Share to:

 

เทศบาลตำบลจัตุรัส

เทศบาลตำบลจัตุรัส
ถนนโกสีย์
ถนนโกสีย์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลจัตุรัส
ตรา
คำขวัญ: 
พระธาตุงามเด่น ยามเย็นชมสวน รถไฟหลายขบวน มวลชนสามัคคี อาหารรสดีหลากหลาย งานใหญ่พ่อหลวงบรรเทาคุ้ม เมืองสี่มุมพระยานรินทร์
ทต.จัตุรัสตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ
ทต.จัตุรัส
ทต.จัตุรัส
ที่ตั้งเทศบาลตำบลจัตุรัสในจังหวัดชัยภูมิ
พิกัด: 15°33′56″N 101°50′44″E / 15.56556°N 101.84556°E / 15.56556; 101.84556
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยภูมิ
อำเภอจัตุรัส
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายอรรถวีร์ อุระวัฒนพันธ์ุ
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.577 ตร.กม. (1.381 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด4,150 คน
 • ความหนาแน่น1,160.19 คน/ตร.กม. (3,004.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05360601
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 444 หมู่ 1 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 36130
โทรศัพท์044-851 359
โทรสาร044 -851 359
เว็บไซต์www.chatturat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จัตุรัส เป็นเทศบาลตำบลในตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เป็นย่านเศรษฐกิจหลักและเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอจัตุรัส เป็นหนึ่งในเทศบาลตำบลทั้งสามแห่งของอำเภอจัตุรัส อันประกอบไปด้วย เทศบาลตำบลจัตุรัส เทศบาลตำบลหนองบัวโคก และเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ โดยเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่เป็นชุมชนเมืองสี่มุมเก่า และย่านเศรษฐกิจรองของอำเภอจัตุรัส

ประวัติ

เดิมเทศบาลตำบลจัตุรัส ได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลจัตุรัส ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 14 เล่ม 74 ตอนที่ 4 ลงวันที่ 7 มกราคม 2500 และได้เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2509 ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลตำบลจัตุรัสตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บางส่วนของหมู่ที่ 1, บางส่วนของหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 12 เขตเทศบาลมีพื้นที่ 3.577 ตารางกิโลเมตร มีชุมชนในเขตเทศบาลทั้งหมด 9 ชุมชน

เทศบาลตำบลจัตุรัส มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงจำนวน 3 แห่ง คือ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก
  • เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส

โดยมีอาณาเขตของเทศบาล ดังนี้

  • ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยคันฉูฝั่งตะวันออกห่างจากศูนย์กลาง ถนนเมขลา ตามแนวลำห้วย 500 เมตร เส้นเขตเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินสาย ชัยภูมิ-สีคิ้ว ฝั่งตะวันออกตรง กม. 82 : 200 โดยมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากทางรถไฟตรง กม. 311 : 600 ตามแนวเส้นตั้งฉาก 40 เมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก และเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่
  • ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงขนานกับทางรถไฟไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึง หลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยคันฉูฝั่งตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก และองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส
  • ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เรียบตามริมห้วยคันฉูฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วเรียบตามริมห้วยคลองแคฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือประจบหลักเขตที่ 1 โดยมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

สภาพภูมิประเทศภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง มีลำห้วยกอกและลำห้วยคลองแคไหลผ่านภายในเขตเทศบาล โดยทั่วไปไหลแยกมาจากลำห้วยคันฉู ระยะทางประมาณ 500 เมตร และไปรวมกันที่สุดเขตเทศบาล

ลักษณะภูมิอากาศ เนื่องจากเทศบาลตำบลจัตุรัสอยู่ในพื้นที่ของอำเภอจัตุรัสทำให้มีสภาพภูมิอากาศ 3 ฤดูตลอดปี

  • ฤดูร้อน เริ่มระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยต่อปี 31.22 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน โดยจะมีฝนตกชุกในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนโดยประมาณตลอดทั้งปี 1,191.9 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนมกราคม โดยมีอากาศหนาวจัดในระหว่างเดือนธันวาคม ถึง มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยต่อปี 22.087 องศาเซลเซียส

มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นห้วยจำนวน 2 แห่ง คือ ห้วยกอก และห้วยทองหลาง

การปกครอง

เทศบาลตำบลจัตุรัส มีหมู่บ้านที่อยู่ในการปกครองทั้งสิ้น 3 หมู่บ้าน 9 ชุมชน ได้แก่

หมู่ที่ ชุมชนที่ ชื่อชุมชน
1 1 ชุมชนทรงธรรมพัฒนา 1
1 2 ชุมชนทรงธรรมพัฒนา 2
1 3 ชุมชนปิยมิตร
1 4 ชุมชนจัตุรัสพัฒนาก้าวหน้าสามัคคี
2 5 ชุมชนหงษ์ทองพัฒนา
2 6 ชุมชนสวยสุนันทา
2 7 ชุมชนรวมใจสามัคคี
2 8 ชุมชนสระหลวงพัฒนา
12 9 ชุมชนรุ่งอรุณ

การคมนาคม

เทศบาลตำบลจัตุรัส อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 38 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 292 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา 81 กิโลเมตร มีการคมนาคมทางบกเป็นเส้นทางที่ติดต่อสำคัญ มีทางหลวงแผ่นดินผ่าน 2 สาย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2179 นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟ 1 แห่ง คือ สถานีรถไฟจัตุรัส ซึ่งเป็นสถานีที่ตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมืองชัยภูมิมากที่สุด

เศรษฐกิจ

ประชาชนที่มีถิ่นฐานอาศัยในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมและใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างรองลงมาคือเกษตรกร ค้าขาย รับราชการ และอาชีพอื่น ๆ ตามลำดับ ลักษณะของชุมชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย โดยมีครอบครัวเดี่ยวจำนวนน้อย

พืชเกษตรที่สำคัญของเทศบาลตำบลจัตุรัส ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าว และพริก ผลไม้ที่ปลูกมาก คือ น้อยหน่า มะม่วง เป็นต้น

การปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรตำบลจัตุรัส มีการเลี้ยงรายย่อยโดยทั่วไป หรือเป็นการเลี้ยงภายในครัวเรือนเพื่อใช้เป็นแรงงานและเป็นอาหาร สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่ คือ โคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่ เป็ด ฯลฯ

  • ธนาคาร มีสาขาของธนาคาร 6 แห่ง ได้แก่
    • ธนาคารออมสิน สาขาจัตุรัส
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัส
    • ธนาคารกรุงเทพ สาขาจัตุรัส
    • ธนาคารกรุงไทย สาขาจัตุรัส
    • ธนาคารกสิกรไทย สาขาจัตุรัส
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาจัตุรัส
  • ห้างสรรพสินค้า
    • โลตัส สาขาจัตุรัส ชัยภูมิ

การศึกษา

  • โรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง คือ
    • โรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล
    • โรงเรียนศรีเทพบาล
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจัตุรัส 1 แห่ง
  • ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง
  • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร 1 แห่ง

ศาสนสถาน

มีวัด 3 แห่ง ประกอบด้วย วัดทรงธรรม วัดหงส์ทอง และวัดศิริพงษาวาส และมีศาลเจ้า 1 แห่ง คือ ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา

วัฒนธรรม

ในเขตเทศบาลตำบลจัตุรัสมีภาษาถิ่นหลากหลายที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ทั้งภาษาอีสาน ภาษากลาง แต่แม้ว่าจะมีภาษาถิ่นไทยต่างกัน แต่ก็ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนี้

  • งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณเดือน ธันวาคม - มกราคม
  • ประเพณีสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
  • ประเพณีเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม
  • ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน

สถานที่สำคัญ

  • ที่ว่าการอำเภอ
  • สถานีตำรวจภูธร
  • สำนักงานเทศบาลตำบลจัตุรัส
  • สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • สำนักงานที่ดินจังหวัด
  • สำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่
  • สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  • สำนักงานเกษตรอำเภอ
  • สำนักงานประมงอำเภอ
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ
  • ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี"
  • ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส)
  • พระธาตุเจย์ดีศิริมหามงคล (พระธาตุจัตุรัส วัดศิริพงษาวาส)
  • สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ
  • สถานีรถไฟจัตุรัส
  • โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต สาขาจัตุรัส ชัยภูมิ
  • ตลาดสดเทศบาลตำบลจัตุรัส

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

เทศบาลตำบลจัตุรัส

Kembali kehalaman sebelumnya