แผ่นป้ายม้าบิน วัฒนธรรมเซียนเปย์ มณฑลมองโกเลียใน ประเทศจีน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1
เซียนเปย์ (จีนตัวย่อ : 鲜卑 ; จีนตัวเต็ม : 鮮卑 ; พินอิน : Xiānbēi ) เป็นชนร่อนเร่ โบราณซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นชนชาติในตระกูลโพรโต-มองโกล[ 6] ที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสเตปป์ ในยูเรเชีย ตะวันออก ในบริเวณที่เป็นประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่หนักแน่นว่าชนเซียนเปย์เป็นสมาพันธ์หลายเชื้อชาติที่มีอิทธิพลจากกลุ่มชนมองโกลและกลุ่มชนเติร์ก [ 7] [ 8] กลุ่มชนเซียนเปย์มาจากกลุ่มชนตงหูที่แตกออกเป็นชนเผ่าอูหฺวาน และเซียนเปย์หลังถูกชนเผ่าซฺยงหนู ตีแตกพ่ายเมื่อปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล ชาวเซียนเปย์ส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของชนร่อนเร่ที่มีอำนาจมากกว่าและราชวงศ์ฮั่น จนกระทั่งขึ้นมีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 87 จากการสังหารโยฺวหลิว ผู้เป็นฉาน-ยฺหวี ของชนเผ่าซฺยงหนู
หลังจากพ่ายแพ้หลายครั้งในช่วงปลายยุคสามก๊ก ชาวเซียนเปย์ก็อพยพลงใต้และตั้งรกรากใกล้กับชุมชนชาวฮั่นและยอมเป็นประเทศราช จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นกง เนื่องจากเผ่าเซียนเปย์มู่หรง, ทั่วป๋า และตฺว้าน เป็นหนึ่งในห้าชนเผ่า ที่เป็นประเทศราชของราชวงศ์จิ้นตะวันตก และจิ้นตะวันออก จึงมีส่วนร่วมในการก่อจลาจลของห้าชนเผ่าในฐานะพันธมิตรของราชวงศ์จิ้นตะวันออกเพื่อต่อต้านอนารยชนอีกสี่เผ่าคือซฺยงหนู , เจี๋ย, ตี และเชียง[ 10]
มีช่วงหนึ่งที่ชาวเซียนเปย์พ่ายแพ้และถูกพิชิตโดยราชวงศ์เฉียนฉิน ที่นำโดยชาวตี ก่อนที่จะล่มสลายไม่นานหลังจากพ่ายแพ้ในยุทธการที่แม่น้ำเฝย์โดยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ต่อมาชาวเซียนเปย์ได้ก่อตั้งราชวงศ์ของตนเองและรวมจีนตอนเหนืออีกครั้งภายใต้ราชวงศ์เว่ย์เหนือ รัฐเหล่านี้มีทั้งที่ต่อต้านและส่งเสริมการทำให้เป็นจีน แต่มีแนวโน้มไปทางส่งเสริมและได้รวมเข้ากับประชากรจีนทั่วไปโดยราชวงศ์ถัง [ 11] [ 12] [ 13] [ 14] [ 15] ราชวงศ์เว่ย์เหนือ ยังจัดให้ชนชั้นสูงชาวฮั่นแต่งงานกับลูกสาวของราชวงศ์ชาวทั่วป๋าในช่วงทศวรรษที่ 480[ 16] มากกว่าร้อยละ 50 ของเจ้าหญิงชาวทั่วป๋าเซียนเปย์แห่งราชวงศ์เว่ยเหนือแต่งงานกับชายชาวฮั่นทางตอนใต้จากพระราชวงศ์และขุนนางจากราชวงศ์ใต้ ที่แปรพักตร์และย้ายไปทางเหนือเพื่อเข้าร่วมกับราชวงศ์เว่ย์เหนือ
อ้างอิง
↑ Grousset, Rene (1970). The Empire of the Steppes . Rutgers University Press. pp. 53–54 . ISBN 978-0-8135-1304-1 .
↑ "Nomads in Central Asia." N. Ishjamts. In: History of civilizations of Central Asia, Volume II. The development of sedentary and nomadic civilizations: 700 B.C. to A.D. 250 . Harmatta, János, ed., 1994. Paris: UNESCO Publishing, pp. 155–156.
↑ SGZ 30. 837–838, note. 1.
