ฮอสท์-เว็สเซิล-ลีท
เพลงฮอสท์ เว็สเซิล (เยอรมัน: Horst-Wessel-Lied) หรือที่รู้จักจากคำขึ้นต้นว่าเพลง ธงอยู่สูงเด่น (เยอรมัน: Die Fahne hoch) เป็นเพลงประจำพรรคนาซีตั้งแต่ ค.ศ. 1930–1945 และใช้เป็นเพลงชาติร่วมของนาซีเยอรมนี (บทแรกของเพลงเยอรมันเหนือทุกสรรพสิ่ง) ตั้งแต่ ค.ศ. 1933–1945[1] เนื้อร้องของเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1929 ที่เขตฟรีดริชส์ไฮน์ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยฮอสท์ เว็สเซิล ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวลัทธินาซีและเป็นผู้บังคับการกองกำลังพายุ ชตวร์มอัพไทลุง (Sturmabteilung) หรือ เอ็สอา (SA) ระดับท้องถิ่น ต่อมาเมื่อเว็สเซิลถูกสังหารอย่างอุกอาจโดยอัลเบรชท์ เฮอเลอร์ (Albrecht Höhler) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1930 โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ได้ดำเนินการทำให้เขาเป็นมรณสักขีแห่งขบวนการนาซี เพลงนี้จึงได้มีการบรรเลงครั้งแรกในงานศพของเว็สเซิลเอง และหลังจากนั้นก็ได้ถูกนำใช้อย่างเข้มข้นในการดำเนินกิจกรรมของพรรค เช่น การขับร้องเพลงนี้ของหน่วยเอสเอระหว่างการเดินแถวตามท้องถนน เป็นต้น เมื่อพรรคนาซีเถลิงอำนาจในปี ค.ศ. 1933 เพลงฮอสท์ เว็สเซิลก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ในปีถัดมาจึงมีการออกข้อบังคับให้มีการชูแขนขวาทำการคารวะแบบนาซี เมื่อมีการขับร้องเพลงนี้ในบทที่ 1 และบทที่ 4 (ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน) ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่อง ทรีอุมฟ์เดสวิลเลนส์ หรือ ชัยชนะแห่งเจตจำนง ของเลนี รีเฟนสทาล (ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซี) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1935 จะพบว่าบรรดาผู้นำของพรรคนาซีมีการร่วมร้องเพลงเพลงฮอสท์ เว็สเซิล อยู่ด้วย หลังระบอบนาซีล่มสลายใน ค.ศ. 1945 เพลงฮอสท์ เว็สเซิลได้กลายเป็นเพลงต้องห้าม ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายทั้งในประเทศเยอรมนีและออสเตรียจนทุกวันนี้ เว้นแต่ใช้เพลงเพื่อการศึกษาและวิชาการเท่านั้น เนื้อร้องฉบับทางการเป็นฉบับที่มีการแก้ไขแล้วหลังการตายของฮอสท์ เว็สเซิล
คำว่า "แนวร่วมแดง" ("Rotfront") ในที่นี้อ้างอิงถึงหน่วยร็อตฟรอนท์คัมป์แฟร์บุนด์ (เยอรมัน: Rotfrontkämpferbund) หรือ "สันนิบาตนักรบแนวร่วมแดง" ซึ่งเป็นกำลังกึ่งทหารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี (KPD) เป็นเรื่องปกติที่หน่วยเอ็สอาของพรรคนาซีกับสันนิบาตนักรบแนวร่วมแดงจะเผชิญหน้าและสู้รบกันตามท้องถนนในเยอรมนีเวลานั้น ก่อนที่จะขยายวงกว้างเป็นการรบเต็มรูปแบบภายหลังปีค.ศ. 1930 ส่วนคำว่า "ปฏิปักษ์" (เยอรมัน: "Reaktion") หมายถึงพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมและรัฐบาลเยอรมันแนวเสรีนิยมประชาธิไตยในยุคสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งได้พยายามกดดันหน่วยเอ็สอาหลายครั้งแต่ล้มเหลว คำว่า "Die Knechtschaft" ซึ่งในที่นี้แปลว่า "พันธนาการ" หมายถึงภาระผูกพันของเยอรมนีตามสนธิสัญญาแวร์ซาย ค.ศ. 1919 การแก้ไขหลังการตายของเว็สเซิลบทร้องเพลงฮอสท์ เว็สเซิล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของพรรคนาซีในกรุงเบอร์ลินชื่อ แดร์อันกริฟฟ์ (Der Angriff) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1929 โดยลงนามผู้แต่งเพลงว่า พลเอ็สอานิรนาม (Der Unbekannte SA-Mann) บทร้องบางส่วนได้มีการแก้ไขหลังการตายของฮอสท์ เว็สเซิล ดังนี้
