Share to:

 

เกรน ประชาศรัยสรเดช

เกรน ประชาศรัยสรเดช
นายกเทศมนตรีเมืองแพร่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2505
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2462
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
เสียชีวิตพ.ศ. 2521
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช

เกรน ประชาศรัยสรเดช เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ 6 สมัย และเป็นผู้บุกเบิกกิจการธนาคารแห่งแรกของจังหวัดแพร่ เป็นบุตรชายของทิพเกษร เตมียานนท์ หรือคุณหญิงจงกลนี ประชาศรัยสรเดช (ราชนัดดาเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย)[1]

ประวัติ

เกรน ประชาศรัยสรเดช เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 12 คน ของพระยาประชาศรัยสรเดช (ผาบ ผลนิวาส) กับคุณหญิงจงกลนี ประชาศรัยสรเดช หรือทิพย์เกษร เตมียานนท์ (ธิดายวงคำ เตมียานนท์ ราชนัดดาเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย)

เกรน ประชาศรัยสรเดช สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์

ชีวิตครอบครัว

เกรน สมรสกับเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม: วงศ์บุรี; บุตรีบุญธรรมหลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) กับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ

  • ธัญญา สุรัสวดี (ประชาศรัยสรเดช) สมรสกับดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี มีบุตร 2 คน
  • สาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับวัชรี ประชาศรัยสรเดช (สกุลเดิม; ลักษณาศัย) มีบุตร 2 คน
  • อรรณพ ประชาศรัยสรเดช สมรสกับนลินี ประศรัยสรเดช (สกุลเดิม; ชินะโปดก) มีบุตร 1 คน
  • ด.ญ. กรรณิกา ประชาศรัยสรเดช (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
  • มาลินี ศรีสมวงศ์ (ประชาศรัยสรเดช) สมรสกับประเสริฐ ศรีสมวงศ์ มีบุตรธิดา 2 คน[2]

การทำงาน

เกรน ประชาศรัยสรเดช ประกอบอาชีพทำป่าไม้ต่อจากเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ช่วงปีพ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นได้ติดต่อธนาคารกสิกรไทยให้มาเปิดสาขาที่จังหวัดแพร่[3] เนื่องจากเคยทำไม้ร่วมกับตระกูลล่ำซำ เจ้าของธนาคารมาก่อน และดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ ซึ่งถือเป็นธนาคารแห่งแรกของจังหวัดแพร่ ขณะเดียวกันก็ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ และเป็นติดต่อกันถึง 6 สมัย (พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2505) หลังจากนั้นท่านก็ย้ายไปกรุงเทพฯ และเสียชีวิตที่นั้นเมื่อปีพ.ศ. 2521 สิริอายุ 59 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ประวัติเจ้าเกรน ประชาศรัยสรเดช .คุ้มวงศ์บุรี อำเภอเมืองแพร่
  2. หมู่บ้านวังฟ่อน ดอตคอม.เจ้าพิริยเทพวงษ์ (ทายาท)
  3. พัฒนาการกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง วารสารพัฒนศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๑, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
Kembali kehalaman sebelumnya