เซ็มเบ
เซ็มเบ (ญี่ปุ่น: 煎餅; โรมาจิ: senbei) คือ ข้าวเกรียบแบบหนึ่ง ที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม (ส่วนใหญ่รสเค็มจะเป็นรสชาติของโชยุ) แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนบ้าน ลักษณะปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริง จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ ในประเทศจีน เซ็มเบ อ่านว่า "เจียนปิ่ง" (jiānbǐng) (煎餅) โดยมีหลายแบบเช่น ซานตงเจียนปิ่งและเทียนจินเจียนปิ่ง อย่างไรก็ตาม เหล่านี้ถือว่าเป็นอาหารคนละอย่างกัน ในประเทศจีน เจียนปิ่งนั้นมีลักษณะคล้ายแพนเค้ก ใกล้เคียงกับโอโกโนมิยากิ ในขณะที่ของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความแข็ง และเป็นขนมไม่ใช่อาหารหลัก อย่างไรก็ตาม ขนมปังกรอบซึ่งคล้ายกับเซ็มเบญี่ปุ่นมีในประเทศจีนในปัจจุบัน ชื่อสมัยใหม่คือ "เซียนเป้ย์" (仙贝, พินอิน: xiānbèi) ซึ่งออกเสียงคล้ายกับเซ็มเบ เซ็มเบหวาน (甘味煎餅) มาถึงประเทศญี่ปุ่นในช่วงราชวงศ์ถัง บันทึกการใช้ครั้งแรกอยู่ใน ค.ศ. 737 และยังมีความคล้ายกับรูปแบบของราชวงศ์ถัง โดยแรกเริ่มนั้นแพร่หลายแถบคันไซ ซึ่งรวมไปถึงเซ็มเบ "กระเบื้องหลังคา" แบบดั้งเดิม เครื่องปรุงที่ใช้ได้แก่มันฝรั่งและแป้งข้าวสาลี หรือข้าวเหนียว และยังคล้ายกับเค้กคัสเตลลา (มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับเซ็มเบในปัจจุบัน) เซ็มเบแบบโบราณแบบนี้ยังหาได้ เช่นที่ อิงะ เมบุตสึ คาตายากิ (伊賀名物 かたやき) ในเมืองอิงะ สิ่งที่คนญี่ปุ่นเรียกว่าเซ็มเบในปัจจุบันนั้นเริ่มได้รับความนิยมในยุคเอโดะโดยร้าน Sōkajuku ที่ทำให้เซ็มเบรสซอสถั่วเหลืองเป็นที่นิยมทั่วประเทศญี่ปุ่น เซ็มเบแบบโบราณมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เซ็มเบหวาน (มีมากกว่า 15 แบบ) ขนมข้าวเซ็มเบ (米菓煎餅) และอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึงเซ็มเบปลา (魚せんべい) เซ็มเบรากบัว (蓮根煎餅) และเซ็มเบกระดูก (骨せんべい) เซ็มเบยุคใหม่นั้นมีความสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก และอาจมีรสกิมจิ วาซาบิ แกงกะหรี่ ไปจนถึงช็อกโกแลต เซ็มเบคันไซ ส่วนมากใช้ข้าวเหนียว มีการปรุงแต่งเพียงเล็กน้อยและมีเนื้อที่ละเอียดอ่อน (saku saku) เซ็มเบคันโต โดยดั้งเดิมมาจากอูรูจิไม (uruchimai) ข้าวที่ไม่เหนียว รวมไปถึงมีความกรอบ (kari kari) และรสชาติที่กลมกล่อม ข้าวเกรียบญี่ปุ่นแบบบาง (薄焼きせんべい อูซูยากิ เซ็มเบ) ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ[1] อ้างอิง |