Share to:

 

อเทวนิยม

อเทวนิยม ในภาษากรีก αθεοι (atheoi) แปลว่า "ปราศจากซึ่งเทพ" อย่างที่ปรากฏในจดหมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพา [1]ไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น

อเทวนิยม (อังกฤษ: atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า[2] และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยม[3][4] อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ[3]

คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระผู้สร้าง โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[5]

เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน[6] อิงตามการคาดคะเนในปี พ.ศ. 2553 แล้ว มีผู้ถืออเทวนิยมอยู่ราว 2.3% ในโลก ในขณะที่อีก 11.9% เป็นผู้ที่ไม่เคร่งศาสนา[7] อิงตามการสำรวจความคิดเห็นจากคนระดับโลกในปี พ.ศ. 2555 โดย WIN/GIA แล้ว 13% ของผู้ที่เข้าร่วมบอกว่าตนมิเชื่อพระเจ้า[8] อิงตามอีกวิเคราะห์หนึ่ง จำนวนผู้ที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าส่วนมากอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างร้อยละของประชากรที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อในพระเจ้าหรือไม่นับถือศาสนาใดๆ เช่น สวีเดน 73%, สหราชอาณาจักร 69%, ออสเตรเลีย 63%, เยอรมนี 60%, เกาหลีใต้ 60%, ญี่ปุ่น 60%, จีน 90%, สหรัฐ 39%, ฟินแลนด์ 55%[9]

มโนคติ

บารอน โดฮ์ลบาค ผู้สนับสนุนอเทวนิยมในศตวรรษที่ 18

การอธิบายศาสนาอย่างย่อ

นักปรัชญา ลุดวิก ฟอยเออร์บาค[10] และนักจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า พระเจ้าและความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อทดแทนความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พุทธศาสนิกชนหลายกลุ่มเชื่อถือ[11] คาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากลุดวิก ฟอยเออร์บาค กล่าวว่า การเชื่อถือในพระเจ้าและศาสนาคือการปฏิบัติทางสังคมหนึ่งซึ่งผู้ที่มีอำนาจนำไปใช้กดขี่ข่มเหงคะเนงร้ายพวกชนชั้นกรรมกร มีฮาอิล บาคูนิน กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าพระเจ้ามีจริงบอกเป็นนัยถึงการปฏิเสธทางเหตุผลและทางความยุติธรรมของมนุษย์ เป็นการปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์อย่างเด็ดเดี่ยวที่สุด และต้องทำให้มนุษย์ตกเป็นทาส ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ" มีฮาอิลย้อนคำคติพจน์ของวอลแตร์ อันว่าครั้นพระเจ้าไม่มีจริง ผู้คนก็จำต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาเอง มีฮาอิลจึงกลับเขียนว่า "ถ้าพระเจ้ามีจริง คนต้องปฏิเสธพระองค์"[12]

อ้างอิง

  1. https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 10
  3. 3.0 3.1 Encyclopædia Britannica 2009
  4. "The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.
  5. Armstrong 1999.
  6. Zuckerman, Phil (2007). Martin, Michael T (บ.ก.). The Cambridge Companion to Atheism. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 56. ISBN 978-0-521-60367-6. OL 22379448M. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  7. "Worldwide Adherents of All Religions by Six Continental Areas, Mid-2007". Encyclopædia Britannica. 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-11-21.
    • 2.3% Atheists: Persons professing atheism, skepticism, disbelief, or irreligion, including the militantly antireligious (opposed to all religion).
    • 11.9% Nonreligious: Persons professing no religion, nonbelievers, agnostics, freethinkers, uninterested, or dereligionized secularists indifferent to all religion but not militantly so.
  8. <!-none specified--> (27 July 2012). "Religiosity and Atheism Index" (PDF). Zurich: WIN/GIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  9. https://web.archive.org/web/20171114113506/http://www.wingia.com/web/files/news/370/file/370.pdf
  10. Feuerbach, Ludwig (1841) The Essence of Christianity
  11. Walpola Rahula, What the Buddha Taught. Grove Press, 1974. Pages 51–52.
  12. Bakunin, Michael (1916). "God and the State". New York: Mother Earth Publishing Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
Kembali kehalaman sebelumnya