Share to:

 

เพทาย โชตินุชิต

เพทาย โชตินุชิต เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรี 2 สมัย เป็นอดีตหัวหน้าพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค[1]

ประวัติ

เพทาย โชตินุชิต ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบประเภทที่ 1 เพิ่มเติม จากสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5 โดยมี ส.ส.เพิ่มขึ้นจำนวน 21 คน และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

ต่อมาหลังจากที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีหลังจากได้เดินทางไปเยือนนานาประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2498 และเกิดความประทับใจในมุมนักพูด ที่สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่เปิดโอกาสให้มีผู้ปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลได้อย่างอิสระ เมื่อกลับมาจึงได้เปิดโอกาสให้กระทำเช่นนั้นที่ท้องสนามหลวง[2] จึงเกิดการปราศรัยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 โดยโจมตีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น และได้ขยายแนวร่วมและการเคลื่อนไหวขึ้นเป็นลำดับ โดยเรียกร้องให้ยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 โดยอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2498 นายเพทาย ได้กรีดเลือดประท้วงเรียกร้องให้มีการยกเลิก ส.ส. ประเภทที่ 2 และมีการเดินขบวนที่ถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปลายปีเดียวกัน จนถูกจับ ผู้ที่ถูกจับคุมขังจึงประท้วงด้วยการอดอาหาร จนกระทั่งรัฐบาลเปิดโอกาสให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นมาอย่างเป็นทางการ[3] นายเพทายจึงได้จดทะเบียนก่อตั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เป็นลำดับที่ 4/2499[4] โดยเขาทำหน้าที่หัวหน้าพรรค นำสมาชิกลงสมัครในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งทางพรรคได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 2 ที่นั่งคือ ทวีศักดิ์ ตรีพลี จากจังหวัดขอนแก่น และ พีร์ บุนนาค จากจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนตัวนายเพทายเองไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เปิดโอกาสให้นายทวีศักดิ์ เข้ามาทำหน้าที่แทน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เปิดนโยบาย “พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค” เมื่อ พ.ศ. 2499 ห้ามทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง!!!
  2. Rose, Saul. Socialism in Southern Asia. London: Oxford University Press, 1959. p. 181
  3. Nity (2011-08-24). ""ขบวนการไฮด์ปาร์ก" ?". โอเคเนชั่น. สืบค้นเมื่อ 2017-06-17.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองขบวนการไฮด์ปาร์ค
  5. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๙, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
Kembali kehalaman sebelumnya