เจ้าชายสืบสายพระโลหิตเจ้าชายสืบสายพระโลหิต (อังกฤษ: Prince du Sang หรือ Prince of the Blood) คือผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยตรงจากประมุขของประเทศ ในฝรั่งเศสตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดในราชสำนักรองจากพระราชนิกุลที่ใกล้ชิดที่สุดของพระมหากษัตริย์ในสมัย “อองเซียง เรฌีม” และในสมัยราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” หรือ “เจ้าหญิงสืบสายพระโลหิต” เป็นตำแหน่งที่ใช้กับสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของประมุขที่กำลังครองราชย์ ในยุโรปบางประเทศโดยเฉพาะในราชอาณาจักรฝรั่งเศสบรรดาศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัวและใช้อย่างจำกัดกว่าบรรดาศักดิ์อื่นๆ บรรดาศักดิ์ตำแหน่ง “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” จำกัดใช้เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายทางบิดา (Patrilineality) ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้มักจะใช้ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเอก แต่บางครั้งก็อาจจะใช้ตำแหน่งอื่นที่เฉพาะเจาะจงกว่าตำแหน่งนี้ก็ได้ มองซิเออร์พรินซ์“มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” (ฝรั่งเศส: Premier prince du sang) ที่มักเป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยผู้มีอาวุโสสูงสุด (บุตรคนโต) ของราชวงศ์ผู้ที่มิใช่พระอนุชา, พระราชโอรส หรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หรือของโดแฟง (ผู้ที่ถือตำแหน่งนี้เป็นเชื้อพระวงศ์ (ฝรั่งเศส: famille du roi)) ที่เป็นตำแหน่งที่เหนือกว่า “เจ้าชายสืบสายพระโลหิต” แต่พระโอรสองค์โตของพระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์หรือของโดแฟงสามารถถือตำแหน่งนี้ได้ คือเป็นตำแหน่งสำหรับผู้ที่มิได้เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (ฝรั่งเศส: petit-fils de France)[1] การใช้บรรดาศักดิ์ “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้จำกัดความเกี่ยวดองกับพระมหากษัตริย์ที่กำลังทรงราชย์อยู่ แต่ต้องมีคุณสมบัติเป็นเชื้อพระวงศ์ แม้ว่าอาจจะเป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ห่างๆ ก็ตาม (เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สำเร็จราชการแผ่นดินฟิลลิปที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15) แต่ก็มีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1785 เมื่อยุติการเป็นตำแหน่งตลอดชีพไปเป็นตำแหน่งที่มอบให้แก่เจ้าองค์ใดที่กลายมาเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของราชบัลลังก์โดยไม่ต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ หรือ พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ (เช่นในกรณีของหลุยส์-อองตวน ดยุคแห่งอองกูเลม) ซึ่งตามสิทธิแล้วก็ควรจะเป็น “เจ้าชายชั้นเอก”แต่ไม่ได้รับผลประโยชน์ซึ่งตามปกติแล้วมากับตำแหน่ง[2] “เจ้าชายชั้นเอก” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ประกอบด้วยอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่รวมทั้งสิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฐานะจากหลวง และเป็นบรรดาศักดิ์ตลอดชีพ การกำเนิดของเจ้าองค์โตที่มีสิทธิเป็น “เจ้าชายชั้นเอก” มิได้เป็นการลดฐานะของผู้ที่ถือตำแหน่งอยู่แล้ว เช่น “มองซิเออร์พรินซ์” เป็นบรรดาศักดิ์ที่ถือโดยพรินซ์แห่งคองเดเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี การใช้บรรดาศักดิ์ตกไปเป็นของราชวงศ์ออร์เลอองส์ในปี ค.ศ. 1709 แต่ก็แทบจะไม่ได้ใช้กัน เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก, ค.ศ. 1465-ค.ศ. 1830
ราชวงศ์บูร์บอง-ลามาร์ช
มาดามพรินเซส“มาดามพรินเซส” เป็นตำแหน่งภรรยาของ “มองซิเออร์พรินซ์” ดัชเชส/พรินเซสที่มีสิทธิในการใชบรรดาศักดิ์นี้ก็ได้แก่:
มองซิเออร์ดยุค“มองซิเออร์ดยุค” เป็นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด เดิมได้บรรดาศักดิ์ “duc d'Enghien” แต่มาเปลี่ยนในปี ค.ศ. 1709 เมื่อคองเดสูญเสียบรรดาศักดิ์ “เจ้าชายสืบสายพระโลหิตชั้นเอก” หลังจากนั้นบรรดาศักดิ์สำหรับบุตรชายคนโตก็เปลี่ยนเป็น “ดยุคแห่งบูร์บอง” และบุตรชายคนโตของบุตรชายคนโตของพรินซ์แห่งคองเด (หลาน) ก็เป็น “duc d'Enghien”
มาดามดัชเชส“มาดามดัชเชส” เป็นตำแหน่งของภรรยาของ “มองซิเออร์ดยุค” ผู้ดำรงบรรดาศักดิ์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดคือ:
“มาดามดัชเชส” คนอื่นๆ ก็ได้แก่:
มองซิเออร์เคานท์“มองซิเออร์เคานท์” เป็นตำแหน่งประมุขของสาขารองของราชวงศ์บูร์บอง, เคานท์แห่งซัวซองส์ บรรดาศักดิ์นี้ก็เช่นเดียวกันกับบรรดาศักดิ์พรินซ์แห่งคองตี ที่สืบเชื้อสายมาจากพรินซ์แห่งคองเด ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1566 เมื่อมอบให้กับชาร์ลส์แห่งบูร์บองบุตรคนที่สองของหลุยส์แห่งบูร์บอง พรินซ์แห่งคองเดผู้ทรงเป็น พรินซ์แห่งคองเด คนแรก พรินซ์แห่งคองเดคนแรกมีบุตรชายสามคน:
เคานท์แห่งซัวซองส์คนที่สองเสียชีวิตโดยไม่มีทายาท บรรดาศักดิ์จึงตกไปเป็นของน้องสาวคนรอง มารี เดอ บูร์บอง-คองเด ภรรยาของทอมัส ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งคาริยองแห่งราชวงศ์ซาวอย มารีจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์ เมื่อมารีเสียชีวิตตำแหน่งก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนที่สอง โจเซฟ-เอมมานูเอล พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง (ค.ศ. 1631-ค.ศ. 1656) และต่อมาไปเป็นของบุตรชายคนที่สามเออแฌง-ฟรองซัวส์ พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยอง เออแฌงสมรสกับโอลิมเปีย มันชินิหลานของคาร์ดินัลมาซาแรง โอลิมเปียจึงเป็นที่รู้จักกันว่า มาดามเคานเทสแห่งซัวซองส์[3] เช่นเดียวกับมารดาของสามี เมื่อสามีเสียชีวิตบรรดาศักดิ์ก็ตกไปเป็นของบุตรชายคนโตหลุยส์-ทอมัส พรินซ์แห่งซาวอย-คาริยองผู้เป็นพี่ชายของนายพลผู้มีชื่อเสียงของออสเตรียเจ้าชายยูจีนแห่งซาวอย ตำแหน่งซัวซองส์มาสิ้นสุดลงเมื่อ เออแฌง-ฌอง-ฟรองซัวส์เดอซาวอย-คาริยอง เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1734 มาดามเคานเทส“มาดามเคานเทส” เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “มองซิเออร์เคานท์” ตัวอย่างผู้ถือตำแหน่งก็ได้แก่ มาดามพรินเซสหม้าย“มาดามพรินเซสหม้าย” (ฝรั่งเศส: Madame la Princesse Douairière) เป็นบรรดาศักดิ์ของภรรยาของ “พรินซ์แห่งคองตี” ที่สามีเสียชีวิตไปแล้ว ถ้ามีหลายคนก็จะเรียงลำดับด้วยหมายเลข ระหว่างปี ค.ศ. 1727 ถึงปี ค.ศ. 1732 ก็มีภรรยาหม้ายของพรินซ์แห่งคองตีถึงสามคนที่รวมทั้ง:
พระราชโอรสธิดาตามกฎหมายพระราชโอรสธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส และของชายในราชวงศ์ใช้นามสกุลตามสาขาของตระกูลคาเปต์ที่เป็นของพระราชบิดาหรือบิดาเช่นหลุยส์-โอกุสต์เดอบูร์บอง ดยุคแห่งแมนผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับพระสนม|มาดามเดอมองเตสปอง[4] หลังจากที่ทำให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็จะได้รับบรรดาศักดิ์จากดินแดนที่เป็นของบิดา ส่วนบุตรีก็จะได้รับตำแหน่งเป็น มาดมัวเซลล์แห่ง X ถ้าเป็นบุตรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะใช้นามสกุลตามแต่ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่เป็นราชตระกูลก็ได้ เด็กที่เป็นลูกนอกกฎหมายไม่ถือว่าเป็น เชื้อพระวงศ์ (fils de France) แต่ถ้าได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นให้ถูกกฎหมาย พระมหากษัตริย์อาจจะพระราชทานบรรดาศักดิ์เกือบเท่าเทียมหรือเท่าเทียม เจ้าชายสืบสายพระโลหิต ก็ได้[5] อ้างอิง
|