Share to:

 

เทศบาลตำบลหนองสอ

เทศบาลตำบลหนองสอ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว
อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว
ทต.หนองสอตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ทต.หนองสอ
ทต.หนองสอ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลหนองสอ
พิกัด: 16°33′29.4″N 103°30′37.6″E / 16.558167°N 103.510444°E / 16.558167; 103.510444
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
จัดตั้ง • 30 กันยายน 2535 (สุขาภิบาลหนองสอ)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.หนองสอ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด45.85 ตร.กม. (17.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด7,292 คน
 • ความหนาแน่น159.04 คน/ตร.กม. (411.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05460104
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 133 หมู่ที่ 6 ถนนกาฬสินธุ์–พังโคน ตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
เว็บไซต์nongsor.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองสอ เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลลำปาว และพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 4–5, 8 ของตำบลลำคลอง ในอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหนองสอที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2535 (เฉพาะบางส่วนของตำบลลำปาว)[2] ในปี พ.ศ. 2538 ได้แยกพื้นที่หมู่บ้านในเขตสุขาภิบาลหนองสอ ได้แก่ หมู่ 5 บ้านปลาเค้าใหญ่, หมู่ 8 บ้านมิตรสัมพันธ์,หมู่ 15 บ้านโนนตูม และอีก 5 หมู่บ้านในเขตสภาตำบลลำปาวจัดตั้งเป็นตำบลลำคลอง[3] ท้องที่สุขาภิบาลจึงอยู่ในเขตทั้ง 2 ตำบล แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[4]

ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลลำปาวเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองสอ[5] เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน

พื้นที่เทศบาลตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองกาฬสินธุ์กับศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 18.8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 542 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบ 45.85 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 28,656.25 ไร่ ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 7,292 คน แบ่งเป็นประชากรในเขตตำบลลำปาว 6,247 คนและเขตตำบลลำคลอง 1,045 คน ชุมชนหนาแน่นบริเวณหมู่บ้านหนองสอซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 (กาฬสินธุ์–พังโคน) เป็นย่านการค้าขายและเป็นย่านชุมชนตลอดสองข้างทาง

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองสอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองสอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 77–79. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 108–127. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya