เหรียญพิทักษ์เสรีชน |
---|
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ด้านหน้า และหลัง |
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย |
---|
อักษรย่อ | ส.ช. |
---|
ประเภท | เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ) |
---|
วันสถาปนา | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 |
---|
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
---|
ภาษิต | พิทักษ์เสรีชน |
---|
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
---|
ผู้สมควรได้รับ | ทหาร, ตำรวจ, ข้าราชการ และราษฎร |
---|
มอบเพื่อ | ผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการปฏิบัติการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศหรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ |
---|
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
---|
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
---|
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
---|
สถิติการมอบ |
---|
รายแรก | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 25 กันยายน พ.ศ. 2512[1] |
---|
รายล่าสุด | 3 มกราคม พ.ศ. 2567 |
---|
ลำดับเกียรติ |
---|
สูงกว่า | เหรียญชัยสมรภูมิ |
---|
รองมา | เหรียญราชนิยม |
---|
หมายเหตุ | พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากผู้สมควรได้รับพระราชทานวายชนม์ไปก่อน ให้ทายาทโดยธรรมรับพระราชทานแทน |
---|
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ใช้อักษรย่อว่า ส.ช. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ประเภทเหรียญบำเหน็จกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การพระราชทานกรรมสิทธิ์ และการเรียกคืน เช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ ผู้ได้รับจะประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา
ลักษณะ
ตัวเหรียญ
เหรียญนี้ทำด้วยทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน มุมบนห้อยกับแพรแถบ ด้านหน้าเหรียญมีรูปดังนี้
- ตรงกลางมีจักร หมายถึง ทหารบก
- ตรงกลางหลังจักรมีรูปสมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ
- ซ้ายและขวามีปีกนก หมายถึง ทหารอากาศ
- พับอยู่บนแสงดาบเขนและโล่ห์ซึ่ง หมายถึง ตำรวจ
- ตอนบนเป็นรูปครุฑพ่าห์
ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า อสาธุ สาธุนา ชิเน แพรแถบกว้าง 34 มิลลิเมตร ลายริ้วจากบนลงล่างเป็นสีแดงขาวสลับกัน ขอบทั้งสองข้างมีริ้วแดง รวม 17 ริ้ว ข้างบนมีเข็มโลหะจารึกอักษรว่า พิทักษ์เสรีชน
ลำดับชั้น
แพรแถบย่อ |
ชั้น |
วันสถาปนา |
ลำดับเกียรติในกลุ่มเหรียญราชอิสริยาภรณ์[2]
|
|
ชั้นที่ 1 |
13 ธันวาคม พ.ศ. 2515[3] |
5
|
|
ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 |
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512[4] |
6
|
|
ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 |
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512[4] |
11
|
ชั้นที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูป"ช่อชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดกลางแพรแถบ ถ้าผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ปฏิบัติการถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 อีก ก็จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายเป็นรูปช่อ"ชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดเพิ่มกลางแพรแถบในทางดิ่งกับช่อชัยพฤกษ์เดิมทุกครั้ง
ชั้นที่ 2 มี 2 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปขีดประกอบด้วย"เปลวระเบิด"ติดกลางแพรแถบ
- ประเภทที่ 2 ไม่มีเครื่องหมายติดแพรแถบ[5]
การขอพระราชทาน
- ชั้นที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตในการสู้รบ และการสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งแก่ประเทศ
- ชั้นที่ 2 มีหลักเกณฑ์การขอพระราชทาน ดังนี้
- ประเภทที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบจนได้รับคำชมเชยจากทางราชการ หรือปฏิบัติการเสี่ยงอันตรายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
- ประเภทที่ 2 จะพระราชทานแก่บุคคลซึ่งปฏิบัติการสู้รบเป็นผลดีแก่ประเทศ
ผู้ที่ได้รับพระราชทาน
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น