Share to:

 

เสือโคร่งบาหลี

เสือโคร่งบาหลี
เสือโคร่งบาหลีที่ถูกฆ่าในคริสต์ทศวรรษ 1920
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: สัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
สกุล: สกุลแพนเทอรา
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. sondaica
Trinomial name
Panthera tigris sondaica
(Temminck, 1844)
แผนที่แสดงที่อยู่ในอดีตของเสือโคร่งบาหลี
ชื่อพ้อง

P. t. balica (Schwarz, 1912)

เสือโคร่งบาหลี (อังกฤษ: Bali tiger) เป็นประชากรเสือโคร่งชวาบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย[2] ซึ่งสูญพันธุ์ไปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950[1]

ในอดีต เสือชนิดนี้เป็นเสือชนิดย่อยคนละชนิดที่มีชื่อวิทนาศาสตร์ว่า Panthera tigris balica ซึ่งถูกระบุในบัญชีแดงไอยูซีเอ็นเมื่อ ค.ศ. 2008 ว่าสูญพันธุ์[1] ใน ค.ศ. 2017 มีการปรับปรุงอนุกรมวิธาน และจัดให้มันอยู่ใน P. t. sondaica ซึ่งรวมเสือโคร่งสุมาตราที่ยังคงมีอยู่[2]

ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียเสือ 23 แบบจากชุดสะสมพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นว่า เสือชนิดนี้เคยอาศัยทั่วหมู่เกาะซุนดาในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้ายเมื่อ 11,000–12,000 ปีก่อน[3] ในเกาะบาหลี เสือตัวสุดท้ายถูกบันทึกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 เสือที่อาศัยแบบเดี่ยวน่าจะอยู่รอดถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 และอาจไปถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 ประชากรเสือถูกล่าจนหมดสิ้น และที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกแปลงไปเป็นของมนุษย์[4]

ชื่อภาษาบาหลีของเสือชนิดนี้คือ ฮารีเมาบาลี (harimau Bali) และ ซามง (samong)[5]

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก มีซากเสือโคร่งบาหลีเพียง 8 ตัวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะได้มาจากการล่าในทศวรรษที่ 30[ต้องการอ้างอิง]

รูปลักษณ์

เสือโคร่งบาหลีได้รับการบรรยายว่าเป็นเสือที่มีขนาดเล็กที่สุดในหมู่เกาะซุนดา[6] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นที่รับรู้กันว่ามีหนังและกะโหลกเสือเพียง 7 ชิ้นจากบาหลีได้รับการเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ลักษณะเด่นของกะโหลกเหล่านี้คือกระดูกท้ายทอยแคบ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับรูปร่างกะโหลกเสือจากเกาะชวา[7] มีความยาวจากจมูกถึงปลายหางอยู่ที่ 220 ถึง 230 เซนติเมตร (87 ถึง 91 นิ้ว) ส่วนเพศเมียมีความยาว 190 ถึง 210 เซนติเมตร (75 ถึง 83 นิ้ว) น้ำหนักของเสือเพศผู้อยู่ในช่วง 90 ถึง 100 กิโลกรัม (200 ถึง 220 ปอนด์) และเพศเมียอยู่ในช่วง 65 ถึง 80 กิโลกรัม (143 ถึง 176 ปอนด์)[8]

ที่อยู่อาศัยและนิเวศวิทยา

ตัวอย่างทางสัตววิทยาของเสือโคร่งบาหลีที่รู้กันส่วนใหญ่มาจากบาหลีตะวันตก ซึ่งมีป่าชายเลน, เนินและพืชพรรณแถบสะวันนา เหยื่อหลักของเสือโคร่งบาหลีอาจเป็นกวางรูซาชวา (Rusa timorensis)[9]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Goodrich, J.; Lynam, A.; Miquelle, D.; Wibisono, H.; Kawanishi, K.; Pattanavibool, A.; Htun, S.; Tempa, T.; Karki, J.; Jhala, Y.; Karanth, U. (2015). "Panthera tigris". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T15955A50659951.
  2. 2.0 2.1 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 66–68.
  3. Xue, H.R.; Yamaguchi, N.; Driscoll, C.A.; Han, Y.; Bar-Gal, G.K.; Zhuang, Y.; Mazak, J.H.; Macdonald, D.W.; O’Brien, S.J.; Luo, S.J. (2015). "Genetic ancestry of the extinct Javan and Bali tigers". Journal of Heredity. 106 (3): 247–257. doi:10.1093/jhered/esv002. PMC 4406268. PMID 25754539.
  4. Seidensticker, J. (1987). "Bearing witness: observations on the extinction of Panthera tigris balica and Panthera tigris sondaica". ใน Tilson, R. L.; Seal, U. S. (บ.ก.). Tigers of the world: the biology, biopolitics, management, and conservation of an endangered species. New Jersey: Noyes Publications. pp. 1–8. ISBN 9780815511335.
  5. Crawfurd, J. (1820). History of The Indian Archipelago, Volume II. Edinburgh: Archibald Constable & Co.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Schwarz
  7. Mazak, V., Groves, C. P. and Van Bree, P. (1978). "Skin and Skull of the Bali Tiger, and a list of preserved specimens of Panthera tigris balica (Schwarz, 1912)". Zeitschrift für Säugetierkunde – International Journal of Mammalian Biology 43 (2): 108–113.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Mazák, V. (1981). "Panthera tigris" (PDF). Mammalian Species. 152 (152): 1–8. doi:10.2307/3504004. JSTOR 3504004.
  9. Seidensticker, J. (1986). "Large carnivores and the consequences of habitat insularization: ecology and conservation of tigers in Indonesia and Bangladesh". ใน S. D. Miller; D. D. Everett (บ.ก.). Cats of the World: biology, conservation, and management. Washington DC: National Wildlife Federation. pp. 1–41.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya