เคย Euphausiacea
|
|
Meganyctiphanes norvegica
|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
|
อาณาจักร:
|
สัตว์
|
ไฟลัม:
|
สัตว์ขาปล้อง
|
ไฟลัมย่อย:
|
กุ้ง-กั้ง-ปู
|
ชั้น:
|
Malacostraca
|
อันดับใหญ่:
|
Eucarida
|
อันดับ:
|
Euphausiacea Dana, 1852
|
วงศ์และสกุล
|
- Euphausiidae
- Euphausia Dana, 1852
- Meganyctiphanes Holt and W. M. Tattersall, 1905
- Nematobrachion Calman, 1905
- Nematoscelis G. O. Sars, 1883
- Nyctiphanes G. O. Sars, 1883
- Pseudeuphausia Hansen, 1910
- Stylocheiron G. O. Sars, 1883
- Tessarabrachion Hansen, 1911
- Thysanoessa Brandt, 1851
- Thysanopoda Latreille, 1831
- Bentheuphausiidae
|
เคย หรือ เคอย "ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ใน 2 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Myside เช่น เคยตาดำ [Mesopodopsis orientalis (Tattersall)] อันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestodae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus Nobill) อันดับ Decapoda ขนาดยาวไม่เกิน 3.4 เซนติเมตร มีหนวด 2 แฉก ลำตัวแบนข้าง เปลือกบางใส เนื้อยุ่ย เหมาะสำหรับใช้หมักเกลือทำกะปิและน้ำเคย" (อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)
ในกลุ่มกุ้ง-กั้ง-ปู ซึ่งเป็นสัตว์สำคัญโดยเฉพาะของแพลงก์ตอน[1] ที่เป็นอาหารของ วาฬบาลีน, ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม, ปลาฉลามวาฬและแมวน้ำกินปู รวมทั้งนกทะเลบางสปีชีส์ที่กินเคยแต่เพียงอย่างเดียว
กุ้งเคยจัดเป็นครัสเตเชียนขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า และไม่มีกรีแหลมๆที่บริเวณหัวเหมือนกุ้ง ตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้ตามป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง แสม ลำพู ชาวบ้านมักจะออกช้อนตัวเคยกันในเวลาเช้า ช้อนกันได้ทุกวันเพราะมีอยู่มากทุกฤดูกาล จะดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไป ซึ่งอาจจะอยู่ในน้ำลึกประมาณหน้าแข้งถึงระดับหน้าอก ในแถบขั้วโลกใต้จะเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่ มันจะเป็นอาหารที่สำคัญของปลาวาฬ ส่วนในอ่าวไทยเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็กอยู่ตามชายฝั่ง ในนากุ้งและบ่อปลา ลักษณะที่สำคัญคือ ในตัวเมียจะมีถุงไข่ที่ติดอยู่กับท้องตั้งแต่กำเนิด จึงมีชื่อเรียกว่า กุ้งโอปอสซั่ม (Opossum shrimp)
ชนิดของกุ้งเคยที่ใช้ทำกะปิ
สำหรับตัวเคยที่ใช้ทำกะปิ มีอยู่ 5 สกุลคือ
- สกุล Acetes (Order Decapoda; Family Sergestidae)เคยในสกุล Acetes มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ตามขนาดของลำตัว ตามสีของอวัยวะต่างๆ ที่มองเห็นและตามลักษณะของการรวมกันอยู่ เช่น ถ้าเรียกตามขนาดของลำตัว หากลำตัวมีขนาดใหญ่จะเรียก เคยโกร่ง เคยหยาบ เคยใหญ่ ถ้าเรียกตามสีเช่น สีของหนวดจะเรียกเคยสายไหม ซึ่งนิยมเรียกทางภาคใต้ สีของลำตัวเรียก เคยดอกเลา สีของหางเรียก เคยหางแดง ส่วนการเรียกตามลักษณะของการรวมกันอยู่เรียก เคยฝูง เคยประดา เคยในสกุลนี้มีขนาดใหญ่ ขนาดที่พบคือ 7.0-32.9 มม.
- สกุล Lucifer (Order Decapoda; Family Sergestidae)เคยในสกุล Lucifer ได้แก่ เคยน้ำข้าว เคยเส้นด้าย เคยสำลี เคยนุ่น เคยในสกุลนี้ลำตัวเล็กยาว และแบนข้าง ส่วนที่เป็นหัวยาวมาก ซึ่งเป็นจุดเด่นของเคยในสกุลนี้ ขนาดที่พบยาวสูงสุดประมาณ 8.0 มม.
- สกุล Mesopodopsis (Order Mysidacea; Family Mysidae)เคยในสกุล Mesopodopsis ได้แก่ เคยตาดำ เคยละเอียด เคยตาดำหวาน เคยคายไม้ไผ่ ลักษณะของเคยในสกุลนี้คือ ขาตรง บริเวณส่วนอกยาว ขาตรงบริเวณปล้องท้อง มีขนาดเล็กมองเกือบไม่เห็น ยกเว้นเพศผู้ขาคู่ที่ 4 จะยาว ปล้องของลำตัวยาวเกือบเท่ากัน ตรงโคนแพนหางอันในมีลักษณะคล้ายฟองอากาศ
- สกุล Acanthomysis (Order Mysidacea; Family Mysidae)เคยในสกุล Acanthomysis ได้แก่ เคยหน้าสนิม เคยขี้เท่า เคยตาดำเล็ก พบเพียงชนิดเดียวคือ Acanthomysis hodgarti W.M.Tattersal ลักษณะของเคยชนิดนี้คือ ปลายของแพนหนวดมนกลม ด้านล่างของปล้องท้องจะมีจุดสีดำกลมทุกปล้อง หางเรียวยาว ด้านข้างมีหนาม 28 คู่ ส่วนปลายจะมีหนามยาว 2 คู่ ขนาดที่พบ เพศผู้ และเพศเมียมีความยาวอยู่ระหว่าง 5.0-9.9 มม.
- สกุล Rhopalophthalmus (Order Mysidacea; Family Mysidae)เคยในสกุล Rhopalophthalmus เป็นเคยตาดำที่มีขนาดใหญ่ พบปะปนอยู่กับเคยตาดำเล็ก เพศผู้มีขนาด 9.0- 10.9 มม. เพศเมีย 9.0- 14.9 มม. พบเพียงจังหวัดสุราษฏร์ธานีเพียงแห่งเดียว และพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น มีลักษณะคือนัยน์ตาและก้านตา จะมีขนาดใหญ่กว่าเคยตาดำชนิดอื่นๆ ด้านล่างของปล้องท้องจะไม่มีจุดสี และขาที่ปล้องท้องจะยาวกว่าเคยตาดำอื่นๆ ขาเรียวยาว ด้านข้างมีหนาม 14 คู่ ส่วนปลายมีหนามยาว 2 คู่ และมีขนเล็ก ๆล้อมรอบ หางมีจุดสีแดง 2 จุด อยู่ตรงใกล้ๆ กับส่วนบนและส่วนปลายหาง ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน
อ้างอิง
- ↑ Encarta Reference Library Premium 2005.
ที่มา: http://www.siamculture.org เก็บถาวร 2005-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม