Share to:

 

เน็ลลี ซัคส์

เน็ลลี ซัคส์
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1966
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1966
เกิดเลโอเนีย ซัคส์
10 ธันวาคม ค.ศ. 1891(1891-12-10)
เบอร์ลิน-เชอเนแบร์ก จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต12 พฤษภาคม ค.ศ. 1970(1970-05-12) (78 ปี)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
อาชีพกวี, นักเขียนบทละครเวที
สัญชาติเยอรมัน, สวีเดน
รางวัลสำคัญรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
(ค.ศ. 1966)
ดร็อสเท-ไพรซ์
(ค.ศ. 1960)

ลายมือชื่อ
เน็ลลี ซัคส์ ใน ค.ศ. 1910

เน็ลลี ซัคส์ (เยอรมัน: Nelly Sachs; 10 ธันวาคม ค.ศ. 1891 – 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนบทละครเวทีชาวเยอรมัน-สวีเดน ประสบการณ์ของเธอซึ่งเป็นผลมาจากการก่อกำเนิดของนาซีในทวีปยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เธอกลายเป็นผู้แถลงที่เจ็บปวดสำหรับความเศร้าโศกและความปรารถนาของเพื่อนชาวยิว บทละครเวทีที่เป็นที่รู้จักกันดีของเธอคือเอลี: ไอน์มีสเทรีนสเพียลฟ็อมไลเดินอิสราเอลส์ (ค.ศ. 1950) ส่วนผลงานอื่น ๆ ได้แก่ บทกวีอย่าง "อิมซันด์ไซเชิน" (ค.ศ. 1962), "เฟร์เซาเบรุง" (ค.ศ. 1970) ตลอดจนงานรวมบทกวีอย่างอินเดินโวฮนุนเงินเดสโทเดส (ค.ศ. 1947), ฟลุชท์อุนด์เฟร์วันด์ลุง (ค.ศ. 1959), แฟร์ทอินส์สเตาโบลเซ (ค.ศ. 1961) และซูเชนัคเลเบินเดิน (ค.ศ. 1971) ซึ่งเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1966

ชีวิตและงานการ

เน็ลลี ซัคส์ เกิดที่เบอร์ลิน-เชอเนแบร์ก ประเทศเยอรมนีเมื่อ ค.ศ. 1891 ในครอบครัวชาวยิว พ่อแม่ของเธอเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติและกัตตาเปอร์ชาที่ร่ำรวย ได้แก่ เกออร์ค วิลลิอัม ซัคส์ (ค.ศ. 1858–1930) และภรรยาของเขา มาร์กาเรเท นามสกุลเดิม คาร์เกร์ (ค.ศ. 1871–1950)[1] เธอได้รับการศึกษาที่บ้านเนื่องจากสุขภาพอ่อนแอ เธอแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นนักเต้นในช่วงแรก ๆ แต่พ่อแม่ที่ปกป้องเธอไม่สนับสนุนให้เธอประกอบอาชีพนี้ เธอเติบโตมาในฐานะหญิงสาวที่เก็บตัวมากและไม่เคยแต่งงาน เธอได้ติดตามการติดต่อทางจดหมายกับเพื่อนของเธอ เซลมา ลอเกร์เลิฟ[2] และฮิลเด โดมิน เมื่อพวกนาซีเข้ามามีอำนาจ เธอก็หวาดกลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งที่สูญเสียความสามารถในการพูด ดังที่เธอจำได้ในกลอน: "เมื่อความหวาดกลัวครั้งใหญ่มาถึง/ฉันเป็นใบ้" ซัคส์ได้หนีไปอยู่กับแม่ที่มีอายุมากในประเทศสวีเดนเมื่อ ค.ศ. 1940 ซึ่งนำไปสู่มิตรภาพของเธอกับลอเกร์เลิฟที่ได้ช่วยชีวิตพวกเขาไว้:[2] ไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิต ลอเกร์เลิฟได้เข้าแทรกแซงต่อราชวงศ์สวีเดนเพื่อให้พวกเขาได้รับการปล่อยตัวจากเยอรมนี ซัคส์และแม่ของเธอหลบหนีในเที่ยวบินสุดท้ายจากนาซีเยอรมนีไปยังสวีเดน ซึ่งเป็นหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ซัคส์จะถูกกำหนดให้ไปรายงานตัวที่ค่ายกักกัน พวกเขาตั้งรกรากในประเทศสวีเดน และซัคส์ได้กลายเป็นพลเมืองสวีเดนใน ค.ศ. 1952

หมายเหตุ

  1. เน็ลลี ซัคส์ ที่ Nobelprize.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

ภาษาอังกฤษ

  • Bower, Kathrin M. Ethics and remembrance in the poetry of Nelly Sachs and Rose Ausländer. Camden House, 2000. ISBN 978-1-57113-191-1
  • Barbara Wiedemann (ed.) Paul Celan, Nelly Sachs: Correspondence, trans. Christopher Clark. Sheep Meadow, 1998. ISBN 978-1-878818-71-3
  • Olsson, Anders. แม่แบบ:SKBL

ภาษาเยอรมัน

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya