เมอร์รี่คิงส์ เป็นอดีตศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท เมอร์รี่คิงส์ ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ต่อมาจึงเริ่มเปิดให้บริการสาขาแรกในที่ดินหัวมุมสี่แยกวังบูรพา เขตพระนคร ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของโรงภาพยนตร์คิงส์ และโรงภาพยนตร์แกรนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527[1]
สาขา
ศูนย์สรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ มีทั้งหมด 6 สาขา ได้แก่
- สาขาวังบูรพา - เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2527 ปิดกิจการทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันกลายเป็นเมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก
- สาขาสะพานควาย - เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2528 และเคยประสบเหตุเพลิงไหม้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2529 จึงปิดปรับปรุงแล้วกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน จนกระทั่งปิดกิจการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ในปี พ.ศ. 2563 ถูกทุบทิ้งเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงาน The Rice by SRISUPHARAJ ปัจจุบัน อาคารดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว
- สาขาวงเวียนใหญ่ - เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2529 และปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2550 และในอนาคตการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีแผนจะทุบทิ้งอาคารแห่งนี้เพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-พระประแดง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มหาชัย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปัจจุบันภายในอาคารนี้บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปภายในตัวอาคารนี้ได้ (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลอาคาร)
- สาขารังสิต - เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2536 หลังจากนั้นก็ประสบเหตุเพลิงไหม้ถึงสองครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเมื่อปี พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ชั้น 6 ถึงชั้น 9 ขณะที่ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. กำลังถ่ายทอดสด รายการคอนเสิร์ตเลข 9 ส่วนสาเหตุมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ตัวอาคารและทรัพย์สินต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 345 ล้านบาท[2] เทศบาลเมืองคูคตจึงมีคำสั่งปิดอาคาร เป็นผลให้ต้องปิดกิจการทั้งหมดอย่างถาวร ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2555 ได้เปิดสำนักงานขายแล้วภายใต้ชื่อ Bobae Rangsit โดยล่าสุดใช้ชื่อโครงการโบ๊เบ๊ทาวเวอร์รังสิต (Bobae Tower Rangsit) แทนเพื่อป้องกันการสับสนระหว่างโบ๊เบ๊รังสิตฝั่งเซียร์ ปัจจุบัน Bobae Tower Rangsit ได้ปิดกิจการชั่วคราว อันเนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ระลอกแรก) ปัจจุบันภายในอาคารนี้ พนังงานและลูกจ้างของบริษัทในเครือฯสยามแก๊ส สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ภายในตัวอาคารนี้ได้ เนื่องจากในพื้นที่ชั้น6-7ของตัวอาคารดังกล่าวจะอนุญาตให้เปิดใช้งานเป็นที่ทำการสำนักงานเท่านั้น ส่วนพื้นที่ชั้นB-5และชั้น8(ปิดกิจการชั่วคราว)
- สาขาปิ่นเกล้า - เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2531 และปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2546 ปัจจุบันปรับปรุงเป็น โลตัส สาขาปิ่นเกล้า
- สาขาบางใหญ่ - เปิดให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าบิ๊กคิงส์บางใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2539 ต่อมาปิดให้บริการในส่วนพื้นที่ชั้น 2-5 ของศูนย์การค้าฯ ลงเมื่อปี พ.ศ. 2550 และปิดกิจการทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยในอดีต มีการเจรจาซื้อขาย ระหว่างกลุ่ม เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ , พันธุ์ทิพย์[3],เดอะมอลล์[4][5] โลตัส[6][7]เพื่อนำมาพัฒนาโครงการมิกซยูส[8] ภายหลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่จนต้องระงับออกไป ในปี 2556 กลุ่ม โบ๊เบ๊ สนใจจะซื้อพื้นที่บิ๊กคิงส์ แต่ติดปัญหาภาระที่ดิน[9] ปัจจุบันกลุ่มโบ๊เบ๊พับโครงการ ลงทุนซามาเนีย พลาซ่า บริเวณบางนาตราด [10] ปัจจุบันเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าซื้อที่ดินดังกล่าว[11]
นอกจากนี้ยังมีห้างบิ๊กคิงส์ที่เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์สรรพสินค้าเมอรี่คิงส์ มี 2 ที่ คือ สาขาบางใหญ่ ซี่งถูกผนวกเป็นส่วนหนี่งกับเมอรี่คิงบางใหญ่เปิดบริการปี 2539 หลังความสำเร็จของบิ๊กคิกบางใหญ่จึงเปิดที่สาขาประตูน้ำพระอินทร์ ปี 2540[12] (ปัจจุบันคือตลาดต่อยอด) ซึ่งเมื่อเปิดได้ไม่นานก็เจอ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 รวมถึงกลุ่มบิ๊กซี โลตัสเริ่มเข้าดึงดันในสนามปีกการค้า ส่งผลให้เมอรี่คิงหรือบิ๊กคิงถูกฟ้องล้มละลายในเวลาต่อมา[13]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ศูนย์การค้า | | |
---|
ห้างสรรพสินค้า | |
---|
โรงภาพยนตร์ | |
---|
ไฮเปอร์/ซูเปอร์มาร์เก็ต | |
---|
ในอดีต | |
---|
|