Share to:

 

อุบัติเหตุทางรังสีที่ปราจีนบุรี

อุบัติเหตุทางรังสีที่ปราจีนบุรี
ซีเซียม-137 ที่สูญหายไป
วันที่10 มีนาคม 2566 (2566-03-10)
ที่ตั้งจังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย
พิกัด13°55′49″N 101°35′06″E / 13.930387235012°N 101.584876897733°E / 13.930387235012; 101.584876897733
สาเหตุอุบัติเหตุทางรังสี
บาดเจ็บไม่ถึงตายไม่มี

อุบัติเหตุทางรังสีที่ปราจีนบุรี เป็นอุบัติเหตุทางรังสี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 ในจังหวัดปราจีนบุรี อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นเมื่อเครื่องมือวัดทางรังสี หรือเครื่องฉายรังสีซีเซียม-137 ที่เก็บไว้อย่างไม่ถูกต้องสูญหายจากโรงไฟฟ้าไอน้ำ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ในอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี[1] ในเบื้องต้นมีการสัมภาษณ์นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ พบว่ายังไม่มีการรั่วไหลของรังสีออกไปภายนอก แต่มีการปิดโรงงานและกันพื้นที่เพื่อความปลอดภัย[2]

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ชาวสวนพืชผลทางการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรีได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐรีบสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้าทางการเกษตรของจังหวัด [3]

ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถานีตำรวจภูธรศรีมหาโพธิ ได้มีการแถลงเกี่ยวกับเหตุการณ์การที่เกิดขึ้นว่า ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าในจังหวัดปราจีนบุรีอาจถูกหลอมไปแล้วในโรงงานหลอมโลหะ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าแท่งซีเซียมถูกหลอมหรือยัง แต่ได้มีการตรวจพบฝุ่นเหล็กแดงบริเวณโดยรอบโรงงานหลอม ที่สามารถตรวจได้ว่าฝุ่นดังกล่าวคือ ฝุ่นซีเซียมจริง[4]

ต่อมาวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับประทานผลไม้ภายในสวนติดกับพื้นที่โรงงานที่พบ ซีเซียม-137 เพื่อสร้างความมั่นใจของผลิตผลทางการเกษตร [3]

การสูญหายและการค้นหา

หลังจากมีการหายไปในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้เริ่มปฎิบัติการค้นหา แต่เหตุการณ์นี้ได้ปรากฎเป็นข่าวการหายไปสู่สาธารณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งห่างจากวันที่สูญหายถึง 4 วัน

ต่อมากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกาศตั้งเงินรางวัลถึง 1 แสนบาทให้คนที่มีเบาะแสเกี่ยวกับสารดังกล่าว[5]

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกล่าวว่า ซีเซียมที่คาดว่ามีอยู่เพียงครึ่งช้อนชา ได้ถูกบรรจุในแคปซูลที่ห่อหุ้มด้วยท่อตะกั่วน้ำหนักประมาณ 25-50 กิโลกรัม ได้ถูกติดตั้งไว้บริเวณตึกมีความสูง 5 ชั้น ที่พึ่งถูกตรวจสอบในช่วงเดือนมกราคม ภาชนะมีลักษณะเป็นโลหะทำให้ความกังวลว่าจะถูกนำไปแปรสภาพซึ่งเมื่อผ่าออกจนถึงจุดแคปซูลจะทำให้ผู้สัมผัสเสี่ยงอันตราย[6]

อ้างอิง

  1. "ซีเซียม : เปิดไทม์ไลน์วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายที่ปราจีนบุรี". BBC News ไทย. 15 มีนาคม 2023.
  2. "หวาดผวา! ชาวบ้านใกล้โรงงานหลอมเหล็ก หวั่น 'ซีเซียม-137' รั่วไหล-สูดดมไม่รู้ตัว". ข่าวสด. 20 March 2023. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
  3. 3.0 3.1 "สรุป สถานการณ์ 'ซีเซียม-137' ล่าสุด รัฐบาลตั้งโต๊ะย้ำคุมได้ 'ผู้ว่าฯ ปราจีน' กินผลไม้โชว์ไร้รังสี". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.
  4. "สรุปการแถลง ไทม์ไลน์ "ซีเซียม-137" พบเป็นฝุ่นแดงแล้วแต่ไม่กระจาย ขออย่าตื่นตระหนก". www.sanook.com/news. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
  5. "สรุปดราม่า #ซีเซียม137 ไม่พบ-ไม่อันตราย โซเชียลฯ แซะ เหมือนตรวจพัทยาไม่เจอซ่อง?". mgronline.com. 20 March 2023. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
  6. "ย้อนไทม์ไลน์ แจ้ง-ค้นหาวัตถุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137"". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
Kembali kehalaman sebelumnya