Share to:

 

เอชไอวี

ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ไวรัสภูมิคุ้มกันเสื่อมในคน
ภาพสแกนของเซลล์ภายในร่างกายที่เผยให้เห็นการแตกตัวของไวรัส เอชไอวี
การจำแนกชนิดไวรัส
Group: Group VI (ssRNA-RT)
วงศ์: เรโทรไวรัส (Retroviridae)
สกุล: Lentivirus
สปีชีส์
  • ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ 1
  • ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ 2

เอชไอวี (อังกฤษ: Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล เรโทรไวรัส เป็นสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III) , lymphadenopathy-associated virus (LAV) , และ AIDS-associated retrovirus (ARV).

เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด

ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการณ์หนึ่ง

นับจากภายหลังกาฬมรณะที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการณ์ว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก

ไวรัสเอชไอวี

ไวรัสโรคเอดส์หรือเชื้อไวรัสเอชไอวีเป็นไวรัสในกลุ่ม เรโทรไวรัส มีสายพันธุกรรมหรือยีนเป็น อาร์เอ็นเอ แทนที่จะเป็น ดีเอ็นเอ เหมือนกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไป ซึ่งไวรัสในกลุ่มนี้มีหลายตัวด้วยกัน และมีการค้นพบมานานแล้ว โดยพบในสัตว์ หลายชนิด เช่น ม้า หนู เป็ด ไก่ เป็นต้น แต่ไวรัสโรคเอดส์เป็นไวรัสที่พบใหม่ เชื่อกันว่าเป็นไวรัสที่มีวิวัฒนาการ และพัฒนา ตัวเองมาจากไวรัสที่แต่เดิมทำให้เกิดโรคเฉพาะในสัตว์เท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ แต่ต่อมาเมื่อเชื้อมีวิวัฒนาการ จากการได้รับ อาร์เอ็นเอ ในไวรัสจำพวกแตกตัวอีกหลายชนิด จนมีระบบการทำงานในสัตว์ที่มีระบบน้ำเหลืองและระบบการแต่งตัวของเซลล์ จนสามารถทำให้เกิดโรคในสัตว์ที่ใกล้เคียงกับคน เช่น ลิง โดยเฉพาะลิงเขียวในทวีปแอฟริกา (African Green Monkey) หรือลิงชิมแปนซี (Chimpanzee) เป็นต้น หลังจากนั้นไวรัสเหล่านั้นอาจติดเข้ามาในคน โดยในระยะแรกเป็นไวรัสที่ ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในคนเท่านั้น ต่อมาจึงเกิดเป็นโรคเอดส์ที่เป็นเฉพาะในคนเท่านั้น

การแบ่งประเภทของเอชไอวี

ส่วนประกอบและการแบ่งตัวของไวรัส

โครงสร้างของไวรัส HIV

ด้านนอกสุดเป็นเปลือกหุ้มเรียกว่า envelope มีโครงสร้างแบบ lipid bilayer ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ของ host และมี envelope ไกลโคโปรตีนกระจายอยู่ลักษณะเป็นปุ่มยื่นออกมาโดยรอบเรียกว่า surface protein (gp 120) ส่วน core ประกอบด้วย capsid protein (gp 24) และมี อาร์เอ็นเอโดย อาร์เอ็นเอจะเป็น 2 copies ที่เหมือนกันอยู่ในไวรัสตัวเดียวกัน นอกจากนี้ภายใน capsid ยังประกอบด้วยเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ Reverse transcriptase (ทำหน้าที่เปลี่ยน อาร์เอ็นเอของไวรัสเป็น ดีเอ็นเอ), integrase (ทำหน้าที่รวม ดีเอ็นเอของไวรัส เข้ากับ ดีเอ็นเอของ host) และ protease (ทำหน้าที่ตัดสายโปรตีนเพื่อให้เป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของไวรัส)

การเพิ่มจำนวนไวรัส

เริ่มแรกส่วนไกลโคโปรตีนที่ผิวของไวรัส จะจับกับโปรตีนบนเม็ดเลือดขาวอย่างจำเพาะ และหลอมรวม envelope เข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวของ host ทำให้ capsid หลุดเข้าสู่ ไซโทพลาสซึมของ host หลังจากนั้น อาร์เอ็นเอและเอนไซม์ต่าง ๆ ของ ไวรัสจะหลุดออกมาจาก capsid เมื่อเข้ามาสู่ ไซโทพลาสซึมแล้วเอนไซม์ Reverse transcriptase จะเปลี่ยน อาร์เอ็นเอของไวรัสให้เป็น ดีเอ็นเอโดยใช้ Nucleoside (หรือ nucleotides) ของ host เอง หลังจากนั้น ดีเอ็นเอของไวรัสจะรวมกับ ดีเอ็นเอของ host โดยเอนไซม์ integrase แล้วจะมีการกระตุ้นให้เกิดการ translation ในตำแหน่งที่ ดีเอ็นเอของไวรัสแทรกตัวอยู่ออกมาเป็นโปรตีนสายยาว ๆ ที่ทำหน้าที่ไม่ได้ของไวรัส หลังจากนั้นเอนไซม์ protease จะเข้ามาตัดโปรตีนสายยาวนี้ ทำให้ได้โปรตีนที่พร้อมจะประกอบเป็นตัวไวรัสตัวใหม่ขึ้น

อาการและอาการแสดง

กลุ่มอาการติดเชื้อเอชไอวีแบบเฉียบพลัน

ระยะแฝง


เอดส์

พยาธิสรีรวิทยา

การติดต่อ

ระบบการติดต่อนั้นมีหลายส่วน โดยระบบของไวรัสนั้นจะแบ่งตัวในเซลล์ที่มีของเหลว และระบบการทำงานส่วนของน้ำและสารเหลวที่ถูกผลิตขึ้นภายในร่างกายได้ทั้งหมด

ทางเพศสัมพันธ์

การคัดหลั่งสารและน้ำเชื้อมีโอกาสที่ไวรัสจะอยู่ในระบบมากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่มีผลิตสารอยู่เกือบตลอดเวลา

เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด

น้ำเลือดและของเหลวในเลือดส่วนมากก็มีการแพร่กระจายตัวของเซลล์ออกไปตามส่วนต่างเช่นกัน

จากแม่สู่ลูก

โดยการแลกเปลี่ยนสารเหลวภายในร่างกายทารกและร่างกายมารดา แต่มีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อจากการคลอดโดยมีการปนเปื้อนของเลือดมารดาไปสู่ทารก โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบยาต้านไวรัสเพื่อให้เด็กไม่มีการติดเชื้อ

การติดเชื้อซ้ำซ้อน

การติดเชื้อซ้ำซ้อนอันเนื่องมาจากการที่ไวรัสทำการแตกตัวรหัสในสารพันธุกรรม อาร์เอ็นเอ และ ดีเอ็นเอ เข้าไปในเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และ ที-เซลล์ รวมไปถึง แมสต์เซลล์ ทำให้เกิดระบบการซ่อมแซ่มร่างกายเกิดการทำลายตัวเอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนระบบการจดจำคุณลักษณะของเซลล์ในร่างกายตนเองไม่ได้ ทำให้เกิดการลดลงของเซลล์เม้ดเลือดขาว และระบบคุ้มกันภายในร่างกายลดลง

โครงสร้างและจีโนม

เอชไอวี มีความแตกต่างทางโครงสร้างจาก เรโทรไวรัส ชนิดอื่น ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 นาโนเมตร (1 ใน 120 พันล้านส่วนของ 1 เมตร; เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงประมาณ 60 เท่า) และ มีรูปทรงกลม มีจีโนมเป็นอาร์เอ็นเอ

การโน้มตอบสนอง (Tropism)

วงจรการเพิ่มจำนวน

การเข้าสู่เซลล์

การถ่ายแบบ (Replication) และการถอดรหัส (Transcription)

ความหลากหลายทางพันธุกรรม

การตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเอดส์ทำได้ด้วยการเจาะเลือด ซึ่งแบ่งเป็นการตรวจหาปริมาณ CD4 (CD4 Count) เป็นการตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเลือด เพื่อดูความเสียหายที่เกิดจากไวรัสเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบภูมิคุ้มกัน การตรวจหาปริมาณไวรัสที่อยู่ในเลือด (Viral Load:  VL) และการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส (Nucleic Acid Test: NAT)

การรักษา

การรักษาที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

แหล่งกักเชื้อระยะแฝง

พยากรณ์โรค

ระบาดวิทยา

ประวัติศาสตร์

การค้นพบ

แนวคิดปฏิเสธเอดส์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • นิตยสาร หมอชาวบ้าน ฉบับที่ 12 ปีที่ 2
  • เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง เอดส์และการป้องกัน ของ กรมอนามัย
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya