บทความนี้เกี่ยวกับคำอนุภาคในภาษาเปอร์เซีย สำหรับคำคล้ายกันในภาษาอาหรับ ดูที่
อิฎอฟะฮ์
เอซอเฟ (เปอร์เซีย : اضافه ; ทาจิก : изофа , อักษรโรมัน: izofa ) เป็นคำอนุภาค ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำสองคำเข้าด้วยกันในภาษากลุ่มอิหร่าน บางภาษา รวมทั้งภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย (เช่น ภาษาตุรกี ภาษาฮินดูสตานี ) ในภาษาเปอร์เซีย เอซอเฟจะเป็นสระสั้นไม่เน้นเสียงหนัก -เอ หรือ -อี (เมื่อตามหลังสระจะออกเสียงเป็น -เย หรือ -ยี ) และปรากฏอยู่ระหว่างคำที่เชื่อม[ 1] เอซอเฟมักไม่ปรากฎในตัวเขียนอักษรเปอร์เซีย [ 3] ซึ่งโดยทั่วไปเขียนโดยไม่แสดงสระสั้น แต่จะพบในการเขียนภาษาทาจิก โดยเขียนด้วยอักษรซีริลลิก เป็น и และไม่มียัติภังค์
ในภาษาเปอร์เซีย
เอซอเฟ ในภาษาเปอร์เซียมักใช้ในกรณีดังนี้:
แสดงความเป็นเจ้าของ: برادرِ مریم แบรอแดเ รแมร์แยม "พี่/น้องชายของแมร์แยม" ทั้งนี้ สามารถใช้กับการแสดงความเป็นเจ้าของของสรรพนามได้ด้วย เช่น برادرِ من แบรอแดเ รแมน "พี่/น้องชาย (ของ) ผม/ฉัน" แต่ในภาษาพูดมักใช้หน่วยคำเติมท้ายแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น برادرم แบรอแดแ รม
คุณศัพท์-นาม: برادرِ بزرگ แบรอแดเ รโบโซร์ก "พี่ชาย"
ชื่อตัว/ชื่อสกุล: โมแฮมแมเ ดโมแซดเดฆ "โมแฮมแมด โมแซดเดฆ ", آقایِ مصدق ออฆอเย โมแซดเดฆ "คุณโมแซดเดฆ"
เชื่อมคำนามสองคำ: خیابانِ تهران ฆียอบอเ นเทฮ์รอน "ถนนเตหะราน" หรือ "ถนนไปยังเตหะราน"
อ้างอิง
↑ สระสั้น "ــِـ" (มีชื่อว่า แคสเร ในภาษาเปอร์เซีย และ กัสเราะฮ์ ในภาษาอาหรับ ) ออกเสียงเป็น เอ หรือ อี ขึ้นอยู่กับสำเนียง
↑ Calendar of Persian Correspondence (ภาษาอังกฤษ). India Imperial Record Department. 1959. p. xxiv. Sometimes Hindi words were used with Persian izafat as in ray-i-rayan (1255), jatra-i-Kashi (820), chitthi-i-huzur (820). But the more interesting aspect of the jargon is the combination of Hindi and Persian words in order to make an idiom, e.g. loot u taraj sakhtan (466) and swargvas shudan (1139).
บรรณานุกรม
Abrahams, Simin (2005). Modern Persian: A Course-Book . London: RoutledgeCurzon. ISBN 0-7007-1327-1 .
Haig, Geoffrey (2011). "Linker, relativizer, nominalizer, tense-particle: On the Ezafe in West Iranian". ใน Foong Ha Yap; Karen Grunow-Hårsta; Janick Wrona (บ.ก.). Nominalization in Asian Languages: Diachronic and typological perspectives . Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. pp. 363 –390. ISBN 978-90-272-0677-0 .
Harvey, Scott L.; Lehmann, Winfred P.; Slocum, Jonathan (2004). "Old Persian: excerpts from Darian Inscription DB IV" . Old Iranian Online . Austin: The University of Texas at Austin.
Karimi, Yadgar (2007). "Kurdish Ezafe construction: implications for DP structure". Lingua . 117 (12): 2159–2177. doi :10.1016/j.lingua.2007.02.010 .
Moshiri, Leila (1988). Colloquial Persian . London: Routledge. ISBN 0-415-00886-7 .
Tisdall, W. St. Clair (1902). Modern Persian Conversation-Grammar with Reading Lessons, English-Persian Vocabulary and Persian Letters . London: Nutt.
Yakubovich, Ilya (2020). "Persian ezāfe as a contact-induced feature". Voprosy jazykoznanija / Topics in the Study of Language . №5(2020): 91–114. doi :10.31857/0373-658X.2020.5.91-114 .