การแก้ไขคำว่า "Barrikaden" (ด่านกีดขวาง) สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของพรรคนาซีในช่วงปี ค.ศ. 1930 - 1933 ที่ต้องการแสดงว่าเป็นพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญที่ต้องการอำนาจรัฐโดยชอบด้วยกฎหมายมากกว่าเป็นพรรคปฏิวัติ หลังมรณกรรมของเว็สเซิล ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อร้องบทใหม่ซึ่งประพันธ์ขึ้นเป็นเกียรติแก่เว็สเซิล เนื้อร้องเหล่านี้เป็นที่นิยมร้องโดยหน่วยเอ็สอา แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อร้องฉบับทางการซึ่งใช้โดยพรรคหรือรัฐ
ทำนองหลังเว็สเซิลเสียชีวิต เขาได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้ประพันธ์ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลง "เพลงฮอสท์ เว็สเซิล" อย่างไรก็ตาม ในระหว่างปี ค.ศ. 1930 - 1933 ได้มีข้อวิจารณ์ถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยชี้ว่าทำนองเพลงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่านั้น ตัวอย่างหนึ่งของเพลงที่มีทำนองคล้ายกับเพลงนี้มากก็คือเพลง "How Great Thou Art" ซึ่งเป็นเพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า (hymn) อันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป การวิจารณ์ฐานะความเป็นผู้ประพันธ์ของฮอสท์ เว็สเซิล ได้กลายเป็นความคิดต้องห้ามไปหลังปี ค.ศ. 1933 เมื่อพรรคนาซีได้เถลิงอำนาจปกครองเยอรมนี และการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อาจทำให้ได้รับโทษหนัก แหล่งที่มาที่น่าจะส่งผลโดยตรงต่อทำนองเพลงนี้มากที่สุดเป็นบทเพลงยอดนิยมในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าเว็สเซิลจะเคยได้ยินเพลงดังกล่าวที่ขับร้องโดยอดียทหารเรือในกรุงเบอร์ลินช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันตามวรรคเริ่มของเพลงที่ว่า Vorbei, vorbei, sind all die schönen Stunden, หรือในชื่อ Königsberg-Lied, ตามชื่อเรือลาดตระเวน "เคอร์นิกสแบร์ก" ซึ่งถูกกล่าวถึงในเนื้อร้องฉบับหนึ่งของเพลงนี้ บทเริ่มของเพลงดังกล่าวทั้งหมดมีใจความว่า
เพลงเยอรมันอีกเพลงหนึ่งชื่อว่า Der Abenteurer (นักผจญภัย) มีบทขึ้นต้นว่า
ในปี ค.ศ. 1936 อัลเฟรด ไวเดมันน์ (Alfred Weidemann) นักวิจารณ์ดนตรีชาวเยอรมัน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งเขาได้ระบุว่าทำนองเพลงได้ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1865 โดย ปีเตอร์ คอร์เนลิอุส ในฐานะ "Urmelodie" (source-melody, ทำนองเพลงต้นตอ).[2] ตามคำกล่าวของไวเดมันน์นั้น คอร์เนลิอุสได้ระบุเพลงนี้ว่าเป็น "ทำนองเพลงพื้นบ้านเวียนนา" ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เขาสรุปว่านี่คือต้นตอแรกสุดของทำนองเพลง "เพลงฮอสท์ เว็สเซิล"[3] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|