↑ Hu, Alex J. (February 2010). "An overview of the history and culture of the Xianbei ('Monguor'/'Tu')" . Asian Ethnicity (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 95–164. doi :10.1080/14631360903531958 . ISSN 1463-1369 .
↑ Bang, Peter Fibiger; Bayly, C. A.; Scheidel, Walter (2020-12-02). The Oxford World History of Empire: Volume One: The Imperial Experience (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 92. ISBN 978-0-19-977311-4 .
↑ Kradin N. N. (2011). "Heterarchy and hierarchy among the ancient Mongolian nomads" . Social Evolution & History .
↑ Wolfgang-Ekkehard Scharlipp Die frühen Türken in Zentralasien , Darmstadt 1992, p. 10
↑ Bartolʹd, V. V. (2007). Turkestan down to the Mongol invasion (ภาษาอังกฤษ). [London]: E.J.W. Gibb Memorial Trust. p. 25. ISBN 978-0906094006 . สืบค้นเมื่อ 15 January 2023 .
↑ Theobald, Ulrich. "Xianbei 鮮卑" . Chinaknowledge.de . สืบค้นเมื่อ 24 January 2022 .
↑ "The Sixteen States of the Five Barbarian Peoples 五胡十六國" . Chinaknowledge.de .
↑ Gernet, Jacques (1996). A History of Chinese Civilization . Cambridge University Press. pp. 186–87. ISBN 9780521497817 .
↑ Tanigawa, Michio; Fogel, Joshua (1985). Medieval Chinese Society and the Local "community" . University of California Press. pp. 120–21. ISBN 9780520053700 .
↑ Van Der Veer, Peter (2002). "Contexts of Cosmopolitanism" . ใน Vertovec, Steven; Cohen, Robin (บ.ก.). Conceiving Cosmopolitanism: Theory, Context and Practice . Oxford University Press. pp. 200–01. ISBN 9780199252282 .
↑ Dardess, John W. (2010). Governing China: 150–1850 . Hackett. p. 9. ISBN 9781603844475 .
↑ Rubie Sharon Watson (1991). Marriage and Inequality in Chinese Society . University of California Press. pp. 80–. ISBN 978-0-520-07124-7 .
บรรณานุกรม
Cosmo, Nicola di (2009), Military Culture in Imperial China , Harvard University Press
de Crespigny, Rafe (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms , Brill
de Crespigny, Rafe (2010), Imperial Warlord , Brill
de Crespigny, Rafe (2017), Fire Over Luoyang: A History of the Later Han Dynasty, 23–220 AD , Brill
Golden, Peter Benjamin (2013). Curta, Florin; Maleon, Bogdan-Petru (บ.ก.). "Some Notes on the Avars and Rouran" . The Steppe Lands and the World Beyond Them . Iași: Editura Universității "A.I. Cuza" Publisher: 43–66.
Holcombe, Charles (2014), The Xianbei in Chinese History
Li, Jiawei; และคณะ (August 2018). "The genome of an ancient Rouran individual reveals an important paternal lineage in the Donghu population". American Journal of Physical Anthropology . American Association of Physical Anthropologists . 166 (4): 895–905. doi :10.1002/ajpa.23491 . PMID 29681138 .
Twitchett, Denis (2008), The Cambridge History of China: Volume 1 , Cambridge University Press
Janhunen (27 January 2006). The Mongolic Languages . Routledge. p. 393. ISBN 978-1-135-79690-7 .
Wang, Haijing; และคณะ (November 2007). "Molecular genetic analysis of remains from Lamadong cemetery, Liaoning, China" . American Journal of Physical Anthropology . American Association of Physical Anthropologists . 134 (3): 404–411. doi :10.1002/ajpa.20685 . PMID 17632796 .
Yu, Changchun; และคณะ (20 October 2006). "Genetic analysis on Tuoba Xianbei remains excavated from Qilang Mountain Cemetery in Qahar Right Wing Middle Banner of Inner Mongolia". The FEBS Journal . Wiley . 580 (26): 6242–6246. Bibcode :2006FEBSL.580.6242C . doi :10.1016/j.febslet.2006.10.030 . PMID 17070809 . S2CID 19492267 .
Yu, C.-C.; และคณะ (6 April 2014). "Genetic analyses of Xianbei populations about 1,500–1,800 years old". Russian Journal of Genetics . Springer . 50 (3): 308–314. doi :10.1134/S1022795414030119 . ISSN 1022-7954 . PMID 17070809 . S2CID 18809679 .
แหล่งข้อมูลอื่น