Share to:

 

เด็กหอ

เด็กหอ
กำกับทรงยศ สุขมากอนันต์
บทภาพยนตร์ชลลดา เตียวสุวรรณ
วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์
ทรงยศ สุขมากอนันต์
อำนวยการสร้างจีทีเอช
ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์
นักแสดงนำ
กำกับภาพนิรมล รอสส์
ตัดต่อพงศธร โกศลโพธิทรัพย์
วิชชา โกจิ๋ว
ดนตรีประกอบภรัถ พุทธปานันท์
สโนแมน สตูดิโอ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายจีทีเอช
ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์
วันฉาย23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ความยาว105 นาที
ภาษาไทย
ทำเงิน50.3 ล้านบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เด็กหอ เป็นภาพยนตร์ไทย แนวสยองขวัญ เข้าฉาย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กำกับโดย ทรงยศ สุขมากอนันต์ โดย จีทีเอช และ ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์

นักแสดง

เนื้อเรื่องย่อ

ชาตรี เด็กชาย อายุ 12 เรียน ม.1 เป็นเด็กไร้ความหมาย ที่พ่อของเขาส่งไปเรียนที่โรงเรียนสายชลวิทยา ที่จังหวัดชลบุรี อย่างฉุกละหุก ก็เพื่อที่ชาตรีจะได้พ้นไปจากบ้านไกลไปเสียจากพ่อ เพราะชาตรีรู้ความลับของพ่อทั้งหมด เพื่อนของชาตรีได้พูดคุยเรื่องผีในโรงเรียนและเรื่องครู ในตอนกลางคืนชาตรีรู้สึกปวดฉี่ขึ้นมา พอฉี่เสร็จชาตรีได้ยินเสียงอะไรบางอย่างเหมือนมันเคลื่อนที่ได้ แต่พอเข้าไปแล้วประตูก็เลยล็อก ชาตรีตกใจมากเลยอยากออกไป จนสักพักประตูก็เปิดได้ ชาตรีวิ่งหนีไปหอพักจนเขารู้สึกกลัวมาก

แล้วชาตรี ก็ได้พบกับ วิเชียร เพื่อนร่วมห้องที่ดูเหมือนจะรู้อะไร ๆ ในโรงเรียนไปเสียทุกอย่าง และแล้วมิตรภาพระหว่างเพื่อนทั้ง 2 ก็ก่อตัวขึ้น ก่อนที่พบว่าแท้ที่จริงแล้ว วิเชียร ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา ๆ แต่พอเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าชาตรีก็เริ่มผูกมิตรกับวิเชียรได้ เพราะว่าทั้งสองคนเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ "ไม่มีใครเห็นว่ามีตัวตน" อย่างตอนที่ชาตรีคิดจะทำอะไรแผลง ๆ เพื่อถอดวิญญาณมาช่วยวิเชียร วิเชียรก็พูดว่า "สัญญากับฉันสิ ว่าจะไม่ทำอะไรบ้า ๆ เพื่อช่วยฉัน ชาตรี สัญญากับฉันสิ" ชาตรีไม่ตอบ กลับยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นจนถึงเวลา 6 โมงเย็น มันคือ เวลาตายของวิเชียร แต่วิเชียรต้องกลับไปที่สระว่ายน้ำนั้น เพื่อลิ้มรสความทรมานจากการจมน้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวัน ชาตรีเจ็บปวดมากที่ได้เห็นวิเชียรทรมานแบบนั้น แต่ตัวเขากลับได้แต่ยืนมอง แตะต้องอะไรวิเชียรไม่ได้ จนในที่สุด ชาตรีก็ไปดมสารอีเทอร์ มากเกินขนาด จนในที่สุดวิญญาณก็หลุดออกจากร่าง แล้วชาตรีก็ไม่คิดจะเหลียวมองดูร่างของตนเองเลยแม้แต่น้อย เขาวิ่งไปทางสระว่ายน้ำนั้นโดยไม่สนใจอะไรอีกแล้ว และชาตรีก็ช่วยวิเชียรขึ้นมาจากสระจนได้ และต่อจากนั้นเอง ที่วิเชียรลาชาตรีไปเกิด แค่ลากันสั้น ๆ แต่สายตาสื่อความหมายว่าทั้งสองคนผูกพันกันมากมายเพียงใด /เป็นความจริงบางส่วน/

รางวัล

ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2549 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม นิรมล รอสส์ เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว เสนอชื่อเข้าชิง
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จุมพล เสพสวัสดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม นิรมล รอสส์ เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จุมพล เสพสวัสดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เรวัตร กรวยทอง, คมกฤช ชักนำ, สุธรรม วิลาวัลย์เดช ชนะ
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม วาสนา เบญจชาติ เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ ชนะ
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ ชนะ
กำกับภาพยอดเยี่ยม นิรมล รอสส์ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว เสนอชื่อเข้าชิง
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จุมพล เสพสวัสดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เรวัตร กรวยทอง, คมกฤช ชักนำ, สุธรรม วิลาวัลย์เดช เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ ชนะ
พ.ศ. 2550 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
ลำดับภาพยอดเยี่ยม พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว ชนะ
พ.ศ. 2550 รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 4 ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
พ.ศ. 2550 เทศกาลภาพยนตร์ฟาทจ์แห่งอิหร่าน (Fajr Film Festival Iran) ครั้งที่ 25 รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Crystal Simorgh for Best Director สาขา Competition of Spiritual Cinema (Seeking the Truth)) ทรงยศ สุขมากอนันต์ ชนะ
พ.ศ. 2550 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 57 เยอรมนี (Berlin International Film Festival) ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลหมีแก้ว (Crystal Bear) สาย Generation Kplus - ตัดสินโดยกรรมการเด็ก 11 คน GTH ชนะ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัล Special Mention of Deutsches Kinderhilfswerk (องค์การสนับสนุนเด็กเยอรมัน) สาย Generation Kplus ตัดสินโดยกรรมการผู้ใหญ่ 7 คน จากนานาชาติ GTH รองอันดับ 1

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:โครงภาพนตร์

Kembali kehalaman sebelumnya