่ยงดอย ส่วนโพล่วปัจจุบันเรียกว่า กะเหรี่ยงน้ำ
นอกจากนี้ยังมีชาวไทยในพม่าอพยพกลับมาอยู่ที่บ้านเปิ่งเคลิ่ง ภาษาคนกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับภาษาลาว ปกากะญอและโพล่วตั้งถิ่นฐานที่นี่มากว่า 200 ปี สองชาติพันธุ์นี้ใกล้เคียงกันมาก วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมมีจุดร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ การแต่งกาย ภาษา และรายละเอียดการปฏิบัติต่างกันเล็กน้อย ในตำนานของเขาบอกว่าพวกเขาเป็นพี่น้องกัน รวมถึงตอซู (ต้องสู้) หรือปะโอ คำเรียก "กะเหรี่ยง" ชาวปกากะญอจะเรียกตัวเองว่า กะเหรี่ยง และเรียกชาวโพล่วว่า กะหร่าง ในทางตรงข้าม ชาวโพล่วจะเรียกตัวเองว่า กะเหรี่ยง และเรียกชาวปกากะญอว่า กะหร่าง เดิมปกากะญอและโพล่วในแถบนี้นับถือ เพอเจะ จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2535 มีความขัดแย้งระหว่างชาวโพล่วแม่จันทะกับเจ้าหน้าที่จนถึงขั้นปะทะกันด้วยความรุนแรง หลังจากนั้นจึงมีการตั้งสำนักสงฆ์และนิมนต์พระมาจำพรรษาในหลายหมู่บ้าน สถานที่สำคัญ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|