Share to:

 

เบิร์ดกะฮาร์ท

เบิร์ดกะฮาร์ท
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพประเทศไทย
แนวเพลงป็อป อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง
ช่วงปีพ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2549
ค่ายเพลงไนท์สปอตโปรดักชั่น
คีตา เรคคอร์ดส
โอเอฟ
ร่องเสียงลำไย
สไปร์ซซี่ ดิสก์
สมาชิกกุลพงศ์ บุนนาค (เบิร์ด) ร้องนำ / กีต้าร์
สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์ / เปียโน

เบิร์ดกะฮาร์ท ชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีนักร้องนำคือ กุลพงษ์ บุนนาค (เบิร์ด) และ สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท)

สมาชิก

ประวัติ

บทเพลงในแบบ "เบิร์ด กะ ฮาร์ท" ได้สร้างปรากฏการณ์ที่สดใหม่ ให้เกิดขึ้นในวงการเพลงในยุค 80 เพราะเป็นคู่ดูโอ้คู่แรกของไทยบวกกับความเป็นนักเรียนนอก หน้าใสในสมัยนั้น เป็นความ โดดเด่น ที่อยู่ในความสนใจของใคร ๆ หลาย ๆ คน ทั้งทำนองและเนื้อร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่มักผิดหวัง ด้วยภาษาที่สวยงามบนความเรียบง่ายของภาคดนตรี และสำเนียงการร้องสไตล์เด็กที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศทำให้เขา ทั้งคู่ดูโดดเด่น และน่าสนใจ

โดยความเป็นเบิร์ดกะฮาร์ทนั้นเริ่มต้นในปี 2526 โดยศิลปินทั้งคู่เริ่มต้นพบกันที่สหรัฐอเมริกาที่เมืองลอสแอนเจลิส ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่นั่น โดยทั้งคู่เริ่มต้นจากการเป็นเพื่อนกัน โดยการแนะนำของเพื่อนรุ่นพี่ที่อเมริกาคือคุณสืบศักดิ์ คลังมนตรี สมัยนั้นขณะที่คุณสืบศักดิ์ เรียนชั้นมัธยมศึกษา เขามีวงดนตรีของตัวเองชื่อ The Mammy เรียกกันว่ายุคนั้นวงนี้เทียบเท่ากับวง The impossibles

ขณะนั้นเบิร์ดและฮาร์ทศึกษาอยู่ที่แอลเอ คุณสืบศักดิ์ทำงานอยู่ที่แอลเอ ก็เลยเป็นผู้แนะนำและทำให้เบิร์ดกับฮาร์ทได้มารู้จักกัน

ในเรื่องการได้ทำเพลงเบิร์ดกะฮาร์ทได้รู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่ง ซึ่งทำงานกับพี่ฉ่าย สมชัย ขำเลิศกุล ชื่อพี่อ๋อย วิภาวี ประสงค์ ซึ่งรุ่นพี่คนนี้ทำงานอยู่บริษัทไนท์สปอตโปรดักชั่น เขาชักชวนให้เบิร์ดกะฮาร์ทลองทำเพลง demo ส่งมาที่บริษัทไนท์สปอตโปรดักชั่น โดยมีพี่ฉ่าย ช่วยเป็นที่ปรึกษาทำ demo ให้จนได้เป็นเพลงออกมาสามเพลงคือ "ลืม" "อาลัยเธอ" และ "Susan Joan" ซึ่งเป็น เพลงที่เบิร์ดกะฮาร์ทแต่งและเขียนไว้เองทั้งหมด

พอช่วงกลางปี 2528 เบิร์ดกะฮาร์ทได้บินกลับมาเมืองไทย เป็นช่วงปิดเทอม ทั้งคู่ได้เข้าไปพบ “คุณไชยยงค์ นนทสุต” กรรมการรองผู้จัดการบริษัทไนท์สปอต และได้มอบเพลง demo สามเพลงให้เขาฟังแต่เพลงยังไม่เกิดความประทับใจผู้บริหารค่ายใหญ่ในขณะนั้นเท่าใดนัก อย่างไรก็ดี เทป demo ได้ถูกส่งไปถึงดีเจคุณวินิจ เลิศรัตนชัย เพื่อเปิดแนะนำในรายการวิทยุ "โลกสวยด้วยเพลง ปรากฏว่าหลังจากเพลงได้ถูกเปิดในรายการแล้วมีผู้ฟังชื่นชอบมากมายและมีผู้ฟังโทรมาขอให้เปิดเพลงของ เบิร์ดกะฮาร์ทจำนวนมาก และถามถึงชื่อของนักร้องและคนแต่งเพลง 2 คนนี้ ดีเจวินิจได้สอบถามกับคุณไชยยงค์ นนทสุต และขอข้อมูล และแฟกซ์มาสอบถามกับฮาร์ท  ซึ่งเขาได้เขียนชื่อเพื่อนไปก่อนคือเบิร์ด แล้วก็ฮาร์ท ดีเจวินิจได้กล่าวออกอากาศในรายการว่า เป็นบทเพลงของ "เบิร์ดกับฮาร์ท" จึงเลยเป็นที่มาของ "เบิร์ดกะฮาร์ท"

ผลงาน

อัลบั้มเพลง

ห่างไกล (พฤศจิกายน พ.ศ. 2528)

  1. ไม่ลืม
  2. ห่างไกล
  3. อาลัยเธอ
  4. เพ้อ
  5. คิดถึง II
  6. ลืม
  7. คิดถึง I
  8. Susan Joan
  9. สนุก
  10. รักนอกใจ
  11. ลืม (demo version)
  12. อาลัยเธอ (demo version)
  13. Susan joan (demo version)
  14. ห่างไกล (พี่โอ่ง version)

ด้วยใจรักจริง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2529)

  1. Goodbye Song
  2. ด้วยใจรักจริง
  3. เอื้อมดาว
  4. Lucky Star
  5. ฉันเอง
  6. ฟ้าสีคราม
  7. I Need Your Love
  8. รักเสมือนป่า
  9. คืนนั้น
  10. Goodbye Song (ภาคภาษาไทย)

ต้นตำรับ 1 (พ.ศ. 2531)

  1. ไม่ลืม

จากกันมานาน (มกราคม พ.ศ. 2534)

  1. จากกันมานาน
  2. รอรัก
  3. ฉันคอย
  4. ทำอย่างไร
  5. ฝน
  6. เพียงเรา
  7. Wonder Woman
  8. เมืองงาม
  9. บทเพลงสุดท้าย
  10. ลืม (Previously Unreleased)
  11. เพื่อนกัน (demo version)
  12. รอรัก (demo version)

รวมฮิตติดหัวใจแจ๊ส (พ.ศ. 2534)

  1. รอรัก
  2. ห่างไกล
  3. ลืม

Byrd & Hearts นายเอ้​ Project No.1 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2534)

  1. ห้องสุดท้าย
  2. กลับบ้าน
  3. ยกสุดท้าย
  4. You

SOFT BOX II KITA 1990-1993 (พ.ศ. 2537)

  1. เพียงเรา

Moonlighting (4 สิงหาคม พ.ศ. 2538)

  1. เพื่อนกัน
  2. More 'n' More
  3. ดั่งตะวัน
  4. Am, I Love You
  5. You (English Version)

นึกถึงดิอิมพอสซิเบิ้ล (พ.ศ. 2539)

  1. หนึ่งในดวงใจ
  2. วนาสวรรค์
  3. หัวใจเหิร
  4. ยอดเยาวมาลย์
  5. จูบฟ้าลาดิน
  6. ระเริงชล
  7. ชื่นรัก
  8. หนาวเนื้อ
  9. รักกันหนอ
  10. ขาดเธอขาดใจ

ID Hits (พ.ศ. 2539)

  1. ฝน

ID Hot (พ.ศ. 2539)

  1. จากกันมานาน

รวมกันเพื่อรัก (พ.ศ. 2540)

  1. Like My Free
  2. ฝน
  3. เธอเดินท้องฟ้าฉันไหม
  4. รอรัก

ประสานใจ ไทยหาร 2 (พ.ศ. 2541)

  • ประสานใจ ประหยัดพลังงาน

HURT (พ.ศ. 2541)

  • ฝน

Big 2 (พ.ศ. 2541)

  • This Song For You

เบิร์ดกะฮาร์ท รวมฮิต (พ.ศ. 2541)

  • จากกันด้วยดี

Onpa International (พ.ศ. 2541)

  1. เพื่อนกัน

ที่รัก (4 สิงหาคม พ.ศ. 2542)

  1. รักสีส้ม
  2. Anywhere You Are
  3. ที่รัก
  4. กระต่ายหมายจันทร์
  5. Once Again
  6. เพื่อนที่รู้ใจ
  7. ขวัญใจ
  8. จากกันด้วยดี
  9. เธอรู้ดี
  10. Friend
  11. รักรสส้ม

This Song's for You (พ.ศ. 2543)

  1. This Song's for You
  2. Susan Joan
  3. Something
  4. Wonder Woman
  5. Kartrina
  6. Under the Moon
  7. Goodbye Song
  8. I Need Your Love
  9. Lay Me Down
  10. Am, I Love You
  11. Christine Maria
  12. More 'N' More

The Best Of Byrd & Heart 2 (5 ตุลาคม (พ.ศ. 2543)

  1. This Song's for You
  2. ด้วยใจรักจริง
  3. จูบฟ้าลาดิน
  4. คิดถึง 1
  5. คิดถึง 2
  6. Goodbye Song
  7. เข้าใจไปเอง
  8. ฉันคอย
  9. ขาดเธอขาดใจ
  10. หนึ่งในดวงใจ
  11. ฉันเอง
  12. จากกันมานาน
  13. ก็ใคร
  14. เพื่อนที่รู้ใจ
  15. ดังตะวัน
  16. You
  17. รักสีส้ม

Meeting (26 ตุลาคม พ.ศ. 2544) รวมศิลปินค่ายจีนี่เรคอร์ดส

  1. ถอนตัว

Grammy Top ten 15 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2544)

  1. ถอนตัว

Sweet 2 (5 เมษายน พ.ศ. 2545)

  1. ถอนตัว

Perspective 2 (พฤษภาคม พ.ศ. 2545)

  1. รักสีสัม (ร้องร่วมกับ ป้อม ออโตบาห์น)

Genie Showcase (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)

  1. ถอนตัว

7 Days festival วันพฤหัสบดี (พ.ศ. 2545)

  1. ถอนตัว

Destiny (พฤษภาคม พ.ศ. 2549)

  1. Interlude
  2. ช่องว่าง
  3. รักเอย
  4. ยังรัก
  5. ดอกไม้ในมือ
  6. เหมือนเดิม
  7. เธอคงเข้าใจ
  8. กรุณา...อย่า
  9. เพื่อนรัก
  10. เพราะเธอ
  11. Interlude
  12. ฉันคอย (Remix)

Genie 9 The Number 1 Hitz (18 กรกฏาคม พ.ศ. 2549)

  1. ถอนตัว

Men In Love The Retro Love Songs (สิงหาคม พ.ศ. 2551)

  1. ถอนตัว

Love Hurts (มิถุนายน พ.ศ. 2553)

  1. ถอนตัว

เพลงประกอบละคร

ศิลปินรับเชิญ

  • คลั่ง (ฮาร์ท) อัลบั้ม Rhythm & Boyd บอย โกสิยพงษ์ (2538)
  • คลั่ง (เบิร์ดกะฮาร์ท) อัลบั้ม Rhythm & Boyd(24 Yrs. After) บอย โกสิยพงษ์ (2563)
  • เธอก็รู้ (เบิร์ดกะฮาร์ท) ซิงเกิ้ล สินเจริญ Byrd Heart (2561)
  • รักไม่ได้ครอบครอง(ตกหลุม) (เบิร์ดกะฮาร์ท) ซิงเกิ้ล สินเจริญ Byrd Heart (2561)

ภาพยนตร์

เกร็ดความรู้

  • เบิร์ด เคยออกอัลบั้มกับเพื่อนอีก 3 คน ใช้ชื่อวงว่า ซิสเต็ม โฟร์ (System Four) มีผลงานออกมา 3 ชุด
  • เพลงเอื้อมดาว, รักเสมือนป่า, ที่รัก, และเพลงฝน ผู้แต่งเนื้อ คือ จักรกฤษณ์ ศรีวลี หรือ "บ๊อบ บุญหด" เจ้าของคอลัมน์ "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับฮาร์ท โดยเพลงเอื้อมดาวได้รับแรงบันดาลใจจาก มาช่า วัฒนพานิช[1] [2] [3]

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya