Share to:

 

เลอมงด์

เลอมงด์
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบเบอร์ลินเนอร์
เจ้าของลา วี-เลอ มงด์
หัวหน้าบรรณาธิการซิลวี กอฟฟ์มานน์
บรรณาธิการบริหารเอริค ฟอทเทอร์ริโน
ก่อตั้งเมื่อ19 ธันวาคม พ.ศ. 2487
นโยบายทางการเมืองฝ่ายกลาง - ขวา
ภาษาภาษาฝรั่งเศส
สำนักงานใหญ่บีดี ออกุสเต-บลองกี 80,
ปารีส,  ฝรั่งเศส
ยอดจำหน่าย331,837[1]
เลขมาตรฐานสากล (ISSN)0395-2037
เว็บไซต์www.lemonde.fr

เลอมงด์ (ฝรั่งเศส: Le Monde) คือ หนังสือพิมพ์รอบค่ำรายวันของฝรั่งเศส ด้วยยอดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 จำนวน 371,803 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง] และถูกจัดเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าของฝรั่งเศส และบ่อยครั้งที่เป็นหนังสือพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสฉบับเดียว ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ที่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย นอกจากนี้ผู้คนส่วนใหญ่มักสับสนกับ เลอมงด์ดีปโลมาตีก (ฝรั่งเศส: Le Monde diplomatique) ซึ่ง เลอมงด์ เองเป็นหุ้นส่วนอยู่ร้อยละ 54 แต่เลอมงด์ดีปโลมาตีก ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายแยกอิสระจาก เลอมงด์ รวมทั้งมีกองบรรณาธิการเป็นของตัวเอง

เลอมงด์นั้น ก่อตั้งโดย อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี ตามคำของร้องของนายพลชาร์ล เดอ โกลล์ หลังจากกองทัพเยอรมนีถอนทัพออกจากปารีสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเข้าแทนที่หนังสือพิมพ์ เลอต็อง (ฝรั่งเศส: Le Temps) โดยชื่อเสียงของเลอต็องถูกบ่อนทำลายลงในช่วงที่เยอรมนีเข้ายึดครองฝรั่งเศส[2] โดยที่อูแบร์ต เบิฟว์-เมรี เป็นบรรณาธิการที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการทุกด้านภายในสำนักพิมพ์ เลอมงด์ฉบับแรกวางจำหน่ายวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2487 และเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยมีเงินทุนสนับสนุนทางธุรกิจจากเครือลาวีเลอมงด์

การนำเสนอ

บ่อยครั้งที่เลอมงด์ ถูกบรรยายในภาพพจน์และจุดยืนทางการเมืองฝ่ายกลาง-ขวา แต่ในปัจจุบันแนวทางการนำเสนอข่าวสารของกองบรรณาธิการถูกบรรยายว่าเป็นหนังสือพิมพ์สายกลาง ในปี พ.ศ. 2524 เลอมงด์ มีส่วนสนับสนุนในการหยั่งเสียงของ ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ จากพรรคสังคมนิยม จึงทำให้เกิดการผลัดเปลี่ยนพรรคการเมืองที่จะได้เป็นรัฐบาลอันจะส่งผลดีต่อฝรั่งเศส ทางด้านฝ่ายนักหนังสือพิมพ์ ภายในองค์กรมีรูปแบบเป็นหมู่คณะ ซึ่งไม่เพียงแค่นักหนังสือพิมพ์ส่วนมากเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ยังถือผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจและทรัพย์สินของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน อีกทั้งนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งผู้บริหารเบื้องบนและบรรณาธิการอาวุโสขององค์กรอีกด้วย

แตกต่างจากหนังสือพิมพ์รายใหญ่ทั่วไปของโลก เช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์ เลอมงด์ จะจับตาอยู่ที่การวิเคราะห์และความคิดเห็นตามแบบฉบับดั้งเดิม ซึ่งทำให้เลอมงด์ เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแนวหน้าที่แตกต่างจากรายอื่น ดังนั้นการตีความอย่างรอบด้านเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันจึงสำคัญมากกว่าการนำเสนอ "ทุกข่าวอันเหมาะสมที่จะตีพิมพ์" (คำขวัญของเดอะนิวยอร์กไทมส์) ช่วงสองสามปีมานี้นักเขียนส่วนมากที่เขียนบทความในเลอมงด์ มักจะไม่ลังเลที่จะเสี่ยงเสนอคำทำนายของตนลงในบทความ อย่างไรก็ตามเลอมงด์ ได้สร้างความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่ระหว่าง "ข้อเท็จจริง" กับ "ความคิดเห็น"

การโต้เถียงและการเมือง

มิเชล เลกริส ผู้เขียนหนังสือ เลอมงด์แตลกิลเลต์ (ฝรั่งเศส: Le monde tel qu'il est) ผู้ซึ่งอดีตเป็นนักข่าวให้กับเลอมงด์ ภายในได้เขียนเนื้อหาซึ่งลดความโหดร้ายป่าเถื่อนของเขมรแดงในกัมพูชา และในหนังสือ ลาฟาซกาเชดูมงด์ (ฝรั่งเศส: La face cachée du Monde, "ใบหน้าอันซ่อนเร้นของเลอมงด์") เขียนโดย ปิแอร์ ปอง และ ฟิลิปป์ โคเฮน ที่ออกมาเปิดโปง โคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล บรรณาธิการของเลอมงด์ เกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มการเมืองได้ทำข้อตกลงอย่างลับ ๆ กับทางเลอมงด์เพื่อจะลดทอนการนำเสนอข่าวอย่างอิสระของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เลอมงด์ ยังถูกกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับหน่วยงานและองกรณ์ภาครัฐของฝรั่งเศสจากการที่เปิดโปงเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองมากมาย (ส่วนมากมีชื่อเสียงจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ นานาของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก โดยเฉพาะการที่หน่วยราชการลับฝรั่งเศสในช่วงของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็องจมเรือเรนโบว์วอริเออร์) นอกจากนี้ทางผู้เขียนยังได้กล่าวถึงโคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล ว่าเป็น "พวกนิยมชาวต่างชาติ" และ "พวกเกลียดชังฝรั่งเศส" หนังสือเล่มดังกล่าวได้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ก่อให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนทั้งในฝรั่งเศสและทั่วโลกในช่วงที่หนังสือถูกตีพิมพ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เลอมงด์ชนะคดีในการฟ้องร้องต่อผู้เขียน โดยศาลตัดสินให้ผู้เขียนยินยอมที่จะไม่ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวอีก นอกจากนี้เลอมงด์ยังถูกตัดสินว่ามีความผิดในการนำเสนอข่าวว่านักฟุตบอลภายในสโมสรบาร์เซโลนาเอฟซีมีการใช้สารสเตียร์รอยด์ ทางเลอมงด์จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 450,000 ดอลลาร์สหรัฐและต้องตีพิมพ์เผยแพร่คำตัดสินของศาลทั้งในหนังสือพิมพ์และบนอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-16. สืบค้นเมื่อ 2010-04-30.
  2. Thogmartin, Clyde (1998). "The Golden Age and the War Years". The National Daily Press of France. Summa Publications, Inc. p. 113. ISBN 1883479207.
Kembali kehalaman sebelumnya