Share to:

 

เซกุนดาดิบิซิออน

เซกุนดาดิบิซิออน
ก่อตั้งค.ศ. 1929 (1929)
ประเทศ สเปน (21 ทีม)
สโมสรอื่นจาก อันดอร์รา (1 ทีม)
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม22
ระดับในพีระมิด2
เลื่อนชั้นสู่ลาลิกา
ตกชั้นสู่เตร์เซราดิบิซิออน (1929–1977)
เซกุนดาดิบิซิออน เบ (1977–2021)
ปริเมราดิบิซิออนเอร์เรเฟฟ (2021–ปัจจุบัน)
ถ้วยระดับประเทศโกปาเดลเรย์
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่ายูโรปาลีก
(โดยการชนะเลิศ โกปาเดลเรย์)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันกรานาดา (สมัยที่ 4)
ชนะเลิศมากที่สุดเรอัลมูร์เซีย (8 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์โมบิสตาร์มัช
โกล
เว็บไซต์laliga.com
ปัจจุบัน: เซกุนดาดิบิซิออน ฤดูกาล 2023–24

กัมเปโอนาโตนาซิโอนัลเดลิกาเดเซกุนดาดิบิซิออน (สเปน: Campeonato Nacional de Liga de Segunda División) หรือเรียกในเชิงพาณิชย์ว่า ลาลิกาโดส (La Liga 2) หรือ ลาลิกาไฮเปอร์โมชั่น (LaLiga HYPERMOTION) ตามชื่อผู้สนับสนุน[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลชายประเภทลีกระดับสูงเป็นลำดับที่สองในระบบฟุตบอลลีกสเปน บริหารงานโดยสันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ โดยมีทีมแข่งขัน 22 ทีม สองทีมที่ดีที่สุดและอีกหนึ่งทีมที่ชนะรอบเพลย์ออฟจะได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลาลิกา แทนที่สามทีมที่จะต้องตกชั้นลงมา

ประวัติ

ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนได้ก่อตั้งการแข่งขันขึ้นใน ค.ศ. 1929 โดยใช้ระบบตารางเดี่ยวยกเว้นช่วง ค.ศ. 1949 ถึง 1968 ที่ได้มีการแย่งแยกโซนเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1984 สันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติเป็นผู้จัดการแข่งขัน

ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 สันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติได้ทำสัญญากับเบเบอูเบอาเพื่อสนับสนุนลีกอย่างเป็นทางการ จึงได้เปลี่ยนขื่อลีกเป็น ลิกา เบเบอูเบอา ก่อนในอีกสองปีถัดมาจะเปลี่ยนเป็น ลิกาอาเดลันเต หลังจากเบเบอูเบอาได้ขยายออกไปสนับสนุนลาลิกา จึงใช้ชื่อ "ลิกา เบเบอูเบอา" แทน[2] หลังหมดสัญญา ใน ค.ศ. 2016 ธนาคารบังโกซันตันเดร์ได้เข้าเป็นผู้สนับสนุนของทั้งสองลีก จึงเปลี่ยนชื่อเซกุนดาดิบิซิออนเป็น ลาลิกา อุน โดส เตรส ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ลาบิกาเอสมาร์ตบังก์ ก่อนเริ่มฤดูกาล 2019–20[3]

นับตั้งแต่ฤดูกาล 2010–11 ได้มีการจัดการแข่งขันเพลย์ออฟเลื่อนชั้น ระหว่างทีมที่จบลำดับที่ 3 ถึง 6 จากเดิมที่จะให้ทีมลำดับที่ 3 ได้เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ โดยลีกได้อนุญาตให้ทีมสำรองเข้าร่วมแข่งขันได้ แต่จะไม่สามารถเลื่อนชั้นสู่ลาลิกาได้

โครงสร้างของลีก

ลีกประกอบไปด้วย 22 ทีมโดยแข่งขันแบบพบกันหมดแบบเหย้า-เยือน ทำให้แต่ละทีมมีการแข่งขันรวม 42 นัด หลังจบฤดูกาลจะมีสามทีมที่ได้เลื่อนชั้นสู่ลาลิกา โดยสองทีมจะได้เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ และอีกหนึ่งทีมจะมาจากการชนะรอบเพลย์ออฟ ซึ่งรอบนี้จะประกอบไปด้วยทีมจากอันดับที่ 3 ถึง 6 มาแข่งขันในระบบเหย้า-เยือนเพื่อหาผู้ชนะ โดยทีมสำรองจะไม่มีสิทธิ์ในการเลื่อนชั้น ซึ่งจะมีสามทีมที่ตกชั้นจากลาลิกามาแข่งขันในเซกุนดาดิบิซิออนแทน ขณะที่ทีมที่อันดับแย่ที่สุดในเซกุนดาดิบิซิออนจะตกชั้นลงสู่ปริเมราดิบิซิออนเอร์เรเฟฟ

สโมสรที่เข้าร่วมเซกุนดาดิบิซิออน (ฤดูกาล 2021–22)

ที่ตั้งของสโมสรที่ลงแข่งขันใน เซกุนดาดิบิซิออน ฤดูกาล 2021–22 ในแคว้นมาดริด
สโมสร เมือง สนาม ความจุ (คน)
อัลกอร์กอน อัลกอร์กอน ซานโตโดมิงโก 5,100[4]
อัลเมริอา อัลเมริอา ฆูเอโกสเมดิเตร์ราเนโอส 15,000[5]
อาโมเรบิเอตา อาโมเรบิเอตา-เอตชาโน เลซามา (สนาม 2)[a] 3,250
บูร์โกส บูร์โกส เอลปลันติโอ 12,194[7]
การ์ตาเฆนา การ์ตาเฆนา การ์ตาโกโนบา 15,105[8]
อัลบาเซเต อัลบาเซเต การ์โลส เบลมอนเต 17,300
เอย์บาร์ เอย์บาร์ อิปูรูอา 8,164[9]
ฟูเอนลาบราดา ฟูเอนลาบราดา เฟร์นันโด ตอร์เรส 2,200
ฌิโรนา ฌิโรนา มุนติลิบี 11,200[10]
อูเอสกา อูเอสกา เอลอัลโกรัซ 5,500
อิบิซา อิบิซา กัมมิซัส 4,500[11]
ลัสปัลมัส ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย กรันกานาเรีย 32,150
เลกาเนส เลกาเนส บูตาร์เก 12,450[12]
ลูโก ลูโก อันโช การ์โร 7,840[13]
มาลากา มาลากา ลาโรซาเลดา 30,044[14]
มิรันเดส มิรันดาเดเอโบร อันดูบา 5,759[15]
โอบิเอโด โอบิเอโด การ์โลส ตาร์ติเอเร 30,500[16]
ปอนเฟร์ราดินา ปอนเฟร์ราดา เอลโตราลิน 8,400[17]
เรอัลโซซิเอดัด เบ ซานเซบัสเตียน โฆเซ ลุยส์ ออร์เบโกโซ 2,500[18]
เอสปอร์ตินเดฆิฆอน ฆิฆอน เอลโมลินอน 30,000[19]
เตเนริเฟ เอลเช เอลิโอโดโร โรดริเกซ โลเปซ 22,824[20]
เรอัลบายาโดลิด บายาโดลิด โฆเซ ซอร์ริยา 28,012[21]
เรอัลซาราโกซา ซาราโกซา ลาโรมาเรดา 33,608[22]

การชนะเลิศและเลื่อนชั้น

สโมสร ชนะเลิศ เลื่อนชั้น ปีที่ชนะ
เรอัลมูร์เซีย
8
11
1939–40, 1954–55, 1962–63, 1972–73, 1979–80, 1982–83, 1985–86, 2002–03
เรอัลเบติส
7
12
1931–32, 1941–42, 1957–58, 1970–71, 1973–74, 2010–11, 2014–15
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา
5
11
1961–62, 1963–64, 1965–66, 1967–68, 2011–12
เอสปอร์ตินเดฆิฆอน
5
7
1943–44, 1950–51, 1956–57, 1969–70, 1976–77
เรอัลโอบิเอโด
5
6
1932–33, 1951–52, 1957–58, 1971–72, 1974–75
มาลากา[b]
4
13
1951–52, 1966–67, 1987–88, 1998–99
โอซาซูนา
4
7
1952–53, 1955–56, 1960–61, 2018–19
อาลาเบส
4
6
1929–30, 1953–54, 1997–98, 2015–16
เซบิยา
4
5
1929, 1933–34, 1968–69, 2000–01
ลัสปัลมัส
4
5
1953–54, 1963–64, 1984–85, 1999–2000
เซลตาบิโก
3
11
1935–36, 1981–82, 1991–92
เอร์กูเลส
3
8
1934–35, 1965–66, 1995–96
เรอัลบายาโดลิด
3
8
1947–48, 1958–59, 2006–07
เรอัลโซซิเอดัด
3
6
1948–49, 1966–67, 2009–10
กรานาดา
3
5
1940–41, 1956–57, 1967–68
อัลโกยาโน
3
3
1944–45, 1946–47, 1949–50
ราซินเดซันตันเดร์
2
8
1949–50, 1959–60
มายอร์กา
2
7
1959–60, 1964–65
เอลเช
2
6
1958–59, 2012–13
เลบันเต
2
5
2003–04, 2016–17
กัสเตยอน
2
4
1980–81, 1988–89
ซาบาเด็ลย์
2
4
1942–43, 1945–46
อัสปัญญ็อล
2
4
1993–94, 2020–21
เมริดา
2
2
1994–95, 1996–97
บาเลนเซีย
2
2
1930–31, 1986–87
ปอนเตเบดรา
2
2
1962–63, 1964–65
ฆาเอน
2
2
1952–53, 1955–56
เรอัลซาราโกซา
1
8
1977–78
ราโยบาเยกาโน
1
7
2017–18
กาดิซ
1
6
2004–05
เตเนริเฟ
1
4
1960–61
นูมันเซีย
1
3
2007–08
เรเกรอาติโบ
1
3
2005–06
กอร์โดบา
1
3
1961–62
อูเอสกา
1
2
2019–20
อัตเลติโกเดมาดริด
1
2
2001–02
แยย์ดา
1
2
1992–93
อัลบาเซเต
1
2
1990–91
เรอัลบูร์โกส
1
2
1975–76
เอย์บาร์
1
1
2013–14
เฆเรซ
1
1
2008–09
เรอัลบูร์โกส 1
1
1
1989–90
อาเด อัลเมริอา
1
1
1978–79
กัลตูรัลเลโอเนซา
1
1
1954–55
อัตเลติโกเตตวน
1
1
1950–51
เรอัลมาดริดกัสติยา
1
เลื่อนชั้นไม่ได้
1983–84
  1. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2021 อาโมเรบิเอตาได้ทำข้อตกลงในการใช้ศูนย์เลซามาของอัตเลติกบิลบาโอ หลังจากอูร์ริตเช สนามเหย้าที่แท้จริงของพวกเขาไม่ผ่านมาตรฐานการลงเล่นในเซกุนดาดิบิซิออน[6]
  2. รวมทั้งในนาม เซเด มาลากา และมาลากา เซเอเฟ

อ้างอิง

  1. "LaLiga2 and Santander strike title sponsorship deal". Liga Nacional de Fútbol Profesional. 21 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
  2. "Presentado el acuerdo por el que Primera División se llamará Liga BBVA y Segunda, Liga Adelante" (ภาษาสเปน). lfp.es. 4 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2008.
  3. "LaLiga and Santander strike title sponsorship deal". LaLiga. 21 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
  4. "Información" (ภาษาสเปน). AD Alcorcón. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
  5. "Estadio de los Juegos del Mediterráneo" (ภาษาสเปน). UD Almería. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  6. "La Sociedad Deportiva Amorebieta disputará en Lezama sus partidos como local de LaLiga SmartBank" [Sociedad Deportiva Amorebieta will play at Lezama their home matches in the LaLiga SmartBank] (ภาษาสเปน). SD Amorebieta. 17 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
  7. "Estadio Municipal El Plantío" (ภาษาสเปน). Burgos CF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.
  8. "Estadio Cartagonova" (ภาษาสเปน). FC Cartagena. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
  9. "El Eibar inicia la próxima semana la reubicación de los abonados para la próxima temporada" (ภาษาสเปน). SD Eibar. 21 May 2019.
  10. "Montilivi" (ภาษาคาตาลัน). Girona FC. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.
  11. "Can Misses :: Estadios y Pabellones ::". www.lapreferente.com. สืบค้นเมื่อ 2020-01-16.
  12. "Facilities - Butarque". CD Leganés. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-12. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  13. "Estadio Anxo Carro" (ภาษาสเปน). CD Lugo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  14. "LA ROSALEDA STADIUM". Málaga CF. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  15. "El Estadio Municipal de Anduva". CD Mirandés. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  16. "Stadiums". Real Oviedo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 30 May 2016.
  17. "Estadio El Toralín". SD Ponferradina. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-15. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  18. "Centro de Entrenamiento Zubieta". soccerway.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
  19. "El Molinón" (ภาษาสเปน). Sporting de Gijón. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  20. "Instalaciones" (ภาษาสเปน). CD Tenerife. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-20. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
  21. "Estadio José Zorrilla" (ภาษาสเปน). Real Valladolid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 30 May 2016.
  22. "Estadio La Romareda" (ภาษาสเปน). Real Zaragoza. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya